https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สิ่งท้าทายโลกธุรกิจ บทบาทและกลยุทธ์ HR ปี 2551 (ตอน 1) MUSLIMTHAIPOST

 

สิ่งท้าทายโลกธุรกิจ บทบาทและกลยุทธ์ HR ปี 2551 (ตอน 1)


771 ผู้ชม


สิ่งท้าทายโลกธุรกิจ บทบาทและกลยุทธ์ HR ปี 2551 (ตอน 1)




Post Today - สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณผู้อ่านที่รัก ผ่านปีใหม่มาได้ 7 วันแล้ว แวบเดียวแท้ๆ เลยนะคะ ต้นปีแบบนี้หนังสือแนวโหราศาสตร์ทั้งไทยและจีนเรื่องการพยากรณ์ชะตาบ้านเมืองและชะตาชีวิตของคนทั่วไปถือเป็นหนึ่งใน “เบสต์เซลเลอร์” ที่ขายดิบขายดีทีเดียว โดยเฉพาะนักโหราจารย์ที่มีชื่อเสียง มีผลงานในการทำนายเหตุการณ์สำคัญๆ ได้อย่างแม่นยำนั้น จะออกผลงานทั้งในรูปพ็อกเกตบุ๊ก แผ่นซีดีและมีเบอร์โทรศัพท์ให้เช็กดวงชะตาได้ตลอด 24 ชั่วโมง แบบร้านสะดวกซื้อเลยทีเดียว ซึ่งปรากฏว่ายอดจำหน่ายของหนังสือเหล่านี้มีสูงขึ้นทุกปี ...

 ปีนี้ผู้เขียนก็ขอริอ่านเป็นนักพยากรณ์เหตุการณ์ด้าน HR หรือ “โหร HR” ต่อจากปีที่แล้วอีกครั้งหนึ่ง แต่ผู้เขียนไม่มีความรู้ด้านการคำนวณตำแหน่งของดวงดาวตามหลักโหราศาสตร์หรอกนะคะ จึงขอใช้หลักการและข้อมูลจากการสำรวจด้วยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ของงานวิจัยต่างๆ มานำเสนอแนวโน้มสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอันมีผลกระทบต่อแนวทางการบริหารและการกำหนดกลยุทธ์ของธุรกิจ ซึ่งก็จะมีผลกระทบต่อไปยังแนวทางการบริหารและการกำหนดกลยุทธ์ HR ต่ออีกทอดหนึ่ง

สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและภูมิภาคเอเชียเป็นอย่างไร?

จากรายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจทั่วโลก (World Economic Outlook) ของสถาบัน IMF (คู่รักคู่แค้นของคนไทยยุคระทมตรมตรอมจากพิษต้มยำกุ้ง) ร่วมกับรายงานการวิเคราะห์ของ The Economist Intelligence Unit (EIU) ชี้ให้เห็นว่าสภาวะเศรษฐกิจของอภิมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกานั้นไม่หรูหราฟู่ฟ่าแน่นอน เพราะออกอาการตั้งแต่ปีที่แล้ว ปีชวดนี้ก็คงต้องประคับประคองกันไป ทางฝั่งอังกฤษก็พอๆ กัน และแม้จะได้นายกฯ คนใหม่แทน โทนี แบลร์ ก็ยังไม่เห็นทีท่าว่าจะสร้างเครดิตอะไรได้มากมาย ทางเยอรมนีและฝรั่งเศสก็ทรงๆ เหมือนกัน

หันมาดูทางเอเชียบ้าง อภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างญี่ปุ่นก็ดูไม่ค่อยคึกคัก แถมยังอาจจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้น้อยกว่าปีที่แล้วเสียอีก โดย GDP จะลดจาก 2.3% ในปี 2550 เป็น 1.9% ในปี 2551 ส่วนกลุ่มประเทศในเอเชียที่ IMF จัดเป็น Newly Industrialized Asian Economics (กลุ่มเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย) คือเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์นั้นดูท่าจะไปได้ดี โดยกลุ่มประเทศหรือกลุ่มเศรษฐกิจกลุ่มนี้มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่คงที่ประมาณ 4-5% ต่อปี ทั้งนี้สิงคโปร์ดูจะมีความโดดเด่นมากที่สุด คือในปีนี้คาดว่าจะมี GDP อยู่ที่ 5.7% ถือเป็นผู้นำของกลุ่มนี้

