https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉิน กับ สารเคมี MUSLIMTHAIPOST

 

แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉิน กับ สารเคมี


883 ผู้ชม


แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉิน กับ สารเคมี




เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นภายในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายอาจมีผลกระทบ
ต่อผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อม ประชาชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง และการสูญเสียทรัพย์สิน เช่น
การเกิดเพลิงไหม้สารเคมี สารเคมีเหล่านี้อาจเป็นพิษก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนแก่ผู้อาศัยในบริเวณ
ใกล้เคียง ในขณะเดียวกันน้ำที่ใช้ดับเพลิงแล้ว อาจไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้เกิดปัญหามลภาวะ
ต่อแหล่งน้ำได้อีกด้วย แต่ถ้าหากมีการป้องกัน ตรวจสอบ และมีการเตรียมการที่ดีในการ
รับสถานการณ์เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน จะสามารถระงับหรือลดขนาดของการสูญเสียชีวิตและ
ทรัพย์สินได้ วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินก็เพื่อที่จะควบคุมหรือกำจัด
เหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น และกำหนดขั้นตอนในการระงับอุบัติภัย รวมถึงการลดผลกระทบอันเนื่องมาจาก
เหตุฉุกเฉินที่มีต่อสุขภาพ ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อชุมชนและขบวนการผลิต ในการ
จัดทำแผนฉุกเฉินจะยึดตามภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งได้แก่ การเกิดอัคคีภัยและการหกรั่วไหลของสารเคมี

แผนปฏิบัติในกรณีเกิดเหตุไฟไหม้
จากข้อมูลของการสำรวจเบื้องต้นทั้งหมดจะนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาทางปฏิบัติให้เหมาะสมกับแต่ละสถานที่ เพราะในรายละเอียดสถานที่แต่ละอาจมีวิธีปฏิบัติไม่เหมือนกันทุกแห่ง
แต่แนวปฏิบัติโดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกัน เช่น


1. เมื่อมีผู้พบเห็นเหตุการณ์ ต้องดำเนินการดังนี้
- ผู้พบเห็นใช้สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือวิธีการใดที่รวดเร็วชัดเจน เพื่อให้
ผู้อยู่ในอาคารทราบและแจ้งพนักงานดับเพลิง
- พยายามใช้เครื่องดับเพลิงขนาดเล็กหรืออุปกรณ์อื่นเท่าที่มี เพื่อดับเพลิงทันที

2. บุคคลในสถานที่เกิดเหตุ
- พนักงานผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดับเพลิง ต้องรีบออกจากสถานที่ทำงานของตนโดยเร็ว ตามแผนผังการหนีไฟของโรงงานและไปรวมกัน ณ จุดรวมพล เพื่อตรวจนับจำนวนพนักงาน
- ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายทำการตรวจนับจำนวนพนักงาน เพื่อตรวจสอบว่ายังมีพนักงานติดอยู่ภายในหรือไม่เพื่อดำเนินการช่วยเหลือต่อไป
- ให้พนักงานรักษาความปลอดภัย ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่
หน่วยดับเพลิงจากภายนอกที่มาทำการช่วยเหลือในการดับเพลิง เช่น ชี้นำไปยังสถานที่เกิดเหตุ หรือนำไปยังสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงของโรงงาน
- ให้พนักงานที่ได้รับมอบหมายในการปฐมพยาบาลคอยช่วยเหลือในการ
ปฐมพยาบาลหรือส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บไปยังสถานพยาบาลได้อย่างปลอดภัย
- ให้พนักงานรักษาความปลอดภัย คอยดูแลไม่ให้บุคคลภายนอก ซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุเพลิงไหม้เข้ามาภายในบริเวณเพลิงไหม้
ภายหลังเกิดเหตุให้หัวหน้าหน่วยงานของแผนกที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ทำการสำรวจ
ความเสียหายและรายงานต่อผู้บริหาร

