https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
Analytical Thinking (ความคิดเชิงวิเคราะห์) MUSLIMTHAIPOST

 

Analytical Thinking (ความคิดเชิงวิเคราะห์)


1,156 ผู้ชม


Analytical Thinking (ความคิดเชิงวิเคราะห์)




Analytical   Thinking (ความคิดเชิงวิเคราะห์)

      ความหมาย  :    ความเข้าใจที่มา   สาเหตุ   และผลกระทบที่เกิดขึ้นของข้อมูลหรือสถานการณ์ต่างๆ   ได้อย่าง

                               เป็นระบบ   รวมทั้งการเชื่อมโยงบุคคล   เวลา  สถานที่   และเหตุการณ์ต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องได้

                               อย่างถูกต้อง

ระดับ

ลักษณะพฤติกรรม

1

 ·    วิเคราะห์ข้อมูลยังใช้ความรู้สึกมากกว่าข้อมูลข้อเท็จจริง

 ·    ขาดหลักการหรือเหตุผลสนับสนุนในการวิเคราะห์ข้อมูล

 ·    ไม่สามารถชี้ให้เห็นถึงที่มาและสาเหตุของปัญหาได้

 ·     วิเคราะห์ข้อมูลเกิดความผิดพลาดบ่อยครั้ง

2

 ·    เข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 ·    ระบุความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นต่างๆ ยังไม่ชัดเจน

 ·    ใช้หลักการและทฤษฎีต่างๆ  มาสนับสนุนข้อมูลที่วิเคราะห์

 ·     วิเคราะห์ข้อมูลมีข้อผิดพลาดบ้างเป็นบางครั้ง  ซึ่งต้องได้รับแนวทางและข้อเสนอแนะจาก

        หัวหน้างาน

3

 ·    จัดลำดับความสำคัญของงานได้อย่างเหมาะสม

 ·    แยกแยะประเด็นหลักและประเด็นรองออกจากกันได้อย่างชัดเจน

 ·    ใช้ประสบการณ์ต่างๆ  ที่ได้รับมาสนับสนุนข้อมูลที่วิเคราะห์

 ·     วิเคราะห์ข้อมูลมีข้อผิดพลาดบ้างเป็นบางครั้ง  แต่สามารถหาเหตุผลและปัญหาที่เกิดขึ้นได้

       ด้วยตนเอง

4

 ·    วิเคราะห์เชื่อมโยงระหว่างระบบงาน  หรือกิจกรรมที่แตกต่างกันได้

 ·    ระบุกระบวนการและขั้นตอนการทำงานจากระบบใหญ่สู่ระบบย่อยๆ ได้

 ·    ระบุปัญหาและผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการทำงานที่ผิดพลาด

 ·    นำข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อมมาสนับสนุนข้อมูลที่วิเคราะห์

 ·    ข้อมูลที่วิเคราะห์มีความถูกต้องแม่นยำมาก

5

 ·    วิเคราะห์เหตุการณ์ในอดีต  ปัจจุบันและอนาคต ( พยากรณ์แนวโน้ม) ได้

 ·    วิเคราะห์ตามหลักของเหตุผลบนพื้นฐานของข้อมูลที่ไม่เพียงพอได้ถูกต้อง

 ·    อ้างอิงบุคคล  เวลา  สถานที่  และเหตุการณ์ต่างๆ ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างชัดเจน

 ·    ระบุแนวทางเลือกและวิเคราะห์หาแนวทางเลือกที่เหมาะสมได้ถูกต้อง

อัพเดทล่าสุด