ภาษี ของกิจการให้บริการนำเที่ยว MUSLIMTHAIPOST

 

ภาษี ของกิจการให้บริการนำเที่ยว


690 ผู้ชม


ภาษี ของกิจการให้บริการนำเที่ยว




ในแต่ละวันคนส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่กับหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบทั้งที่เป็นลูกจ้าง นายจ้าง เจ้าของกิจการ ทำงานหาเงินเพื่อหวังว่าในอนาคตข้างหน้าจะได้มีความสุขกายสบายใจ หากเรามัวแต่หมกมุ่นกับการทำงานมากเกินไปจนลืมเวลาที่จะพักผ่อน มีเงินมากก็อาจจะไม่มีประโยชน์อาจจะไม่มีโอกาสได้ใช้มัน เพราะไม่รู้จักพักผ่อนคลายเครียด
       
       การแบ่งเวลาในการทำงานกับการพักผ่อนจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่นักธุรกิจจะต้องคำนึงถึง เพราะเมื่อเราได้มีโอกาสได้พักผ่อนเมื่อกลับมาทำงานใหม่ก็จะมีความคิดใหม่ๆ ตามมาด้วย มีกำลังใจทำงานหนักได้มากขึ้น
       
        ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบท่องเที่ยวถ้ามีโอกาสไม่ว่าจะเดินทางไปเองหรือจะไปกับบริษัทที่ให้บริการจัดนำเที่ยวทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ หากผมมีเวลาว่างผมก็ใช้โอกาสนั้นทันทีอย่างไม่ลังเลใจไม่ว่าจะเที่ยวในหรือต่างประเทศก็ตาม
       
       การเดินทางของผมเองโดยส่วนใหญ่จะเดินทางไปเอง แต่ในบางครั้งก็อาจจะเดินทางกับบริษัททัวร์หรือบริษัทที่ให้บริการนำเที่ยว ข้อดี ก็คือ ไม่ยุ่งยากในการขอวีซ่า การตรวจคนเข้าเมือง การซื้อตั๋วเครื่องบิน รวมถึงอาหารการกินในระหว่างเดินทาง กิจการที่ให้บริการนำเที่ยวจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดแทนลูกค้า ที่ลูกค้าแต่ละรายจะต้องต้องจ่ายให้กับบริษัททัวร์ กิจการที่ทำธุรกิจให้บริการนำเที่ยวไปต่างประเทศย่อมต้องมีการเสียภาษีอากรเช่นเดียวกับกิจการอื่น
       
       ประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมีกรณีศึกษาที่น่าสนใจดังนี้ บริษัทแห่งหนึ่งประกอบธุรกิจให้บริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ โดยบริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการติดต่อให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งหมด ทั้งในส่วนที่ดำเนินการในประเทศไทยได้แก่ การซื้อตั๋วเครื่องบิน การขอวีซ่าผ่านเข้าประเทศ รวมทั้งการชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ
       
       ส่วนที่ดำเนินการในต่างประเทศ เช่น การจองโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร การซื้อค่าบัตรเข้าชมสถานที่ต่างๆ การติดต่อยานพาหนะเพื่อขนส่ง และมัคคุเทศก์ เป็นต้น ตัวอย่าง การจัดทัวร์ไปยุโรปให้กับลูกค้า 1 ราย โดยลูกค้าต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 70,000 บาท ซึ่งสามารถแยกรายการค่าใช้จ่ายที่ลูกค้าต้องจ่ายออกได้ดังนี้
       
       
ค่าขอวีซ่า (ไม่รวมค่าบริการ)
       
       บวกค่าภาษีสนามบินประเทศไทย 2,500 บาท
       
       ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน ค่าภาษีเชื้อเพลิง ภาษีสนามบินยุโรป 35,700 บาท
       
       ค่าใช้จ่ายต่างประเทศ 30,300 บาท
       
       (ค่าอาหาร โรงแรม ค่าบัตรเข้าชมสถานที่ต่างๆ ค่าขนส่ง และค่ามัคคุเทศก์)
       
       (เป็นรายได้ของบริษัทเอง)

       
       โดยลูกค้าจะต้องจองทัวร์ล่วงหน้าก่อนเดินทางออกจากประเทศไทยอย่างน้อย 30 วัน หลังจากนั้นบริษัทก็จะดำเนินการติดต่อต่างๆ ข้างต้น และจะแจ้งให้ลูกค้านำเงินมาชำระยอดรวมทั้งหมด 70,000 บาท ประมาณ 2 อาทิตย์ก่อนวันเดินทาง
       
