https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การพัฒนาพนักงานผู้ชำนาญการ MUSLIMTHAIPOST

 

การพัฒนาพนักงานผู้ชำนาญการ


703 ผู้ชม


การพัฒนาพนักงานผู้ชำนาญการ




    

การพัฒนาพนักงานผู้ชำนาญการ

 

 

พนักงานผู้ชำนาญการขององค์การมักจะมีปัญหาที่ต้องมีการพิจารณาเป็นพิเศษเกี่ยวกับการพัฒนาความก้าวหน้าที่จะต้องมีต่อไป ซึ่งสามารถพิจารณาดำเนินการด้วยแนวทางต่างๆ ต่อไปนี้

 

 

  การโยกย้าย  บ่อยครั้งพนักงานผู้ชำนาญการในองค์การมักจะต้องมีการโยกย้ายเปลี่ยนงาน โดยเปลี่ยนทิศทางไปในงานหรืออาชีพด้านอื่นนอกเหนือจากที่ตัวชำนาญอยู่ ในกรณีที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าการโยกย้ายไปทำงานด้านปฏิบัติการอย่างแน่นอนแล้ว การอนุญาตให้โยกย้ายก็อาจจะเป็นประโยชน์ได้มากที่ผู้ชำนาญการนั้นๆ จะได้รับผลสำเร็จอย่างสูงได้เช่นกัน วิธีการที่ปฏิบัติกันอยู่เป็นส่วนมากก็คือ การให้โอกาสทำงานในแผนกที่ใกล้เคียงถัดออกไปเป็นขั้นๆ เช่น จากห้องทดลองค้นคว้า อาจให้ไปทำงานในหน้าที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่อยู่ในขั้นตอนถัดไป หรือนั่นก็คืองานกึ่งวิชาการกึ่งปฏิบัติการ จากนั้นก็ให้โยกย้ายต่อไปยังแผนกการผลิตหรือปฏิบัติการจริงๆ ซึ่งถ้าสำเร็จและทำงาต่อไปได้ปัญหาก็คงหมดไป แต่หลายกรณีเมื่อถึงจุดนี้จริงๆ พนักงานผู้ชำนาญการหลายคนอาจยอมแพ้ และขอหันกลับไปทำงานด้านวิชาชีพหรือ เป็นผู้ชำนาญการอีกครั้งก็มีอยู่ไม่น้อย

 

  การเลื่อนขั้น  แนวโน้มที่ปรากฏในระยะหลังนี้ประการหนึ่ง คือ พนักงานผู้ชำนาญการทั้งหลายต่างก็มีความต้องการจะเติบโตไปในวิชาชีพของตนสูงขึ้นต่อไปอีก โดยไม่ประสงค์จะโยกย้ายไปในงานอาชีพอื่นที่เป็นงานปฏิบัติการหรืองานบริหาร ซึ่งทำให้องค์การธุรกิจหลายแห่งต้องจัดระบบใหม่ที่จะให้มีโอกาสเลื่อนขั้นสูงขั้นไปคู่ขนานกับงานบริหารและปฏิบัติการด้านอื่นๆ เช่น อาจให้เติบโตไปในตำแหน่งอาวุโสต่างๆ เป็นต้น

 

แต่อย่างไรก็ตาม โดยที่ตำแหน่งงานด้านที่เป็นงานชำนาญการยังคงมีจำนวนน้อยกว่า ดังนั้น แทนที่จะมีการเติบโตไปในงานวิชาชีพต่อไปเรื่อยนั้น ข้อเท็จจริงกลับกลายเป็นว่าในขณะที่กำลับเติบโตขึ้นไปนั้น หลายๆ กรณีมักจะต้องมีการพัฒนาความรู้เพิ่มเติมและเติบโตไปในสายงานอื่น แนวความคิดที่เกี่ยวกับบันไดการเลื่อนชั้นที่คู่ขนาน (The parallel – ladder concept)  นี้ เมื่อนำมาปฏิบัติในบางครั้งอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องความเป็นธรรมได้มาก โดยเฉพาะปัญหาเงินเดือนและการจ่ายค่าตอบแทนตางๆ มักจะไม่เท่ากัน เช่น งานในตำแหน่งบริหาร อาจได้รับน้อยกว่าหรือมากกว่าผู้ชำนาญการก็ได้ ซึ่งย่อมต้องการทั้งเหตุผลและข้อเท็จจริงที่จะชี้แจงให้เข้าใจ และมีการประเมินค่าให้เห็นชัดให้เป็นที่ยอมรับระหว่างกัน

 

สำหรับการพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับพนักงานผู้ชำนาญการเพื่อที่จะก้าวหน้าต่อไปนั้น วิธีการที่ใช้อยู่เป็นส่วนมากนั้นมักนิยมใช้วิธีการโยกย้าย เปลี่ยนงาน หรือ Job Rotation  เพื่อให้มีความรอบรู้ในงานหลายๆ ด้านมากขึ้น

 

 

 

ที่มา :  รองศาสตราจารย์ ธงชัย  สันติวงษ์


อัพเดทล่าสุด