https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กรณีองค์กรตัวอย่างการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ (Case Study) MUSLIMTHAIPOST

 

กรณีองค์กรตัวอย่างการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ (Case Study)


2,043 ผู้ชม


กรณีองค์กรตัวอย่างการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ (Case Study)




กรณีองค์กรตัวอย่างการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ (Case Study)

     บริษัทฯ ผลิตและจำหน่ายอาหารเสริม เพื่อบำรุงสุขภาพแห่งหนึ่งในเมือไทย มีเป้าหมายที่จะขยายฐานการตลาด ในเขตเอเชียแปซิฟิก โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องเป็นอันดับ 1 ใน  5 ของบริษัทฯ ชั้นนำด้านอาหารเสริม เพื่อบำรุงสุขภาพในเอเชีย – แปซิฟิก

       

        ดังนั้น กลยุทธ์หลักของบริษัทฯ ก็คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า โดยมุ่งสู่เป้าหมาย Excellent Performance  นั้นก็หมายความว่า บริษัทฯ จะต้องมีการกำหนด Market Segment  ที่ชัดเจน รวมไปถึงการพัฒนาด้าน วิจัยและพัฒนา (R&D)  ให้เป็นสถาบันที่ยอมรับในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริษัทฯ คาดหวังสูงสุดก็คือ การพัฒนาบุคลากรให้เข้าสู่ระดับมาตรฐานของ Employee Capability Standard (ECS)  การเริ่มต้นของบริษัทฯ ที่จะนำไปสู่เป้าหมาย Excellent Performance ก็คือ การกำหนดแผนที่ การบริหารทรัพยากร บุคคลเชิงกลยุทธ์ (Strategic HRM Road Map) ซึ่งถือว่า เป็นกระบวนการสำคัญที่จะบริหารทรัพยากรบุคคลให้เป็นไปตาม ความต้องการของธุรกิจ (The Business-Need)

     บริษัทฯ ได้มุ่งเน้นการพัฒนามาตรฐาน ความสามารถเชิงสมรรถนะของพนักงานโดยมีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ความสามารถเชิงสมรรถนะ ด้านการจัดการ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการวางแผน การบริหาร การเปลี่ยนแปลง เป็นต้น  ในด้านต่อมาคือความสามารถเชิงสมรรถนะ ด้านทั่วไป ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม เป็นต้น ส่วนด้านสุดท้าย คือ ความสามารถเชิงสมรรถนะด้านเทคนิค หมายถึง ความสามารถในเนื้องาน (Job Content)  เข้าใจกระบวนการปฏิบัติงานอย่างดี

        บุคลากรของบริษัทฯ จะต้องปฏิบัติงานให้ได้ 3 มาตรฐานหลัก คือ ถูกประเมินผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน โดยใช้กระบวนการมอบหมาย เพื่อผลสัมฤทธิ์ (Achivement Assignment)  ซึ่งแบ่งการประเมินเป็น 2 ส่วนคือ

ส่วนที่ 1 การประเมินเชิงพฤติกรรม ซึ่งเป็นการประเมินเกี่ยวกับ ลักษณะนิสัยการทำงาน ทักษะ ทัศนคติ และความคิด สร้างสรรค์

ส่วนที่ 2 การประเมินเชิงความสามารถเป็นการประเมินผลผลิตของงาน เวลาในการดำเนินงาน ต้นทุนการดำเนินงาน และคุณภาพของงาน

หลังจากที่บริษัทฯ ได้ประยุกต์ใช้ระบบการจัดการทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ผลปรากฏว่า บริษัทฯ มีผลผลิต (Productivity) เพิ่มขึ้นคุณภาพของงานดีขึ้น การร้องเรียนของลูกค้าลดน้อยลงกว่าเดิม

ดังนั้น ถ้าพิจารณาจากองค์ประกอบของการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ จะพบว่า การบริหารความสามารถเชิงสมรรถนะเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น และยังเป็นการบริหารในส่วนที่เป็น soft HRM การบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์จะเป็นเสมือนภาพการบริหารแบบองค์รวมที่มองภาพกว้างการบริหารทรัพยากรบุคคล กับ ความต้องการทางธุรกิจ แล้วจึงมาสู่การพิจาณาแต่ละองค์ประกอบ

อ้างอิง :  การพัฒนาความสามารถเชิงสมรรถนะ

โดย : ดร. เกริกเกียรติ  ศรีเสริมโภค  Ph.D.

อัพเดทล่าสุด