https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงาน บริหารค่าจ้างและเงินเดือน MUSLIMTHAIPOST

 

หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงาน บริหารค่าจ้างและเงินเดือน


4,269 ผู้ชม


หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงาน บริหารค่าจ้างและเงินเดือน




หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงาน เพื่อการบริหารค่าจ้างและเงินเดือน

 

 

หน้าที่และความรับผิดชอบของงานบริหารค่าจ้างและเงินเดือนนั้นจะมีมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับขนาดของหน่วยงานหรือบริษัท แต่อย่างไรก็ตามหน้าที่และความรับผิดชอบโดยทั่วไป ของการบริหารค่าจ้างและค่าตอบแทนของบริษัทส่วนใหญ่มักจะคลอบคลุมงานหลัก 14 ประการและงานเสริม 7 ประการดังนี้

  1. จัดทำแผนค่าจ้างและเงินเดือนโดยให้ตั้งอยู่บนหลักการและนโยบายที่ได้รับการยอมรับทั้งจากนายจ้างและลูกจ้าง
  2. สร้างบรรทัดฐานที่ใช้สำหรับกำหนดขั้นค่าจ้างและเงินเดือนโดยให้มีลักษณะที่เป็นธรรม ทั้งนี้เพื่อใช้สำหรับการต่อรองระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
  3. จัดตั้งและบริหารงานระบบการประเมินผลค่าจ้างและเงินเดือน ซึ่งจะครอบคลุมถึงเรื่องการวิเคราะห์ลากรจัดอันดับงานเพื่อจะได้จำแนกงานและกำหนดมาตรฐานงานได้
  4. ทำการบันทึกและเก็บรักษาเอกสารพรรณนาลักษณะงาน พรรณนาลักษณะตำแหน่งงาน คุณสมบัติเฉพาะงานและการจำแนกตำแหน่งงาน ทั้งนี้เพื่อใช้สำหรับเปรียบเทียบในการกำหนดค่าจ้าง
  5. ทำการวิเคราะห์งานแต่ละงานและพัฒนาเทคนิคในการวิเคราะห์ให้ดีขึ้น เพื่อจะได้ใช้สำหรับกำหนดอัตราค่าจ้างที่เท่ากันหรือต่างกันภายในองค์การและยังใช้เปรียบเทียบกับอัตราค่าจ้างที่ปรากฏในอุตสาหกรรมทั้งหมดด้วย
  6. เมื่อมีงานใหม่ๆ เกิดขึ้นก็ให้ระบุลักษณะงานใหม่ไว้ในทะเบียนการจำแนกแรงงานที่มีอยู่แล้ว หรือให้ทำการพัฒนาการจำแนกและประเมินผลใหม่
  7. ทากรสำรวจอัตราค่าจ้างที่เป็นอยู่ในสังคมหรือในวงการอุตสาหกรรมขณะนั้น เพื่อใช้เปรียบเทียบในการจ่ายค่าจ้าง ให้อยู่ในระดับเดียวกับบริษัทอื่นๆ
  8. วิเคราะห์ทั้งกฎระเบียบเกี่ยวกับค่าจ้างที่รัฐบาลกำหนดขึ้นมา นโยบายค่าจ้างของบริษัท และข้อตกลงที่มีกับสหภาพแรงงานในอันที่จะรักษาระดับค่าจ้างให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  9. ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายที่เกี่ยวกับค่าจ้างและเงินเดือน
  10. ในส่วนที่เกี่ยวกับลูกจ้าง จัดให้มีการตรวจสอบเป็นระยะๆ มีการจัดอันดับและ ประเมินผลด้วย ทั้งนี้เพื่อใช้ปรับอัตราค่าจ้างใหม่ เพิ่มค่าจ้างอย่างมีเหตุผล เสนอให้มีการเลื่อนขั้นให้จัดฝึกอบรมพิเศษ และให้โยกย้ายไปสู่งานที่มีความมั่นคงยิ่งขึ้น
  11. จัดให้มีผลประโยชน์เกื้อกูลและประโยชน์ตอบแทนในรูปอื่นๆ
  12. เสนอแนะและบริหารแผนการสำหรับการจ่ายค่าจ้างแบบจูงใจ
  13. ควบคุมดูแลการทำงานของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งาน นักสถิติ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ค่าจ้างและเงินเดือน และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ในสำนักงานตนด้วย
  14. ควบคุมดูแลและเก็บรักษาบันทึกทุกอย่างที่เกี่ยวกับเรื่องค่าตอบแทน

 

    ในส่วนงานเสริมที่มิใช่งานหลักของหน่วยงาน บริหารค่าจ้างและเงินเดือน บางแห่งต้องปฏิบัติเพิ่มเติม มีดังนี้

 

1.     ให้คำแนะนำกับผู้จัดการในเรื่องการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างและเรื่องกฎระเบียบที่รัฐบาลว่าไว้เกี่ยวกับค่าจ้าง

2.     ให้คำปรึกษาแก่หัวหน้างานในเรื่องนโยบายของบริษัทที่เกี่ยวกับค่าจ้างและเงินเดือน

3.     ถ้าได้รับคำขอร้องจากฝ่ายปฏิบัติงานหลักหรือจากคณะกรรมการแก้ไขข้อขัดแย้งแล้ว นักบริหารค่าจ้างและเงินเดือนจะ

        เข้าประชุมกับหัวหน้างานเพื่อหาทางแก้ไขความขัดแย้งในเรื่องค่าจ้างและเงินเดือน

4.     จัดทำรายงานเสนอต่อหน่วยงานของรัฐและเสนอรายงานเป็นระยะๆ แก่ผู้บริหารระดับสูง

5.     เสนอรายงานการปฏิบัติงานเป็นช่วงๆ เสนอต่อผู้บริหารและหัวหน้างานและทำการตรวจสอบรายงานที่ได้รับจากฝ่าย

        อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อจะได้ทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น

6.     ให้ข้อเสนอแนะว่าควรลงมือจัดการอย่างไรกับพนักงานบางกลุ่ม

7.     จัดให้มีและดูแลรักษากระบวนการรับส่งข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงค่าจ้าง การปรับค่าจ้าง

        ใหม่ และหน่วยงานที่มีข้อมูลในเรื่องนี้


อัพเดทล่าสุด