https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานใหม่ MUSLIMTHAIPOST

 

ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานใหม่


628 ผู้ชม


ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานใหม่




ควรวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งนั้น โดยใช้มาตรฐานเดียวกับพนักงานที

ควรวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งนั้น โดยใช้มาตรฐานเดียวกับพนักงานที่ทำงานในตำแหน่งนั้นมานานแล้วหรือไม่?
ควรอย่างยิ่ง
เอาล่ะคนที่ใหม่ต่อตำแหน่งงานใดๆ ก็ตาม ส่วนใหญ่จะไม่สามารถทำงานที่ว่าได้ดีเท่ากับคนที่ทำงานนั้นมา 2 - 3 ปีแล้ว แต่ถ้าผู้จัดการพยายามชดเชยประสบการณ์ส่วนที่ขาดไปของพนักงานใหม่ ด้วยการให้คะแนนในการประเมินสูงเกินความเป็นจริง
บ่อยครั้งที่ผู้จัดการมักจะใจอ่อนและทำให้ผลการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังนั้นกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ (ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น พนักงานยังขาดประสบการณ์) แต่ว่าการประเมินพนักงานสูงกว่าที่ควรจะเป็นเพราะว่าพนักงานยังไม่คุ้นกับงานนั้น
มักเป็นสิ่งที่ผิดพลาดและนำไปสู่ความเสียหายอื่นๆ ในอนาคต
ตัวอย่างเช่น ถึงแม้พนักงานจะรู้ตัวว่าผลการปฏิบัติงานของ ตนเองนั้นยังไม่ถึงระดับที่น่าพอใจ แต่ถ้าผู้จัดการประเมินว่าผลการปฏิบัติงานของเขาอยู่ในระดับที่น่าพอใจ พนักงานก็จะคิดว่าผู้จัดการของเขามีมาตรฐานในการทำงานที่ต่ำ นอกจากนี้ถึงแม้ผู้จัดการจะพยายามให้เหตุผลประกอบการประเมินว่า เขามั่นใจว่าทันทีที่ลูกน้องมีประสบการณ์มากขึ้น ผลการปฏิบัติงานของลูกน้องก็จะดีขึ้นจนถึงระดับที่น่าพอใจ แต่พนักงานคนนั้นก็อาจยังเชื่อว่าในอนาคตเจ้านายคนนี้คงจะหาข้อแก้ต่างให้ตนเมื่อเกิดปัญหาอื่นด้วย
และที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ ถ้าพนักงานเชื่อถือในการประเมินของผู้จัดการ ที่บอกว่าผลการปฏิบัติงานของเขาอยู่ในระดับที่น่าพอใจ (ทั้งที่จริงๆ แล้วมันยังไม่น่าพอใจ) มันก็เท่ากับว่าผู้จัดการกำลังให้สิ่งรั้ง (ไม่ใช่สิ่งเร้า) แก่พนักงานอันจะทำให้พนักงานคนนั้นไม่มีการปรับปรุงการทำงานของตน
เคล็ดลับ
แบบประเมินฯ ส่วนใหญ่จะมีทั้งส่วนที่เป็นการให้ค่าคะแนน/ ค่าการประเมิน และส่วนที่เป็นความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้ประเมิน ซึ่งส่วนนี้แหล่ะที่ผู้จัดการควรใช้เพื่ออธิบายเกี่ยวกับผลการปฏิบัติของพนักงาน ตัวอย่างเช่น “แม้ว่าสมรจะเพิ่งทำงานในตำแหน่งนี้ได้เพียง 4 เดือน เธอก็สามารถปฏิบัติงานได้ในระดับที่คนส่วนใหญ่ที่มีประสบการณ์นานเท่านี้คงไม่สามารถทำได้ ถึงแม้ว่าคะแนนผลการปฏิบัติงานของเธอจะแสดงว่าเธอยังไม่มีความเชี่ยวชาญในงานนัก แต่ความพยายามและผลงานของเธอในปัจจุบันก็ชี้ให้เห็นว่าเธอจะทำงานได้ถึงระดับที่น่าพอใจในไม่ช้า”
จากหนังสือ “กะเทาะระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน”
โดย ยุดา รักไทย

 ที่มา : bloggang.com


อัพเดทล่าสุด