https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เหตุใดองค์การจึงได้คนที่ไม่เหมาะสมเข้ามาร่วมงาน MUSLIMTHAIPOST

 

เหตุใดองค์การจึงได้คนที่ไม่เหมาะสมเข้ามาร่วมงาน


674 ผู้ชม


เหตุใดองค์การจึงได้คนที่ไม่เหมาะสมเข้ามาร่วมงาน




บทนำ

เมื่อพูดถึงเรื่องการสัมภาษณ์งานแล้ว ต้องยอมรับนะครับว่ายังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการคัดเลือกคนเข้ามาทำงาน ซึ่งจะมีผลต่อองค์การทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่ผมมักจะพูดอยู่เสมอ ๆ ว่าเหมือนกับคำ ๆ หนึ่งของทฤษฎีชีวจิตคือคำว่า “You are what you eat” คือท่านบริโภคอย่างไรท่านก็จะได้รับผลอย่างนั้น


การคัดเลือกคนเข้าทำงานก็คล้ายกับท่านบริโภค (หรือยอมรับ) เขาเข้ามาอยู่ในหน่วยงานแล้ว ถ้าผู้สมัครรายนั้นเป็นคนเก่งคนดี มีคุณสมบัติเหมาะสม และเป็นกำลังสำคัญขององค์การก็เปรียบเสมือนท่านบริโภคของดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ก็จะช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง

แต่หากท่านรับเอาคนที่คุณสมบัติไม่เหมาะสม หรือมีปัญหาเข้ามาแล้วก็เหมือนกับท่านได้บริโภคอาหารเป็นพิษเข้ามาในร่างกาย ซึ่งผมคงไม่ต้องบอกต่อนะครับว่าผลจะเป็นอย่างไร ??


แปลกแต่จริงที่ยังมีหลายองค์การมองข้ามความสำคัญของการสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน โดยมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายบุคคลร่วมกับหัวหน้างานที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นกรรมการสัมภาษณ์โดยตำแหน่ง และมักไม่เคยผ่านการอบรมการสัมภาษณ์ผู้สมัครงานมาก่อน ดังนั้นกรรมการสัมภาษณ์ดังกล่าวจึงมักจะสัมภาษณ์ในแบบ (Style) ของตนเอง ใช้ความรู้สึกของตนเองเป็นหลัก และที่สำคัญที่สุดคือมักจะสัมภาษณ์แบบไม่ได้เตรียมตัว เตรียมคำถามเข้ามาสัมภาษณ์ (Unstructured Interview)


ดังนั้นการสัมภาษณ์หรือการสอบถามผู้สมัครงานจึงมักเป็นการถามไปเรื่อย ๆ แบบไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการ “ค้นหา” ตัวตน หรือ “คุณสมบัติ"” ที่แท้จริงของผู้สมัครงาน ดังนั้นเมื่อมีผู้สมัครงานในตำแหน่งนั้น ๆ หลายคน ก็จะเปรียบเทียบและตัดสินใจเลือกผู้สมัครงานจาก “ความรู้สึก” เสียเป็นส่วนใหญ่ !!?
จากเรื่องที่ผมพูดมานี้จึงเรียกได้ว่าองค์การที่มีวิธีการสัมภาษณ์ดังกล่าวจะมีความสุ่มเสี่ยงอยู่มากที่จะได้พนักงานที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่หน่วยงานต้องการ


ดังนั้นหากท่านเป็นผู้บริหารที่มักจะพบว่าทำไมในหน่วยงานของท่านจึงมักจะมีปัญหาในเรื่องต่าง ๆ เช่น พนักงานไม่มีความรู้ในงาน,พนักงานมีทัศนคติไม่ดีต่อองค์การ,พนักงานขาดความภักดีต่อองค์การ,อัตราการลาออกสูง,พนักงานเข้ามาทำงานอยู่ชั่วคราวพอได้งานใหม่ก็ลาออกไป ฯลฯ หากท่านประสบปัญหาทำนองนี้ท่านควรมองย้อนกลับมาดูนะครับว่ากระบวนการตั้งต้นคือการสัมภาษณ์งานของท่านมีการปฏิบัติกันอย่างที่ผมบอกไว้แล้วหรือไม่