       ทั้งนี้ สำหรับเงิน 68,500 บาท บริษัทจะได้นำไปเป็นค่าใช้จ่ายตามรายการที่ 1 - 3 ตามที่ต้องจ่ายจริงทั้งหมด โดยเฉพาะสำหรับค่าตั๋วเครื่องบินมานั้น ในการออกหลักฐานใบเสร็จการชำระเงินและใบกำกับภาษี บริษัทจะแจ้งให้บริษัทผู้ขายตั๋วเครื่องบินออกใบเสร็จค่าตั๋วเครื่องบินและใบกำกับภาษีโดยระบุชื่อลูกค้าเป็นผู้ซื้อตั๋ว และบริษัทจะส่งมอบใบเสร็จและใบกำกับภาษีดังกล่าวให้แก่ลูกค้า
       
       ดังนั้น ลูกค้าจึงสามารถทราบอย่างแน่นอนว่า ค่าตั๋วเครื่องบินนั้นมีราคาเท่าไร จากตัวอย่างข้างต้น มีเพียงค่าบริการ 1,500 บาท ตามรายการที่ 4 เท่านั้นที่เป็นรายได้ของบริษัท
       
       ภาระภาษีสำหรับการประกอบธุรกิจนำเที่ยวรับบริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศ (Out - Bound ) ในกรณีผู้ประกอบการคิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา (Package Tour ) และในกรณีผู้ประกอบการมิได้คิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้คิดค่าบริการนำเที่ยวเป็นการเหมา (Package Tour) หรือไม่ ให้พิจารณาสัญญาเป็นสาระสำคัญ กรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้น
       
       บริษัทคิดค่าตอบแทนจากการจัดนำเที่ยวแต่ละครั้ง ประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายทั้งส่วนที่แจกแจงรายละเอียดให้ลูกค้าทราบ และส่วนที่คิดค่าบริการเป็นการเหมา หากบริษัทมีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ค่าตอบแทนส่วนใดที่บริษัทมีการแจกแจงค่าใช้จ่ายให้แก่ลูกค้าทราบ โดยแยกรายละเอียดค่าใช้จ่ายชัดแจ้ง ซึ่งบริษัทอาจเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายแต่ละรายการจากลูกค้าล่วงหน้าเป็นจำนวนเฉพาะเท่ากับที่จะต้องจ่ายจริง หรืออาจทดลองจ่ายเงินค่าใช้จ่ายนั้นไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บคืนจากลูกค้าเป็นจำนวนเท่ากับที่ต้องจ่ายไปจริง
       
       เช่น ค่าตั๋วเครื่องบินที่เรียกเก็บจากลูกค้าเท่ากับที่ต้องจ่ายจริง โดยให้ผู้ประกอบการขายตั๋วเครื่องบินออกหลักฐานและใบกำกับภาษีเป็นชื่อของลูกค้า และบริษัทได้ส่งมอบเอกสารดังกล่าวให้แก่ลูกค้า เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ซึ่งบริษัทเรียกเก็บล่วงหน้าหรือเรียกเก็บคืนจากลูกค้าเท่ากับจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง จึงไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
       
       สำหรับค่าบริการส่วนอื่นที่มีลักษณะเป็นการเหมาซึ่งไม่สามารถแจกแจงรายละเอียดให้ลูกค้าทราบได้ว่าเป็นค่าอะไร จำนวนเท่าใด และไม่มีหลักฐานการจ่ายมาแสดง ค่าบริการส่วนอื่นดังกล่าวที่บริษัทฯเรียกเก็บจากลูกค้าต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร
       
        กิจการนำเที่ยวที่พาลูกค้าไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศกำลังเติบโต เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นทำให้หลายคนบินไปท่องเที่ยวต่างประเทศกันมาก กิจการให้บริการนำเที่ยวจึงต้องจัดทำเอกสารหลักฐานให้ชัดเจนเพื่อลดข้อโตแย้งของเจ้าพนักงานประเมินและเสียภาษีให้ครบถ้วน

 

ที่มา : ผู้จัดการรายสัปดาห์

อัพเดทล่าสุด