3. การอพยพ
กรณีที่เกิดอุบัติภัยร้ายแรง เช่น เพลิงไหม้โกดัง ถังเก็บเคมีภัณฑ์ระเบิด หรือมี
ไอเคมีไวไฟจำนวนมาก หัวหน้าควรออกคำสั่งให้พนักงานทุกคนออกจากพื้นที่บริเวณโรงงาน
อย่างระมัดระวัง โดยปฏิบัติตามแผนอพยพ
ในระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือผู้ประสานงานเหตุฉุกเฉินจะรวบรวมและประเมินข้อมูลข่าวสาร จัดเตรียมเอกสารแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ ขอความเห็นชอบในเรื่องของข่าว และออกแถลงการณ์แจ้งให้พนักงาน สาธารณชน และสื่อมวลชนทราบ
ส่วนผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะเป็นผู้แถลงข่าวแก่สื่อมวลชน

แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินเพราะกลุ่มสารเคมี
แผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินเฉพาะกลุ่มของสารเคมีต่อไปนี้ เป็นการจำแนกสารเคมีที่มี
คุณสมบัติคล้ายคลึงกันไว้ในหมวดเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการควบคุม การจัดเก็บ การระงับ
อุบัติภัย กรณีเกิดอัคคีภัยหรือการหก รั่วไหลของสารอันตราย รวมถึงการปฐมพยาบาลพนักงานจากการได้รับสารดังกล่าว ซึ่งโดยทั่วไปตามหลักการเก็บกักสารเคมีที่ดีนั้น ควรจะต้องมีการแยกเก็บสารเคมีที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน ในที่นี้จะได้จำแนกกลุ่มของสารเคมีออกเป็น 52 กลุ่ม เช่น ก๊าซไวไฟสูง ก๊าซพิษ ของเหลวไวไฟสูง ของแข็งไวไฟ สารที่ติดไฟได้เอง ฯลฯ
แนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้นี้ เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติสำหรับสารกลุ่มนั้นๆ สำหรับ
รายละเอียดของสารแต่ละชนิด จำเป็นที่จะต้องศึกษาจากข้อมูลความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมี MSDS เพิ่มเติม
ในการปฏิบัติเมื่อเกิดการหกรั่วไหลของสารเคมีควรนำปัจจัยเหล่านี้มาพิจารณาร่วมด้วย เช่น

- ชนิดหรือประเภทของสารอันตราย
- ขนาดหรือปริมาณเมื่อเกิดการรั่วไหล
- ลักษณะการรั่วไหล เป็นการรั่วไหลจากภาชนะบรรจุประเภทใด เช่น ถังเก็บขนาดใหญ่ หีบห่อ ท่อส่ง ฯลฯ
- ความเป็นพิษของสารอันตราย สถานประกอบการมีข้อมูลเกี่ยวกับสารอันตรายหรือไม่

ซึ่งการระงับเหตุฉุกเฉินโดยไม่ทราบข้อมูล อาจก่อให้เกิดอันตรายที่รุนแรงยิ่งขึ้น
ดังนั้น ผู้ประสบเหตุกรณีหกหรือรั่วไหลของสารเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปฏิบัติงานในอาคารเก็บสารเคมี จำเป็นต้องทราบและปฏิบัติตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้


1. สัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่พนักงานพบสารเคมีหกหรือรั่วไหล ได้กลิ่นสารเคมี หรือพบกลุ่มไอจากสารอันตราย พนักงานดังกล่าวจะต้อง :-
- กดสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน
- จะต้องแจ้งให้ศูนย์ควบคุมเหตุฉุกเฉิน หรือผู้ควบคุมเหตุฉุกเฉินทราบทันที
- ถ้าไม่ทราบวิธีควบคุม หรือแก้ไขเหตุฉุกเฉิน จะต้องรีบออกไปให้พ้นจากอาคารเก็บสารเคมี
- ถ้าพนักงานดังกล่าวเคยผ่านการฝึกซ้อมควบคุมเหตุฉุกเฉินมาก่อน จะต้องดำเนินการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และปฏิบัติตามแนวทางในการปฏิบัติสำหรับสารนั้นๆ


2. กำหนดเขตพื้นที่ที่ปลอดภัย กำหนดเขตอันตราย โดยแยกกั้นบริเวณที่มีการหกหรือรั่วไหลทันที ส่วนระยะที่แยกกั้นนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของสารอันตราย โดยทั่วไปกำหนดให้มีการแยกกั้นบริเวณที่มีการหกหรือรั่วไหล อย่างน้อย 25-52 เมตร โดยรอบ และทำการอพยพบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยซึ่งได้จัดเตรียมไว้