ลำดับต่อไปคือ ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือกลุ่มเขตเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN) ซึ่งประกอบด้วย อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซียนั้น ตัวเลข GDP ของไทยดูจะน้อยหน้ากว่าประเทศอื่นๆ โดยของไทยเราในปีนี้คาดว่าจะมี GDP อยู่ที่ประมาณ 4.8% ในขณะที่ประเทศอื่นของ ASEAN จะอยู่ที่ประมาณ 5.8%

สุดท้ายคือ ดาวรุ่งพุ่งแรง (Emerging Asia) คือสาธารณรัฐประชาชนจีนและอินเดีย 2 ประเทศนี้กำลังถูกทั่วโลกจับตามองด้วยความสนใจยิ่ง ถือเป็นประเทศที่กำลังจะมีอิทธิพลในการกำหนดเศรษฐกิจโลกมากขึ้นๆ ทุกปี โดยจีนมี GDP ประมาณ 9.5-10% และอินเดียมี GDP ประมาณ 7.8-8%

อย่างไรก็ตาม จะใช้ตัวเลข GDP เป็นเกณฑ์พิจารณาบรรยากาศและความสามารถในเชิงเศรษฐกิจของแต่ละประเทศไม่ได้ แต่ควรจะพิจารณาดัชนีที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งก็คือ การจัดอันดับสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ (Business environment ranks and scores) ของแต่ละประเทศด้วย

การจัดลำดับสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจประจำปี ค.ศ. 2007-2011

แม้จีนและอินเดียจะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง แต่ในด้านของสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจนั้น จีนอยู่ในลำดับที่ 53 (เลื่อนจากลำดับที่ 58 ในปี 2006) และอินเดียอยู่ในลำดับที่ 54 ต่อจากจีนแบบหายใจรดต้นคอ (เลื่อนจากลำดับที่ 62) ส่วนไทยอยู่ในลำดับที่ 42 ในปีนี้ (หล่นจากลำดับที่ 37 ในปี 2006) เพื่อนบ้านมาเลเซียอยู่ที่ลำดับ 31 (หล่นจากลำดับที่ 23) เกาหลีใต้ยังรั้งตำแหน่งที่ 25 ไว้ได้ในปี 2007 เหมือนปี 2006 ไต้หวันอยู่ลำดับที่ 19 (เลื่อนจากลำดับที่ 21) เวียดนามมาอยู่ที่ลำดับ 65 (เลื่อนขึ้นจากลำดับที่ 70) ส่วนสิงคโปร์อยู่ที่ลำดับที่ 3 ในปีนี้ (หล่นจากลำดับที่ 1 ในปี 2006) และแชมป์อันดับที่ 1 ในปี 2007-2011 นี้คือ เดนมาร์ก ตามมาด้วยฟินแลนด์เป็นอันดับที่ 2

ประเทศไทยห้ามประมาทเพื่อนบ้านใกล้ตัวและไกลตัว

ดูตัวเลขทางเศรษฐกิจและสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก และเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกันที่มีผลผลิตทางการค้าค่อนข้างคล้ายๆ กันแล้ว ก็ต้องขอเตือนคนไทยว่าอย่าได้ใจเย็นอยู่ในความประมาทเป็นอันขาด เพราะนับวันชาติอื่นๆ ที่เคยล้าหลัง เคยจนกว่าเรา เช่น เกาหลีใต้นั้นเขาก็ได้แซงหน้าเราไปไกลแล้ว จีนที่เคยปิดประเทศเป็นคอมมิวนิสต์ไม่ทันสมัยเหมือนเรา บัดนี้ก็ไปไกลแล้ว ส่วนเวียดนามนั้นก็พัฒนาตนเองอย่างรวดเร็ว คนเก่งบ้านเรายังมัวทะเลาะกันเองก็เห็นทีจะไม่ต้องไปไหนกันละมังคะ

สถานการณ์ทางการเมืองและสังคม

ได้ดูตัวเลขการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจไปแล้ว ลองหันมาดูสภาวการณ์ทางการเมืองและสังคมกันบ้างนะคะ

ทางด้านการเมืองทั่วโลกดูแล้วก็ยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ซึ่งเมื่อดูโดยผิวเผินก็เหมือนกับว่าพอจะเจรจายุติศึกกันได้ แต่จริงๆ แล้วความขัดแย้งและผลประโยชน์ที่ขัดกันทางการเมืองนั้นมันยากจะเยียวยา นอกจากนี้ท่าทีของประเทศกลุ่ม OPEC ในเรื่องการผลิตน้ำมันก็จะสร้างความกดดันและตึงเครียดให้แก่เศรษฐกิจและการเมืองในเวลาเดียวกัน

จะว่าไปแล้วตั้งแต่เกิดเหตุการณ์เครื่องบินชนตึก World Trade เป็นต้นมา ประชากรทั่วโลกก็ใช้ชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัว ทั้งนี้ภัยจากผู้ก่อการร้ายยังไม่พอ ภัยธรรมชาติร้ายแรงยังช่วยกระหน่ำซ้ำเติมลงไปอีก ตบท้าย (ให้มึน) ด้วยความไม่มีจริยธรรมของนักธุรกิจและนักการเมือง ครบเครื่องเรื่องร้ายๆ เลยใช่ไหมคะ?

