https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เมื่อนายจ้างอยากจะปรับอัตราการจ่าย OT ให้น้อยลง MUSLIMTHAIPOST

 

เมื่อนายจ้างอยากจะปรับอัตราการจ่าย OT ให้น้อยลง


578 ผู้ชม


เมื่อนายจ้างอยากจะปรับอัตราการจ่าย OT ให้น้อยลง




คำถาม
       

       ตามที่คุณดิลกทราบก็คือ พรบ.แรงงาน มาตรา 62 กำหนดให้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้กับพนักงานรายวัน ในอัตรา 2 เท่า และ พนักงานรายเดือนในอัตรา 1 เท่า แต่บริษัทฯ ที่ผมทำงานอยู่ในปัจจุบันนี้ เขาจ่ายให้กับพนักงานรายวัน และรายเดือนในอัตรา 2 เท่า มาเกือบ 40 ปีแล้ว แต่ตอนนี้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ บริษัทต้องปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และ ผู้จัดการทุกคน ก็บริหารไม่ให้เกิดการทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดโดยไม่จำเป็น และมีการทำงานล่วงเวลาน้อยมาก ในขณะที่การทำงานในวันหยุดเป็นศูนย์ เรื่องของเรื่องก็คือ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วฝ่ายบุคคลที่บริษัทได้ออกประกาศ ว่าด้วยเรื่อง การเปลี่ยนอัตราค่าทำงานในวันหยุดสำหรับพนักงานรายเดือน จาก 2 เท่า เหลือ 1.5 เท่า โดยให้อ้างเหตุผลเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจ และบอกด้วยว่าอัตราใหม่ก็ยังสูงกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้อยู่ดี แต่เท่าที่ผมศึกษาดู เมื่อมีการกำหนดการจ่ายในอัตราที่สูงกว่ากฎหมายแล้ว จะมาปรับเปลี่ยนให้น้อยลงกว่าเดิม นั้นขัดกับ พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 74 ซึ่งหากฝ่าฝืนมีโทษปรับตาม ม.146 เพื่อความมั่นใจว่าผมเข้าถูกต้องหรือไม่ จึงใคร่ขอให้คุณดิลกช่วยยืนยันในประเด็นดังต่อไปนี้
       
       ข้อแรก เปลี่ยนอัตราการจ่ายให้ต่ำลงกว่าเดิมไม่ได้ใช่หรือไม่
       
       ข้อที่สอง หากนายจ้างให้ลูกจ้าง เซ็นเอกสารยินยอมย้อนหลัง ทำไม่ได้ใช่หรือไม่ เนื่องจาก เรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การจะยินยอมทำได้ในกรณีที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยเท่านั้น (ขัดตาม มาตรา 74) มิฉะนั้นก็จะไม่มีผลบังคับใช้
       
       ข้อที่สาม นายจ้างอ้างว่า กรมสวัสดิการฯ มีหนังสืออนุมัติให้เปลี่ยนได้ เพื่อบรรเทาสถานการณ์ที่นายจ้างอาจมีการ เลิกจ้าง พนักงาน กรมสวัสดิการฯ มีหนังสือดังกล่าวหรือไม่ เรื่องนี้นายจ้างอธิบายให้ฟังเฉยๆ โดยไม่มีหลักฐานมาแสดงครับ
       
       จึงใคร่รบกวนขอคำปรึกษาด้วยครับ ขอบคุณครับ - แมน
       
       คำตอบ
       
       ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผมได้รับคำถามในประเด็นเกี่ยวกับการลด การเลิก หรือการตัด เยอะมากเลยนะครับ ซึ่งก็เป็นภาพสะท้อนอย่างหนึ่งของสถานการณ์การจ้างงานในบ้านเราว่าอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงไม่ใช่น้อย จากที่คุณแมนถามมา มีหลายประเด็นซึ่งผมจะให้ข้อแนะนำในหลักการอย่างนี้นะครับ
       
       คำถามข้อแรก การเปลี่ยนอัตราค่าจ้าให้ต่ำลงทำได้ครับ ด้วยเงื่อนไขและวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ก็คือ ยื่นข้อเรียกร้องถึงลูกจ้างแล้วให้ลูกจ้างตั้งตัวแทนเจรจามาคุยกัน หรือ ถ้าที่บริษัทมีสหภาพแรงงานก็ยื่นข้อเรียกร้องให้สหภาพแรงงาน หรือ พูดคุยทำความเข้าใจกับลูกจ้างแล้วให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในหนังสือยินยอมเป็นรายบุคคล แต่อยู่ๆจะไปตัดไปลดทั้งเรื่องค่าจ้างหรืออัตราการจ่าย อย่างนี้ทำไม่ได้ครับ
       
       คำถามข้อที่สอง ที่ถามมมาผมมองเป็น 2 เรื่องคือ การลงลายมือย้อนหลัง กับ การลงลายมือยินยอมเพื่อลดอัตราการจ่ายค่าล่วงเวลา แต่ลดแล้วยังสูงกว่ากฎหมาย เอาเรื่องแรกก่อนนะครับ การลงลายมือชื่อย้อนหลังที่เป็นคุณกับลูกจ้างแล้วทำได้ครับ แต่ถ้าลงลายมือชื่อให้เป็นโทษแล้วทำไม่ได้ครับ ส่วนเรื่องที่สอง กรณีนี้ทำได้ เพราะการบอกว่าขัดหลักความสงบเรียบร้อยนั้น จะต้องเป็นการขัดกับขั้นต่ำของกฎหมาย เช่น ตกลงยอมรับค่าจ้างต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ตกลงยอมรับการทำงานล่วงเวลาในวันหยุดเป็น 1 แรงสำหรับพนักงานรายวันในขณะที่กฎหมายบอกว่าต้องจ่าย 2 แรง หรือตกลงรับ 0.5 แรงสำหรับรายเดือนในขณะที่กฎหมายบอกว่าต้องจ่ายเพิ่มอีก 1 แรงอย่างนี้จึงจะเข้าหลักขัดต่อความสงบเรียบร้อย ทั้งนายจ้างลูกจ้างตกลงกันไม่ได้
       
       คำถามข้อที่สาม ผมให้ความเห็นข้อนี้ไม่ได้ครับ คุณแมนต้องพาพนักงานด้วยกันไปขอดูหรือขอคัดสำเนาจากแรงงานมาดู เพราะหลายครั้งที่ฝ่ายบริษัทจะเป็นแค่การยกหูโทรศัพท์ไปพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการกับเจ้าหน้าที่แรงงานบางคน แล้วก็ก็อ้างว่าได้รับการการอนุมัติแล้วจากเจ้าหน้าที่แรงงาน คงต้องลองไปเช็คด้วยตนเองเพื่อความมั่นใจดีกว่านะครับ

โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์


อัพเดทล่าสุด