https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
Employee Survey อีกหนึ่งเครื่องมือที่ห้ามมองข้าม MUSLIMTHAIPOST

 

Employee Survey อีกหนึ่งเครื่องมือที่ห้ามมองข้าม


625 ผู้ชม


Employee Survey อีกหนึ่งเครื่องมือที่ห้ามมองข้าม




หนึ่งในเครื่องมือการจัดการยอดนิยมทั้งองค์กรชั้นนำระดับโลกและระดับชาติ นั่นคือ การสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน หรือ การสำรวจความพึงพอใจพนักงาน หรือ ที่กว้างขวางที่สุดที่ใช้ คือ การสำรวจบรรยากาศการทำงานในองค์กร (Climate Survey) ซึ่งหมายความรวมถึงการสำรวจทุกสิ่งทุกอย่างของพนักงาน ทั้งความพอใจ ความคิดเห็น ทัศนคติ ความต้องการ และ สภาพแวดล้อมในการทำงานทุกๆแง่มุมของกิจการเลยทีเดียวครับ
       
       อย่างไรก็ตาม ก็มักมีหลากหลายองค์กรกล่าวว่า ไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของการทำการสำรวจนี้เท่าไร ได้แต่ทำตามๆกัน แต่ผลที่ออกมาไม่รู้ว่าจะนำมาใช้อะไรต่อไป รวมถึง ไม่รู้จะถามอะไรบ้าง จึงจะสามารถเก็บข้อมูลที่ต้องการได้ครบถ้วน และนำไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงการบริหารและดำเนินงานต่อไปในอนาคต ดังนั้น หากจะนำเอาการสำรวจพนักงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็ควรที่จะทราบทุกแง่มุมของการสำรวจอย่างลึกซึ้งเสียก่อนครับ โดยเฉพาะประเด็นที่ควรต้องทำการสำรวจ
       
       โดยทั่วไป ประเด็นที่สำคัญที่สุดประเด็นหนึ่ง ก็คือ ความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการบริหารงานและดำเนินงานต่างๆขององค์กร เริ่มจาก การสื่อสารสร้างความเข้าใจระหว่างผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ ซึ่งสิ่งที่ต้องสื่อสารนี้ ประกอบไปด้วย ทิศทางขององค์กร วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์หลักๆขององค์กร รวมถึง แนวทางกลยุทธ์ต่างๆในการแข่งขันด้วย
       
       อาทิ หากกิจการต้องการเน้นว่าในปีนี้ จะเน้นเรื่องของการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันจากการบริการที่เป็นเลิศ ควรต้องมีการสอบถามว่า พนักงานทุกคนของกิจการทราบถึงแนวทางกลยุทธ์ดังกล่าวหรือไม่ ทราบหรือไม่ว่าบริการมีความสำคัญต่อลูกค้าของกิจการอย่างไร รวมถึง ทราบหรือไม่ว่าบริการจะเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างไรฯลฯ
       
       ซึ่งหากพนักงานส่วนใหญ่ ไม่ทราบหรือไม่เข้าใจในแนวคิดดังกล่าว ก็แสดงว่ากระบวนการสื่อสารมีปัญหา พนักงานไม่มีช่องทางในการติดต่อกับผู้บริหารอย่างแท้จริง ช่องทางการถ่ายทอดระหว่างกันที่ใช้อยู่ไม่ดีพอ ไม่มีการให้ฟีดแบ็คระหว่างกัน ซึ่งต้องมีการปรับปรุงอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับความขัดแย้งและสับสนระหว่างกัน จนกระทั่งอาจนำสู่ปัญหาบานปลายต่อไปในอนาคต บานปลายเป็นความไม่ทุ่มเท ทำงานอย่างซังกะตายไปวันๆครับ
       
