https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
บทนิยามของคำว่า “Compentency” ที่ HR ควรรู้ MUSLIMTHAIPOST

 

บทนิยามของคำว่า “Compentency” ที่ HR ควรรู้


608 ผู้ชม


บทนิยามของคำว่า “Compentency” ที่ HR ควรรู้




        เป็นศัพท์ที่ฮิต ติดปากกันไปแล้วสำหรับการบริหารจัดการในบ้านเรา ในเรื่องง่ายๆ แต่เดิมที่เรียกขานกันมานานว่า “ความสามารถ” ทำให้หลายๆท่านเกิดความสับสนกันอย่างมาก อาทิ

        1. ความสามารถ  จะหมายถึงสิ่งเดียวกับสมรรถภาพ ซึ่งในความเป็นจริง Competence / Compentencies (ความสามารถ) จะไม่ใช่สิ่งเดียวกับสมรรถภาพ (Copabilities)

Thomas B. Wilsn (2003 :45 ) อธิบายว่า สมรรถภาพ เป็นอะไรที่องค์กรต้องการมีเพื่อปฏิบัติการทางกลยุทธ์  ซึ่งสมรรถภาพนี้จะรวมเทคโนโลยี ระบบการจำหน่ายหรือสถานที่ ภาพลักษณ์และการเป็นตัวแทนทรัพยากรทุนต่างๆและคน

และสมรรถภาพนี้ถ้าพิจารณาใน ความเก่งของคน (Human Talent)  จะเป็นทักษะวิชาชีพ (Technical Skill) ที่รวมคุณลักษณะที่ต้องการ สไตล์ ระดับทักษะ ศักยภาพในการเรียนรู้และความสามารถที่จำเป็นต่อความสำเร็จ

        2. ความสามารถที่คิดว่าเป็นพฤติกรรมในความเข้าใจของนักจิตวิทยาแล้วแท้จริงเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง

Michael Armstrong and Helen Murlis ( 2001:299)  บอกไว้ชัดเจนว่า “เราสนใจพฤติกรรมซึ่งผลักให้เกิดผลงาน ไม่ใช่ตัวพฤติกรรมเอง”

        3.  นิยาม ความหมาย ของคำว่า “ความสามารถ” ที่ใช้ๆกันอยู่ คือ ความรู้ (K)  ทักษะ(S)  และทัศนคติ (A)  ซึ่งในความจริง แล้วทำให้เข้าใจผิดค่อนข้างมาก

บทนิยามของคำว่า “Compentency” ที่ HR ควรรู้

ภาพ : วิวัฒนาการแนวคิดเรื่องความสามารถ

แนวคิดทางจิตวิทยา สามารถสรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ

        ความสามารถที่มาจากคำว่า Ability นั้นจะสนใจในสิ่งต่อไปนี้

  1. ความสามารถในการเรียนรู้ที่จะปฏิบัติงาน
  2. ความสามารถในการปฏิบัติงาน
  3. ความเหมาะสมในการปฏิบัติงาน

        ต่อมาเมื่อมีวิธีวิทยาการด้านการวัดผลและประเมินผล (Measurement & Evaluation Methodology) ได้พัฒนาแตกแขนงเป็นศาสตร์ใหม่แยกออกจากวิชาหรือศาสตร์ด้านจิตวิทยาและได้พัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการวัดผลและการประเมินที่มีมิติกว้างครอบคลุมทั้งคนและองค์กร

จึงเป็นมิติในการมองความสามารถที่มาจากคำว่า Ability ในทางจิตวิทยาไปสู่คำใหม่ที่ลึกซึ้งกว่าคือ “ศักยภาพ” หรือ “Potential” หมายความว่า ความสนใจใน “พฤติกรรม” (Bahavior) ได้ถูกแปลไปเป็นสิ่งที่เป็น “ผลมาจากพฤติกรรม” ไม่ใช่สนใจที่ “ตัวพฤติกรรม” แนวคิดทางการวัดผลและการประเมินจึงมุ่งสนใจ

  1. ขีดความสามารถในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
  2. สิ่งที่อยู่ในตัวบุคคลแล้วผลักดันให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิภาพ

ต่อมาในช่วงปี 1994 เริ่มมีการพูดคุยในสิ่งที่เรียกว่า “ อะไรคือสิ่งที่ทำให้กลยุทธ์ ของธุรกิจประสบความสำเร็จ” นั่นคือที่มาของ “ความสามารถหลักของธุรกิจ” Core Competencies

แนวคิดสำคัญ ของ “ความสามรถหลักของธุรกิจ” คือ

        1.     สมรรถภาพ ความรู้ ทักษะ เทคโนโลยี ฯลฯ ความเชี่ยวชาญอื่นๆ

        2.     ความเก่ง/เชี่ยวชาญ

        3.     สมรรถภาพขององค์กรที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

สรุป ความสามารถ (Competency)  สนใจ ผลที่เกิด มากกว่าพฤติกรรม ผลกระทบ มากกว่าปัจจัยนำเข้า  ความสามารถเกี่ยวกับผลงาน เมื่อเพิ่มความสามารถ สิ่งที่เพิ่มขึ้นนี้จะได้รับรางวัลถ้านำไปสู่ระดับการสร้างผลงานที่สูงขึ้น

อ้างอิง  :  เอกสาร คุณดนัย เทียนพุฒ

อัพเดทล่าสุด