3. ให้ปฏิบัติต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นด้วยความระมัดระวัง ห้ามเข้าปฏิบัติการ ในกรณีที่ยังไม่ทราบข้อมูลใดๆ เป็นอันขาด ให้เข้าไปยังจุดเกิดเหตุทางเหนือลม เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสไอระเหยของสารนั้น ให้ระลึกอยู่เสมอว่าไอระเหยหรือก๊าซต่างๆ ไม่มีกลิ่น สี และหนักกว่าอากาศ อาจสะสมอยู่พื้นล่างของบริเวณนั้น


4. พิสูจน์ทราบวัตถุอันตราย โดยพิจารณาว่า สารอันตรายที่หกและรั่วไหลนั้นเป็นสารชนิดใด ซึ่งอาจดูได้จากทะเบียนการเก็บกักสารเคมีในอาคาร ตำแหน่งที่มีการหกรั่วไหล รวมถึงประเภทของภาชนะที่ใช้บรรจุสารนั้นๆ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับสารนั้นให้ดูจากข้อมูลความปลอดภัย (MSDS)

5. ประเมินความรุนแรงของเหตุฉุกเฉิน ผู้รับผิดชอบ เช่น ผู้ควบคุมเหตุฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย คณะกรรมการ
ความปลอดภัย รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะต้องประเมินสถานการณ์ของเหตุฉุกเฉินทันทีว่ามี
ความรุนแรงเพียงใด เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเหตุฉุกเฉินได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้จะต้องตัดสินใจ
ขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินความรุนแรงของ
เหตุฉุกเฉิน ได้แก่
- สารดังกล่าวติดไฟ หรือมีสิ่งที่ก่อให้เกิดการติดไฟในบริเวณนั้นหรือไม่
- ปริมาณการหกรั่วไหลของสารนั้น
- อุปกรณ์ในการควบคุมการหก หรือรั่วไหล มีเพียงพอหรือไม่
- อุปกรณ์ในการผจญเพลิง
- อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล มีเพียงพอสำหรับทีมปฏิบัติการที่เข้าไปยังบริเวณที่เกิดเหตุหรือไม่
- สารที่หก หรือรั่วไหลเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรืออาจเกิดระเบิดได้หรือไม่
- มีอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาล ที่จะช่วยเหลือผู้ได้รับอันตรายจากสารอันตรายหรือไม่

6. การเข้าดำเนินการระงับเหตุฉุกเฉิน ภายหลังจากที่ได้อพยพพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากบริเวรที่หก รั่วไหลแล้ว ทีมปฏิบัติการควบคุมเหตุฉุกเฉิน อาจจำเป็นต้องเข้าไประงับเหตุฉุกเฉินที่แหล่งกำเนิด
เช่นอุดรอยรั่ว ดูดซับสารที่หก ปิดคลุมสารอันตราย ฯลฯ ประเด็นที่ต้องพิจารณาสำหรับ
ทีมปฏิบัติการควบคุมเหตุฉุกเฉิน ได้แก่
- มีการฝึกซ้อมระงับเหตุฉุกเฉินกรณีหก หรือรั่วไหลเป็นประจำหรือไม่
- พนักงานสามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องหรือไม่
- จะต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง เช่น ต้องยืนอยู่เหนือลม พยายามไม่อยู่ใน
ที่ที่ต่ำ เพราะสารอันตรายบางชนิดหนักกว่าอากาศและจะสะสมอยู่ในปริมาณมาก
- ควรระบายอากาศก่อนเข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณที่หก รั่วไหล
- ปฏิบัติตามข้อมูลเคมีภัณฑ์ สำหรับสารอันตรายชนิดนั้นๆ อย่างเคร่งครัดในการควบคุมการหก รั่วไหล

7. การดำเนินการภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน
- สวบสวนถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติภัยดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันต่อไป
- สำรวจความเสียหาย ทั้งที่เกิดต่อบุคคล ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม
- ประเมินประสิทธิภาพของมาตรการป้องกัน และควบคุมเหตุฉุกเฉินที่ใช้อยู่
- ประเมินประสิทธิภาพของทีมปฏิบัติการฉุกเฉิน เพื่อปรับปรุงแผนปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพ

ที่มา : moodythai.com


อัพเดทล่าสุด