       นอกจากเรื่องความรู้ความเข้าใจและการสื่อสารแล้ว ทัศนคติที่พนักงานมีต่อผู้บริหารเป็นสิ่งสำคัญมากเช่นกัน ทั้งทัศนคติที่มีต่อความรู้ความสามารถและจริยธรรมของผู้บริหาร และการปฏิบัติของผู้บริหารที่มีต่อพนักงานด้วย ว่ามีความเป็นธรรมยุติธรรม ตามหลักตามเกณฑ์ที่เหมาะสม มีความโปร่งใสไม่ลำเอียง และ พนักงานรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆ ทั้งด้านส่วนตัว และ ด้านการทำงานด้วยหรือไม่ครับ
       
       ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงขวัญกำลังใจของพนักงานอย่างชัดเจนทีเดียว ดังนั้นจึงควรมีการออกแบบคำถามที่จะสามารถดึงความรู้สึกของพนักงานออกมาได้ให้มากที่สุดครับ อาทิ ท่านรู้สึกว่าท่านได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมไม่ลำเอียงจากผู้บริหารหรือไม่ ท่านคิดว่าท่านได้รับการสนับสนุนในการทำงานจากองค์กรอย่างเพียงพอหรือไม่ ท่านมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอย่างเหมาะสมหรือไม่ ระบบการประเมินผลความดีความชอบขององค์กรมีความโปร่งใสหรือไม่ ระบบการให้ค่าตอบแทนเชื่อมโยงกับผลของการทำงานอย่างแท้จริงหรือไม่ เป็นต้น
       
        นอกจากนี้ ผลพลอยได้ที่สำคัญจากการสำรวจพนักงาน คือ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานขององค์กรได้อย่างลึกซึ้งและทันท่วงที โดยเฉพาะการวิเคราะห์หาว่ากิจการมีความแข็งแกร่งหรืออ่อนด้อยทางด้านใด ซึ่งบ่อยครั้งที่พนักงานในองค์กรเอง ควรจะเป็นผู้ที่ป้อนข้อมูลในลักษณะของ Bottom-Up ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นผู้ที่สัมผัสกับการทำงานโดยตรง และทราบถึงเบื้องลึกเบื้องหลังทั้งหมดของการทำงานด้วยครับ
       
       เช่น หากพนักงานฝ่ายการตลาดส่วนใหญ่ กล่าวถึงปัญหาด้านข้อมูลลูกค้า ความเข้าใจในพฤติกรรมและทัศนคติของลูกค้า แสดงว่าองค์กรมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาในด้านของการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในอนาคตอันใกล้ และเป็นการบ่งชี้ให้ผู้บริหารทราบถึงปัญหาต้นเหตุขององค์กรจริงๆ เพื่อที่จะได้ดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนต่อไปครับ
       
       ท้ายสุด การสำรวจความพอใจ หรือ บรรยากาศการทำงานโดยรวมขององค์กร จะไม่มีประโยชน์อันใดเลย ถ้าผู้บริหารขององค์กร ไม่ให้ความสนใจและความสำคัญกับผลการสำรวจที่ออกมาอย่างจริงจัง ซึ่งต้องวิเคราะห์ผลลัพธ์ พิจารณาหาสาเหตุของจุดที่เป็นบวกและเป็นลบในทัศนคติของพนักงาน และต้องนำมาปรับปรุงกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงานอย่างจริงจัง ไม่ใช่สำรวจไปแล้วก็ทิ้งเอาไว้บนหิ้ง ไม่ได้เอาไปใช้อะไรเลย นอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเสียเวลาในการทำอีกต่างหากด้วยครับ
       
       แต่ท่านผู้บริหารก็อย่าคิดว่า การสำรวจจะเป็นคำตอบสำหรับทุกปัญหานะครับ เพราะจริงๆแล้วการทำโพลลักษณะนี้ ถือว่าเป็นแค่เครื่องมือในการหาข้อมูลอย่างหนึ่งเท่านั้น ที่อาจจะส่งสัญญาณให้เห็นถึงการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องได้ แต่ก็ยังควรต้องพิจารณาข้อมูลจากการวิเคราะห์ด้านอื่นๆต่อไปอีกด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนทุกแง่มุม และนำไปสู่การพัฒนาในอนาคตอย่างเหมาะสมครับ

 

ที่มา : โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์

อัพเดทล่าสุด