จุดอ่อนที่สำคัญ ๆ สำหรับการสัมภาษณ์งาน

ผมอยากจะบอกว่าการสัมภาษณ์งานนั้นเป็น “ทักษะ” ที่ต้องการการฝึกฝน และอาศัยประสบการณ์ของคนที่จะต้องเป็นกรรมการสัมภาษณ์ครับ เพราะกรรมการสัมภาษณ์จะต้องตัดสินใจ “รับ หรือไม่รับ” คน ๆ หนึ่งที่เขาไม่เคยพบเห็นมาก่อน เพียงแต่เข้ามานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ซึ่งกัน และกันเพียงประมาณ 1 ชั่วโมง (บางรายอาจจะมากน้อยกว่านี้ได้นะครับ) แล้วจะต้องตัดสินใจว่าเขาคนนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับผู้สมัครรายอื่น ๆ แล้วใครจะเป็นคนที่ใช่ ที่เหมาะสมที่สุดที่จะเข้ามาทำงานกับองค์การของเรา
ซึ่งหากตัดสินใจถูกได้คนดีคนเก่งมาก็โชคดีไป แต่ถ้าตรงกันข้ามก็จะมีเรื่องปวดหัวตามมาเป็นหนังชีวิตภาคสองภาคสามกันต่อไปอีก


มาถึงตรงนี้ผมจึงอยากจะขอยกจุดอ่อนสำคัญ ๆ ที่มักจะทำให้กระบวนการสัมภาษณ์เกิดปัญหาขึ้นมาเตือนความจำกันอีกสักครั้งดังนี้ครับ


1. กรรมการสัมภาษณ์ใช้วิธีสัมภาษณ์แบบเดิม ๆ เช่น เคยสัมภาษณ์ผู้สมัครงานแบบไม่เตรียมตัว (Unstructured Interview) นั่งสัมภาษณ์ไปก็เซ็นงานไป หรือคิดคำถามขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ ในขณะที่สัมภาษณ์ผู้สมัครงาน หรือเป็นฝ่ายพูดมากกว่าฟังเรียกว่ายังใช้วิธีการแบบเดิม ๆ เก่า ๆ ไม่เปลี่ยนแปลงอะไรให้ดีขึ้น ฯลฯ หากกรรมการสัมภาษณ์ยังไม่ปรับปรุงแล้วล่ะก็องค์การของท่านก็คงหาคนดีคนเก่งมาร่วมงานด้วยยากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ผลประกอบการก็มีแต่จะตกต่ำลงไปเรื่อย ๆ เพราะมีพนักงานที่ขาดคุณภาพ เนื่องจากองค์การมองข้ามความสำคัญของคนที่จะมาเป็นกรรมการสัมภาษณ์นี่แหละครับ


2. หน่วยงานกำหนดคุณสมบัติที่ขัดแย้งในตำแหน่งงาน เช่น “ต้องการรับพนักงานขายอุปกรณ์ไฟฟ้า จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ไฟฟ้า มีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปี” จากตัวอย่างนี้เราอาจจะพบว่าจะหาผู้สมัครงานดังกล่าวได้ยาก เพราะโดยธรรมชาติของผู้สมัครงานที่จบวิศวกรรมศาสตร์ มักจะไม่อยากมาเป็นพนักงานขาย แต่อยากจะเติบโตหรือทำงานในสายงานอาชีพวิศวกรรมของเขามากกว่าครับ หรือ “ต้องการรับพนักงานชั่วคราว ทำหน้าที่รับโทรศัพท์ Call Center ที่สามารถพูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษได้ดี ควรมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 1 ปี อัตราเงินเดือน ๆ ละ 7,000 บาท” ท่านคิดว่าจะหาได้หรือไม่ครับ ?? เพราะผู้สมัครงานที่มีคุณสมบัติดังกล่าว เขาไปหางานประจำอื่นที่มีรายได้ดีกว่านี้ไม่ดีกว่าหรือครับ


