https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การสัมภาษณ์งาน หรือ Job Interview MUSLIMTHAIPOST

 

การสัมภาษณ์งาน หรือ Job Interview


723 ผู้ชม


การสัมภาษณ์งาน หรือ Job Interview




    การสัมภาษณ์ งาน หรือ Job Interview เป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดในการคัดเลือกบุคคลากรของบริษัท และเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ทางบริษัทใช้พิจารณาความเหมาะสมว่าผู้สมัครคนใด เหมาะสมที่จะเป็นผู้ได้รับการเสนอตำแหน่งงาน

การสัมภาษณ์ งาน เป็นขั้นตอนที่เปิดโอกาสให้ทางบริษัทได้เรียนรู้เกี่ยวกับผู้สมัครงาน พร้อมทั้งยังเป็นการประเมินความสามารถและบุคลิกของผู้สมัครว่าเหมาะสมกับตำแหน่งงานหรือไม่ คำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์มักจะเกี่ยวข้องกับ ประวัติการศึกษา ประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา เป้าหมายในการทำงาน ลักษณะนิสัยการทำงาน และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานของตำแหน่งโดยตรง สิ่งสำคัญที่บริษัทต้องการเรียนรู้จากผู้สมัครมีดังนี้:

 

·         ความสามารถในการปฏิบัติงาน และความรับผิดชอบต่อตำแหน่งงาน (ประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้อง จุดแข็ง และคอร์สการอบรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงาน)

·         ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับพนักงานปัจจุบันของบริษัท

·         ระดับความสามารถของผู้สมัครที่จะประสบความสำเร็จในบริษัท

·         ระดับความรู้และความสนใจที่มีต่อตำแหน่งงาน และวิสัยทัศน์ของบริษัท

·         ความกระตือรือร้น แรงจูงใจ และความคาดหวัง ต่อความก้าวหน้าในสายงานอาชีพนั้น

·         ความสามารถในการปรับตัวต่อหน้าที่ใหม่ที่ได้รับมอบหมาย

·         ความสามารถในการจัดการกับข้อกำหนดต่างๆในหน้าที่ตำแหน่งงาน เช่น การทำงานเป็นทีม การดูแลควบคุมการทำงานของลูกน้อง เป็นต้น

 

ในส่วนของผู้สมัคร หน้าที่หลักคือการทำให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่า ผู้สมัครมีความเหมาะสมกับตำแหน่ง ด้วยการอธิบายถึงระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน เป้าหมายในการทำงาน และจุดแข็ง ที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของตำแหน่งที่สมัครให้ผู้สัมภาษณ์เข้าใจอย่างชัดเจน

 

การเตรียมตัวก่อนการสัมภาษณ์จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อที่ผู้สมัครจะได้นำเสนอความสามารถของตนได้อย่างมั่นใจ  การเตรียมตัวทำได้โดยการเรียนรู้เกี่ยวกับตำแหน่งงาน ศึกษาและทำความเข้าใจกับลักษณะงาน หลังจากนั้นให้ผู้สมัครพยายามเชื่อมโยงประสบการณ์ ทักษะ ความสามารถ และความรู้ที่ผู้สมัครมีอยู่ให้เข้ากับลักษณะงานนั้น สิ่งสำคัญในการสร้างความประทับใจที่ผู้สมัครควรคำนึงถึงคือเหตุการณ์เฉพาะเจาะจงที่ผู้สมัครได้ใช้ความสามารถ ทักษะ ความรู้เหล่านั้นให้ก่อเป็นผลลัพธ์อย่างไร  ผู้สมัครควรสำรวจจุดแข็งและข้อด้อยของตน คาดการณ์คำถามและที่สำคัญ ฝึกซ้อมตอบคำถามเพื่อให้เกิดความชำนาญ

 

การสัมภาษณ์ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สมัครเรียนรู้เกี่ยวกับตำแหน่งงานและองค์กรมากขึ้นอีกด้วย นอกจากนั้นก่อนการจบการสัมภาษณ์ บริษัทมักจะเปิดโอกาสให้ผู้สมัครถามคำถามหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทหรือตำแหน่งงานได้อีกด้วย การสัมภาษณ์จึงถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดีของทั้งฝ่ายบริษัทและผู้สมัคร

 

เป็นที่ทราบกันดีว่าการสร้างความประทับใจแก่ผู้สัมภาษณ์นั้นมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการตัดสินใจว่าผู้สัมภาษณ์จะเสนอตำแหน่งให้แก่ผู้สมัครหรือไม่ ในบางสถานการณ์ ระดับการศึกษา ผลการเรียน หรือแม้กระทั่งประสบการณ์ที่ผ่านมาอาจไม่เพียงพอ การเตรียมตัวสัมภาษณ์ที่ดีเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะการันตีว่าผู้สมัครจะได้งานหรือไม่

 

ที่มา : https://www.academy-center.com


อัพเดทล่าสุด