https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การวางแผนกำลังคน MUSLIMTHAIPOST

 

การวางแผนกำลังคน


724 ผู้ชม


การวางแผนกำลังคน




สาระสำคัญ

1.       ความสำคัญ

การวางแผนกำลังคน  คือ  กระบวนการคาดการณ์ความต้องการกำลังคนในองค์การ       


ล่วงหน้า ว่าต้องการอัตรากำลังประเภทใด ระดับใด จำนวนเท่าใด และต้องการเมื่อใด นอกจากนี้         การวางแผนอัตรากำลัง ยังรวมไปถึงการเปรียบเทียบกำลังคนที่มีอยู่ในปัจจุบัน  เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีจำนวน และประเภทบุคคลตรงตามความต้องการ  โดยคุณสมบัติบุคคลนั้นตรงกับความจำเป็นของงาน และต้องพร้อมใช้งานทันทีเมื่อหน่วยงานต้องการ


                การวางแผนอัตรากำลังคนสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  นอกจากจะวางแผน   ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาและของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแล้ว ยังต้องวางแผนอัตรากำลังเพื่อใช้กำลังคนให้ได้ประโยชน์สูงสุดด้วย  กล่าวคือ  จะต้องมีการวางแผนการกระจายอัตรากำลัง  หรือเริ่มการวางแผนกำลังคนตั้งแต่ระดับสถานศึกษา  ซึ่งในปัจจุบันพบว่าข้าราชการครูฯ ในระดับโรงเรียนหลายโรง มีสภาพขาดแคลนอัตรากำลัง และขาดครูสาขาวิชาเอกขาดแคลน  ดังนั้น  การวางแผนอัตรากำลัง สำหรับข้าราชการครูฯ  จึงควรแก้ปัญหาในเรื่องจำนวน และคุณภาพของ  ข้าราชการครูในสถานศึกษา


2.  ปัญหาในการวางแผนกำลังคน

                การวางแผนกำลังคนของหน่วยงานในหลายหน่วยงาน มักพบปัญหาในการวางแผนอัตรากำลังคน  ดังนี้


            2.1  การขาดความรู้ทางหลักวิชาเกี่ยวกับการวางแผนอัตรากำลัง


            2.2  การขาดข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต้องใช้ในการวางแผนอัตรากำลัง


2.3     นโยบาย เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของหน่วยงานไม่ชัดเจน หรือไม่ต่อเนื่อง


2.4     มีการนำผลประโยชน์ส่วนตัวมาใช้ในการวางแผนอัตรากำลัง


2.5    ขาดแคลนปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการบริหาร เช่น เงิน วัสดุ


2.6    นักบริหารไม่ให้ความสำคัญกับการวางแผนอัตรากำลัง


3.  วัตถุประสงค์
               


การวางแผนกำลังคนสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดเขตพื้นที่
การศึกษา  มีวัตถุประสงค์  ดังนี้

3.1    สร้างต้นแบบ  การวางแผนอัตรากำลังสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ในสถานศึกษา และในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

3.2    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษานำต้นแบบการวางแผนอัตรากำลัง ไปใช้

4.  กระบวนการวางแผนกำลังคน  มีองค์ประกอบสำคัญ 3  ด้าน  คือ

4.1    กำลังบุคคลที่มีอยู่ในปัจจุบัน (Manpower inventory)  โดยหน่วยงานต้องมีข้อมูลกำลังคนในปัจจุบันทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

4.2    การคาดการณ์กำลังบุคคลในอนาคต (Manpower forecst)  หน่วยงานต้องมีการคาดการณ์ และระบุไว้ให้พร้อมว่า ในอนาคตต้องการบุคคลจำนวนเท่าใด ประเภทใดบ้าง ตลอดจนระบุรายละเอียดถึงคุณสมบัติต่าง ๆ  เช่น ความชำนาญงาน พื้นฐานการศึกษา และประสบการณ์

4.3    แผนกำลังคน (Manpower Plans)  เป็นแผนเฉพาะที่ใช้แน่นอน  สำหรับนำมาใช้ปฏิบัติเพื่อเสริมส่วนที่ขาดระหว่างข้อแตกต่างที่เกิดขึ้นจากกำลังคนที่คาดการณ์ และกำลังคน     ที่มีอยู่

5.  การนำไปใช้ประโยชน์
การวางแผนกำลังคนสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา และใน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประโยชน์ที่นำไปใช้ในเรื่องการบริหารงานบุคคลได้ ดังนี้

5.1    สามารถนำไปใช้วางแผนกำหนดจำนวนอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับปริมาณงานที่แท้จริง

5.2    นำไปใช้ในการสับเปลี่ยน โยกย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  โดยที่ผู้ย้ายได้ย้ายไปยังหน่วยงานทางการศึกษาที่ต้องการ  และสถานศึกษาก็ได้ข้าราชการครูฯ ตรงกับกลุ่มสาระที่ต้องการเช่นกัน

5.3    นำไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรในสถานศึกษา และใน      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

5.4    ฝ่ายผลิตข้าราชการครูฯ สามารถนำไปวางแผนการผลิตข้าราชการครูฯ ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้อัตรากำลังของสถานศึกษา


อัพเดทล่าสุด