กระบวนการพัฒนาระบบความสามารถเชิงสมรรถนะในองค์กร MUSLIMTHAIPOST

 

กระบวนการพัฒนาระบบความสามารถเชิงสมรรถนะในองค์กร


616 ผู้ชม


กระบวนการพัฒนาระบบความสามารถเชิงสมรรถนะในองค์กร




กระบวนการพัฒนาระบบความสามารถเชิงสมรรถนะในองค์กร

 

 

 

การพัฒนาความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competency Development) ในองค์กร ขั้นตอน คือ การพัฒนาแผนการจัดการทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ (Strategic Human Resource Management Roadmap), การพัฒนาความสามารถเชิงสมรรนถะหลักและเทคนิค (Core and Technical Competencies), การจัดเทียบกับหน่วยงานและตำแหน่งงาน (Mapping Competencies), การจัดทำพจนานุกรม (Competency Dictionary) การประเมินระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล (Competency Based HRM)  รายละเอียดแต่ละขั้นจะกล่าวในบทต่อไป

ภาพ : กระบวนการพัฒนาความสามารถเชิงสมรรถนะในองค์กร

ขั้นที่ 1 (Phase 1): การพัฒนาแผนการจัดการทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ (Strategic Human Resource Management Roadmap) เป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาระบบการบริหารขีดความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competency – Based Approach) เพราะว่า เป็นการจัดทำพื้นฐาน และภาพรวมการบริหารทรัพยากรบุคคลในทุกมิติไม่ว่าจะเป็นด้านความสามารถเชิงสมรรถนะ หรือด้านระบบบริหารทรัพยากรบุคคล
ขั้นที่ 2 (Phase 2): การพัฒนาระบบความสามารถเชิงสมรรถนะหลัก (Core Competencies)  และความสามารถเชิงสมรรถนะด้านเทคนิค (Technical Competencies)  หมายถึง การพัฒนาขีดความสามารถที่องค์การต้องการ และกำหนดเป็นมาตรฐานในแต่ละตำแหน่ง ซึ่งจะเป็นขีดความสามารถหลัก ที่ทุกตำแหน่งงานในองค์กรต้องมี แต่จะมากหรือน้อยขั้นอยู่กับททบาท และความรับผิดชอบของตำแหน่งนั้นๆ ในขณะเดียวกัน แต่ละตำแหน่ง ก็ยังถูกกำกับด้วยขีดความสามารถด้านเทคนิค ซึ่งจะเป็นขีดความสามารถเฉพาะตำแหน่ง คือ การวิเคราะห์เชิงปริมาณด้านวิศวกรรม เป็นต้น
ขั้นที่ 3 (Phase 3): การจัดเทียบความสามารถเชิงสมรรถนะ / การจัดทำพจนานุกรม (Competency Mapping and Dictionary) หมายถึง การนำขีดความสามารถที่องค์กรกำหนดมาจัดเทียบกับแต่ละตำแหน่งแล้วพิจารณาว่า แต่ละตำแหน่งควรจะมีระดับความสามารถมาตรฐานเท่าไร โดยปกติก็จะมีการจัดเทียบระหว่างหน่วยงาน และภายในหน่วยงาน รวมไปถึงจะต้องมีการจัดทำพจนานุกรม (Dictionary)  ด้วย เพื่อจัดหมวดหมู่ความสามารถเชิงสมรรถนะ และเป็นมารฐานกลางให้บุคลากรรับรู้ด้วย
ขั้นที่ 4 (Phase 4): การประเมินความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competency Assessment)  หรืออาจเรียกว่า Gap  Analysis  หมายถึง การประเมินขีดความสามารถของบุคลากรเทียบกับมาตรฐานความสามารถของตำแหน่งว่าบุคลากรผู้นั้นมีความสามารถได้ตามมาตรฐาน ต่ำกว่า หรือสูงกว่า เพื่อที่จะนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในเชิงการพัฒนาบุคลากร เป็นต้น
ขั้นที่ 5 (Phase 5): การบริหารทรัพยากรบุคคลโดยอิงความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competency – Based Human Resource Management)  เป็นขั้นตอนของการนำข้อมูลด้านความสามารถเชิงสมรรถนะมาประยุกต์ใช้กับการบริหารทรัพยากรบุคคลในแต่ละด้าน เช่น การสรรหา  ว่าจ้าง การประเมินผลการปฏิบัติงาน การจ่ายค่าตอบแทนและการฝึกอบรม และพัฒนา เป็นต้น

อ้างอิง :  การพัฒนาความสามารถเชิงสมรรถนะ
โดย : ดร. เกริกเกียรติ  ศรีเสริมโภค  Ph.D.

อัพเดทล่าสุด