https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การรับมือกับผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานแย่ MUSLIMTHAIPOST

 

การรับมือกับผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานแย่


725 ผู้ชม


การรับมือกับผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานแย่




“A mistake is to commit a misunderstanding.”
Bob Dylan
ความผิดพลาดที่ 1 ใช้วิธีการลงโทษมากกว่าแก้ไข
ผู้จัดการหลายคนชอบใช้ “กระบวนการลงโทษ” ในการรับมือกับ ผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานแย่ เพราะเชื่อว่าการใช้กฎข้อบังคับ / ระเบียบวินัย ที่เข้มงวด (เช่น มาสาย 3 ครั้งโดนหักเงินเดือน) จะควบคุมพนักงานได้ และพนักงานที่ถูกบีบบังคับแบบนี้จะลาออกไปเองในที่สุด แต่ในความ เป็นจริงแล้วพนักงานที่ได้รับการปฏิบัติเช่นนี้มักตอบโต้กลับ ซึ่งอาจทำ ให้มันยากที่หาทางออกแบบพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่ายได้ในภายหลัง ซึ่ง ทางที่ดีผู้จัดการควรหาวิธีช่วยให้พนักงานคนนั้นเอาชนะข้อบกพร่องหรือ ปัญหาในการทำงานของเขา เพื่อให้เขาเป็นพนักงานที่มีประสิทธิผล มากขึ้น ก่อนที่จะใช้มาตรการขั้นรุนแรงกับพนักงานคนนั้น
ความผิดพลาดที่ 2 ทึกทักเอาเองว่าพนักงานที่มี ผลการปฏิบัติงานไม่ดีจะลาออกไปเอง โดยที่ บริษัทไม่ต้องทำอะไร
มีผู้จัดการจำนวนไม่น้อยที่เชื่อว่าผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานแย่จะ ลาออกจากบริษัทไปเองเมื่อถึงเวลาหนึ่ง และบางครั้งผู้จัดการก็กลัวว่า มันจะทำร้ายความรู้สึกพนักงานคนนั้น ถ้าเขาบอกพนักงานว่าเขา / เธอ มีข้อบกพร่อง ดังนั้นถ้าคุณมีความคิดแบบนี้ก็เปลี่ยนความคิดได้แล้ว เพราะสิ่งสำคัญสุดที่คุณควรทำในฐานะผู้จัดการคือ ช่วยให้พนักงานหา ข้อสรุปว่าพวกเขาควรจะก้าวไปข้างหน้าด้วยการแก้ไขสถานการณ์นั้น หรือจะเลือกเดินทางอื่นที่เหมาะสมกับเขามากกว่า
“ผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานแย่” ส่วนใหญ่สมัครใจที่จะลาออกไป ถ้า ผู้จัดการช่วยใหพนักงานเข้าใจว่าเขาอาจไม่เหมาะกับงานที่เขากำลังทำ (การที่เขาจะทำงานได้ไม่ดี ไม่ได้หมายความว่าเขาเป็นคนไม่ดี ที่คุณต้อง ใช้ไม้แข็งกับเขา) ดังนั้นคุณจึงควรบอกเขาไปตรงๆ ว่าเขาจำเป็นต้อง เปลี่ยนแปลงแก้ไขสถานการณ์ของตนเอง
ความผิดพลาดที่ 3 ไม่พยายามเข้าใจพนักงาน
อุปนิสัยในการ “พยายามเข้าใจผู้อื่น แทนที่จะให้ผู้อื่นมาเข้าใจ เรา” เป็นหนึ่งในอุปนิสัยที่ Stephen Covey ระบุไว้ในหนังสือ “The Seven Habits of Highly Effective People” ที่เราสามารถนำมาใช้ในการรับมือ กับพนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานแย่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผู้จัดการ ส่วนใหญ่มักไม่ให้พนักงานได้มีโอกาสพูดแสดงความรู้สึกของตนอย่าง เต็มที่ เพราะคิดว่าพนักงานจะถือโอกาสต่อรองถ้าปล่อยให้พนักงานได้ ทำอย่างนั้น
แต่การไม่เปิดโอกาสให้พนักงานได้พูดแสดงความรู้สึกความคิด เห็น กลับอาจทำให้ผู้จัดการไม่เห็นข้อมูลสำคัญที่พนักงานอยากให้ผู้จัด การรู้ ทั้งนี้การสื่อสารที่ดีจะทำให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจปัญหาได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
จากหนังสือ "กะเทาะระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน"

ที่มา : bloggang.com


อัพเดทล่าสุด