3. กรรมการสัมภาษณ์ประเมินผู้สมัครงานว่าจะต้องมีคุณสมบัติพร้อมสมบูรณ์แบบในทุกด้าน จึงทำให้หาพนักงานได้ยาก เพราะจะค่อนข้างเข้มงวดในการสัมภาษณ์ เรียกว่าไม่แน่จริงก็อย่างหวังว่าจะผ่านด่านฉันได้ หากกรรมการสัมภาษณ์มีลักษณะที่ต้องการความสมบูรณ์แบบ (Perfectionism) แบบนี้ก็ถือว่าเป็นกรรมของทั้งผู้สมัครงานที่ดี และกรรมขององค์การนะครับ ที่ทั้งผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสมก็ไม่ได้รับโอกาสให้เข้ามาร่วมงาน ในขณะที่องค์การก็เสียโอกาสที่จะได้คนดี ๆ เก่ง ๆ เข้ามาช่วยกันพัฒนาองค์การให้เจริญก้าวหน้า


4. ตัดสินใจเลือกผู้สมัครแต่เพียงเปลือกนอก โดยการมองเพียงการแต่งกาย บุคลิกลักษณะที่มองเห็นได้ จะเรียกว่าเป็นความประทับใจครั้งแรกที่พบเห็น หรือ First Impression ก็ได้ครับ เมื่อสัมภาษณ์จริงก็เลยจะมองข้ามข้อเท็จจริงไป เพราะมัวแต่มองเปลือกนอกที่ดูดีของผู้สมัครงาน


5. ผู้สมัครได้รับการแนะนำมาจากผู้ที่กรรมการสัมภาษณ์รู้จัก จึงทำให้กรรมการมองข้ามข้อบกพร่อง เพราะความเชื่อใจคนที่แนะนำมาว่าดีจริง ทั้ง ๆ ที่หากพินิจพิจารณาให้ดีแล้ว ผู้สมัครรายนั้นอาจไม่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นเลยก็เป็นได้


6. กรรมการสัมภาษณ์ตัดสินใจเลือกผู้สมัครที่มีลักษณะหรือความรู้สึกนึกคิดเหมือน(หรือใกล้เคียงกับตนเอง) หรือเรียกง่าย ๆ ว่ากรรมการสัมภาษณ์เกิดความลำเอียง (Bias) จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ เพราะเมื่อฟังผู้สมัครตอบแล้วจะรู้สึกว่าถูกใจ ตรงกับที่ใจตนเองคิด ทั้ง ๆ ที่คำตอบนั้นไม่ถูกต้องเหมาะสม


7. กรรมการสัมภาษณ์ขาดทักษะในการอ่านคน หรือขาดทักษะในการสัมภาษณ์นั่นเองครับ


8. กรรมการสัมภาษณ์ไม่เตรียมตัวก่อนการสัมภาษณ์ อันนี้ผมได้พูดไปแล้วในตอนต้นครับ


9. กรรมการสัมภาษณ์ขาดการพิจารณาในเรื่องการควบคุมอารมณ์ (EQ) ของผู้สมัครงาน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งเลยนะครับ กล่าวคือคนที่ทำงานเก่งจะต้องพูดหรือสื่อสารกับบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือลูกน้องได้ดีอีกด้วย ไม่ใช่ว่าทำงานเก่งแต่คุยกับใครไม่รู้เรื่องเพราะฟิวส์ขาดง่ายก็ไม่ไหวนะครับ


10. มี “ใบสั่ง” ให้รับผู้สมัครรายนี้ นี่ก็เป็นปัญหาในหลายองค์การเหมือนกัน ทำให้การสัมภาษณ์กลายเป็น “พิธีกรรม” อย่างหนึ่งเพื่อให้พิธีการนั้นครบถ้วนเท่านั้นเองครับ


จากที่ผมได้เล่ามาให้ฟังทั้งหมดนี้คงจะทำให้ท่านเห็นความสำคัญของกระบวนการสัมภาษณ์ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการคัดเลือกคนดีมีความสามารถเหมาะสมเข้ามาทำงาน ตลอดจนเหตุใดจึงมักจะเกิดปัญหาจากการสัมภาษณ์งานเพื่อเป็นข้อเตือนใจสำหรับการสัมภาษณ์ในหน่วยงานของท่านนะครับ.

* ลงพิมพ์ในวารสาร For Quality, March 2005 Vol 11 No.89


Posted by ธำรงศักดิ์ ที่มา : https://www.excelexperttraining.com
Category : Recruitment and Selection


อัพเดทล่าสุด