https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
HR ตัวจักรสำคัญแห่งการเปลี่ยนแปลง MUSLIMTHAIPOST

 

HR ตัวจักรสำคัญแห่งการเปลี่ยนแปลง


664 ผู้ชม


HR ตัวจักรสำคัญแห่งการเปลี่ยนแปลง




 "การปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างมีแบบแผน" หมายถึง การปรับปรุงในเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resources) การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Functional Resources) การเพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยี (Technological Capabilities) และการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร (Organizational Capabilities) เป็นสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันนั้นการปรับปรุงการบริหารทรัพยากรบุคคลได้กลายเป็นตัวจักรที่สำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงองค์กร


        เหตุผลที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า สมรรถนะขององค์กร (Organization Competences) นั้นจะขึ้นอยู่กับทักษะและขีดความสามารถของคนในองค์กรนั้นๆ นั่นเอง และเพราะเหตุนี้ทุกครั้งที่องค์กรใดๆ ก็ตามที่มีความต้อง การปรับเปลี่ยนเพื่อ การพัฒนาองค์กรแล้ว ทรัพยากรบุคคลจะเป็นสิ่งแรกที่ถูกหยิบมาพูดถึง


        สิ่งสำคัญอันดับแรกๆ ขององค์กรในการที่จะเพิ่มหรือ ขยายสมรรถนะไปยังจุดที่องค์กรต้องการได้ก็คือ องค์กรจะต้องตื่นตัวเพื่อสรรหา วิธีการที่จะเข้ามาสื่อสารและกระตุ้นคน นอกจากนั้นยังจะต้องจัดองค์กรกันเสียใหม เพื่อให้ได้มาซึ่งพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การพัฒนาทักษะและขีดความสามารถของคนอยู่เสมอ


        ขีดความสามารถขององค์กรนั้น ยังจะสามารถเกิดขึ้นได้จากการปรับเปลี่ยนค่านิยมร่วมของคนและวัฒนธรรมขององค์กร จากการสร้างบรรยากาศให้คนในองค์กรมีอิสระมากขึ้นในการประยุกต์ใช้ทรัพยากรต่างๆ ภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงค่านิยมร่วมและวัฒนธรรมนี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสัมพันธภาพ (Relationship) ระหว่างคนกับคน และระหว่างสายงานกับสายงานอย่างมีแบบแผน


        ทั้งนี้การที่องค์กรจะพัฒนาขีดความสามารถ มักจะเริ่ม ต้นที่การลงทุนฝึกอบรมและให้ความรู้พนักงาน การสื่อสาร อย่างเป็นระบบเพื่อปรับค่านิยมร่วมและทัศนคติของคนในองค์กร การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการทำงานร่วมกันเป็นทีม มากขึ้น การสับเปลี่ยนหมุนเวียนการทำงานรวมไปถึงการปรับปรุงกระบวนการทำงาน ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถสรรหา วิธีการที่ทันสมัยและเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอยู่เสมอ


        นอกจากจะให้ความสำคัญเรื่องของคนแล้ว สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในเรื่องการพัฒนาขีดความสามารถก็คือ การเพิ่มขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีขององค์กร เพราะเทคโนโลยีจะทำให้องค์กรสามารถตอบสนองกับความต้องการ ของตลาดได้ทันท่วงที ซึ่งประกอบด้วยขีดความสามารถของเทคโนโลยีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์และบริการ และขีดความสามารถ ของเทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการผลิตและการติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร


        เนื่องจากสิ่งที่จะต้องเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมานั้นมีความเกี่ยวเนื่องกัน จึงจำเป็นที่จะต้องทำไปพร้อมๆ กันอย่างมีแบบแผน และเป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญยิ่งของผู้บริหารยุคใหม่ที่จะต้องตื่นตัวพร้อมกับเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ถึงองค์ประกอบขององค์กรและการบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นสำคัญ


        การปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างมีแบบแผน นอกจากผู้บริหารจะต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในแต่ละส่วนดังกล่าวแล้ว ในปัจจุบันผู้บริหารยังจะต้องรู้จักกระบวนการที่จะมุ่งใช้ทักษะและขีดความสามารถภายในองค์กรที่มีอยู่ สำหรับการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ ตลอดจนกระบวนการผลิตและปฏิบัติการทุกชนิดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า การบริหารนวัตกรรม (Innovation Management)


        และเนื่องจากนวัตกรรมทุกชนิดนำมาซึ่งความเสี่ยงของการทำธุรกิจ จึงจำเป็นที่จะต้องทำการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ควบคู่ไปกับการบริหารนวัตกรรม ซึ่งการบริหารนวัตกรรมในปัจจุบันนับได้ว่าเป็นการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีผลในระยะยาว ดังนั้นคนในองค์กรต้องมุ่งมั่นที่จะแสวงหาความรู้และข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งได้กลายมาเป็นสิ่งท้าทายอย่างหนึ่งสำหรับนักปฏิวัติองค์กร ที่จะต้องทำให้องค์กรนั้นเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนองค์กร

ที่มา : เมล์จากสมาชิก

 

อัพเดทล่าสุด