https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การเลิกจ้างเป็นทางออกที่ดีแล้วหรือยัง ?? MUSLIMTHAIPOST

 

การเลิกจ้างเป็นทางออกที่ดีแล้วหรือยัง ??


754 ผู้ชม


การเลิกจ้างเป็นทางออกที่ดีแล้วหรือยัง ??




บทนำ

“เลิกจ้าง !!” ผมคิดว่าคำ ๆ นี้เป็นคำที่เปรียบเสมือนคำพิพากษาให้ประหารชีวิตลูกจ้างในทางการทำงาน เพราะเป็นคำสั่งให้ลูกจ้างต้องออกจากงาน ทั้ง ๆ ที่ลูกจ้างยังไม่อยากจะออก ซึ่งคงไม่มีใครที่อยากได้รับสิ่งนี้จากองค์กรใช่ไหมครับ เมื่อลูกจ้างหรือพนักงานถูกเลิกจ้างจะมีผลกระทบในชีวิตของลูกจ้างหรือพนักงานคนนั้น ๆ ติดตามมาหลาย ๆ อย่าง เช่น เขาจะต้องไปหางานใหม่ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะได้หรือไม่อย่างไร,ครอบครัวหรือบุคคลที่เขาต้องรับผิดชอบอยู่อาจจะมีปัญหาขาดเงินทองใช้สอยอย่างน้อยก็ระยะหนึ่งที่ยังหางานไม่ได้,จิตใจความรู้สึกของผู้ถูกเลิกจ้าง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลกระทบมาจากการถูกเลิกจ้าง


ประเภทของการเลิกจ้าง

การเลิกจ้างแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. เลิกจ้างเนื่องจากเหตุผล หรือนโยบาย หรือข้อสรุปจากการประชุมของผู้บริหารของทาง
บริษัท(หรือนายจ้าง) ว่าจำเป็นจะต้องมีการเลิกจ้างพนักงานเพราะ…..


    1.1  บริษัทมีความจำเป็นจะต้องปิดกิจการ เนื่องจากบริษัทมีผลประกอบการขาดทุน,บริษัทขาด
สภาพคล่องที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้,บริษัทถูกคำพิพากษาให้ล้มละลายหรือถูกพิทักษ์ทรัพย์,บริษัทถูกคำสั่งของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองสั่งให้ปิดกิจการ(เช่นสถานบันเทิงที่เกิดเรื่องบางแห่ง) และ ฯลฯ


    1.2  เกิดภัยที่ไม่คาดฝันขึ้นกับบริษัท เช่น วันร้ายคืนร้ายมีไฟไหม้โรงงานจนเกิดความเสียหายทั้ง
หมดจนไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การเลิกจ้างในข้อ 1 นี้ จึงเป็นการเลิกจ้างด้วยสาเหตุจากทางบริษัทเป็นปัจจัยสำคัญครับ ซึ่งการเลิกจ้างประเภทนี้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้างครับ

2. เลิกจ้างเนื่องจากพนักงานได้ทำความผิดต่อบริษัท ซึ่งการเลิกจ้างในประเภทนี้ กฎหมายแรง
งานให้สิทธิไว้กับนายจ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ เมื่อลูกจ้างกระทำความผิด “ร้ายแรง” ตามมาตรา 119 ของกฎหมายแรงงาน (ลองไปเปิดดูได้ครับ) ซึ่งเป็นการเลิกจ้างโดยนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย การเลิกจ้างแบบนี้มีสาเหตุจากตัวพนักงาน (โดยเฉพาะเป็นเรื่องความประพฤติที่ไม่พึงประสงค์) เป็นปัจจัยสำคัญครับ

3. การเลิกจ้างด้วยสาเหตุอื่น ๆ เช่น นายจ้างไม่ชอบขี้หน้าลูกจ้าง ,ลูกจ้างทำงานแล้วไม่ได้อย่าง
ใจนายจ้าง,ลูกจ้างเกเรความประพฤติไม่ดี ฯลฯ แต่ทั้งหมดก็ยังไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 119 ซะที แต่นายจ้างไม่อยากจะจ้างเอาไว้แล้วล่ะ แต่การเลิกจ้างในประเภทนี้ต้องจ่ายเงินชดเชยครับ

การเลิกจ้างเป็นทางออกที่ดีแล้วหรือยัง??

ผมว่าการจ้างงานมองไปก็คล้ายกับการอยู่กันฉันสามีภรรยา ต้องอยู่กันด้วยความรักและความเข้าใจให้เกียรติซึ่งกันและกัน ในบางครั้งอาจมีเรื่องกระทบกระทั่งกันบ้างก็ต้องพยายามหาทางปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน ซึ่งหากการเลิกจ้างมีสาเหตุตามข้อ 1 ก็ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยจริง ๆ ส่วนสาเหตุการเลิกจ้างตามข้อ 2 นั้น นายจ้างควรจะต้องมีคณะกรรมการสอบสวนและดำเนินการด้วยเหตุผลและพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบอย่างรอบคอบเป็นธรรม หากพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างกระทำผิดจริงก็ถือว่าการเลิกจ้างในกรณีนี้เป็นทางออกที่ดีที่สุด ส่วนกรณีตามข้อ 3 ผมคิดว่าเป็นกรณีเจ้าปัญหาที่มีโอกาสเกิดได้มากและบ่อยในองค์กร เพราะจะมีการนำเอา “ความรู้สึก” ของนายจ้างเข้ามาร่วมในการตัดสินใจเลิกจ้าง และเมื่อนายจ้างเลิกจ้างตามข้อ 3 ก็มักจะพยายามเหมารวมให้ความผิดของลูกจ้างเข้าไปอยู่ในข้อ 2 เพื่อถือโอกาสไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยเสียอีก ดังนั้นนายจ้างจึงควรคิดให้ดีก่อนจะมีการเลิกจ้างตามข้อ 3 เพื่อมิให้อารมณ์หรือความรู้สึกมาอยู่เหนือเหตุผลและพิพากษาเลิกจ้างลูกจ้างในที่สุด….

* ลงพิมพ์ในวารสาร For Quality, May 2004 Vol 11 No.79

แหล่งที่มา : https://www.excelexperttraining.com


อัพเดทล่าสุด