https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ผู้นำที่ดีต้องนำโดย ผู้ตามไม่รู้สึกเป็นภาระ MUSLIMTHAIPOST

 

ผู้นำที่ดีต้องนำโดย ผู้ตามไม่รู้สึกเป็นภาระ


864 ผู้ชม


ผู้นำที่ดีต้องนำโดย ผู้ตามไม่รู้สึกเป็นภาระ




"ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน) เปรียบเทียบการบริหารลัทธิต่างๆ ในรายการ "เรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ" ไว้อย่างน่าคิดว่า
"นักปราชญ์จีนท่านหนึ่งพูดไว้ว่า การบริหารแนวขงจื๊อ คือการบอกให้สังคมทุกส่วนทำหน้าที่เต็มที่ เช่น พ่อต้องทำหน้าที่อย่างไร ลูกจะต้องปฏิบัติต่อพ่ออย่างไร หัวหน้าจะต้องปฏิบัติต่อลูกน้องอย่างไร ลูกน้องต้องปฏิบัติต่อเจ้านายอย่างไร สังคมที่ทุกส่วนทำหน้าที่ของตนเอง สังคมนั้นก็จะไปได้ดี ดังนั้นการเข้าใจขงจื๊อคือการเห็นขงจื้อคือร้านเสบียง การไปหาความรู้ความคิดของขงจื๊อคือการเข้าถึงร้านขายเสบียงเพื่อที่ทุกวันจะได้มีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข แต่เมื่อมีปัญหา คือ ไม่สบายก็ไปหาวิธีการทางเต๋าที่เขาบอกว่าเขาเก่งทางด้านกลยุทธ์การแก้ปัญหา ก็เหมือนกับเราไปร้านขายยา แต่ถ้าเราอยากจะหาการบริหารองค์กรแนวพุทธ หลายคนจะงงว่า คำสอนของศาสนาพุทธมีมากมายเต็มไปด้วยของดีทั้งนั้น เหมือนดีพาร์ตเมนต์สโตร์ขนาด 3 ชั้น 5 ชั้น จะเลือกธรรมะข้อไหนมาใช้กับองค์กร ตรงนี้จึงต้องมีคนชี้แนะ"
"ในเรื่องการบริหาร เล่าจื้อบอกไว้ว่าผู้นำจะต้องศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างให้เข้าใจแล้วแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ ตอนแรกอาจจะวางแผนการบริหารไว้อย่างหนึ่ง แต่พอดำเนินการไประยะหนึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นอาจไม่ตรงกับแผนที่วางไว้ก็ต้องปรับแก้ ใช้แนวทางที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด ซึ่งทางเต๋าเรียกว่า อู๋เหวย คือ เหนือเจตนาตัวเอง
คำว่า อู๋ แปลว่า ไม่มี ไม่ทำ ส่วนคำว่า เหว่ย แปลว่า กระทำ เรียกรวมกันว่า ทำโดยไม่ทำ ซึ่งเต๋า หมายถึงการเป็นผู้นำโดยที่ผู้ตามไม่รู้สึกเป็นภาระ"
หน้า 30

ที่มา : matichon.co.th


อัพเดทล่าสุด