สิ่งท้าทายธุรกิจในปีชวด

นอกจากจะพบกับสิ่งท้าทายอันเกิดจากสภาวะเศรษฐกิจที่ต่างคนต่างต้องแข่งกันสร้างตลาดและแย่งตลาดที่มีลูกค้าซึ่งมีความรู้และข้อมูลมาก (อีกนัยหนึ่งอาจกล่าวว่าลูกค้าสมัยนี้ “รู้มาก” และ “เอาใจยาก”) CEO ทั้งหลายยังต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงทางการเมืองและลูกน้องที่นี่ก็ “รู้มาก” และ “เอาใจยาก” เช่นกัน

แต่จะทำอย่างไรได้ในเมื่อเกิดมาเป็น CEO แล้วก็ต้องเชิดหน้าท้าชะตากรรม (ไม่ใช่ก้มหน้ารับกรรมนะคะ!) โดยในปีนี้บรรดา CEO ทั่วโลกที่ได้รับการสำรวจความเห็นโดย EIU และ Opinion Research Corporation (หน่วยงานในเครือข่ายของ New York Stock Exchange) ได้ลงความเห็นว่า การที่จะบริหารธุรกิจให้โลดแล่นฝ่าอุปสรรคต่างๆ ไปได้ต้องเข้าใจว่า สิ่งท้าทายทางธุรกิจ (Challenges) ที่รออยู่ในปีชวดมีดังนี้

  1. 1.ต้องรู้จักและเข้าใจลูกค้าที่อยู่ในภูมิภาคต่างๆ (รู้จักลูกค้าทุกชาติทุกวัฒนธรรม)
  2. ต้องบริหารทีมงานของบริษัทที่เป็นคนต่างชาติต่างวัฒนธรรมให้เป็นทีมเดียวกัน
  3. ต้องสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถสูงได้ในทุกถิ่นประเทศ
  4. ต้องสื่อสารวิสัยทัศน์ด้านกลยุทธ์ของบริษัทถึงพนักงานทุกสาขา ทุกชาติ ทุกภาษาได้อย่างมีเอกภาพ
  5. ต้องสร้างแบรนด์อย่างมีประสิทธิผลในทุกถิ่นประเทศ
  6. ต้องทำให้คุณภาพของสินค้าและบริการมีมาตรฐานเดียวกันในทุกถิ่นประเทศ
  7. ต้องมีระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่ดี
  8. ต้องปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นเอกภาพในทุกสาขา หรือทุกถิ่นประเทศ
  9. สามารถถ่ายโอนวิธีปฏิบัติงานที่เยี่ยมยอด (Best Practices) จากดินแดนหนึ่งไปยังอีกดินแดนหนึ่งได้
  10. ต้องทำให้การเติบโตของตลาดในที่หนึ่งไม่ทำให้ตลาดในอีกที่หนึ่งแย่ลง

ปรับบทบาท HR เพื่อรับมือสิ่งท้าทายทางธุรกิจ

ก็ได้รับทราบกันทั่วหน้าแล้วถึงสิ่งท้าทายทางธุรกิจ (หรืออาจจะเรียกว่าเป็นข้อปัญหาก็ได้) ที่เหล่า CEO ทั่วโลกได้พยากรณ์เอาไว้ คราวนี้ก็เป็นหน้าที่ของ HR ว่าจะหาคำตอบให้กับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ซึ่งผู้เขียนขอเสนอแนะแนวคิดว่า HR ต้องขยายเพิ่มและพัฒนาบทบาทของตนเองในปีชวดดังภาพข้างล่างต่อไปนี้

เนื้อที่ไม่เป็นใจเสียแล้ว ต้องขอไปคุยต่อในตอนหน้าถึงรายละเอียดบทบาทใหม่ของ HR และกลยุทธ์ HR สำหรับปี 2551 นะคะ

หากท่านมีข้อเสนอแนะหรือคำถาม กรุณาติดต่อที่ : siriyupa.hrvariety@sasin.edu ข้อมูลและประสานงาน : คุณอารีย์ พงษ์ไชยโสภณ

 

ที่มา : www.jobjob.co.th

อัพเดทล่าสุด