https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กระบวนการพัฒนาแผนที่การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ MUSLIMTHAIPOST

 

กระบวนการพัฒนาแผนที่การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์


636 ผู้ชม


กระบวนการพัฒนาแผนที่การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์




กระบวนการพัฒนาแผนที่การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์

 

ความสำเร็จขององค์กรประการหนึ่ง คือ การบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ เพราะว่าทรัพยากรบุคคลเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้การปฏิบัติงานนั้นบรรลุผลสัมฤทธิ์

การบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ (Strategic Human Resources Management) เป็นกระบวนการสมัยใหม่ ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพทางการบริหารทรัพยากรบุคคลให้บรรลุผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยเป้าหมายที่สำคัญของการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์มีทั้งหมด 4 ด้าน คือ

ด้านที่ 1 :  การตอบสนองต่อลูกค้า (Customer Responsiveness) หมายถึง ทรัพยากรบุคคลจะต้องเข้าใจบทบาท หน้าที่และภารกิจอย่างชัดเจน  เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ด้านที่ 2  ประสิทธิภาพ (Efficiency)  หมายถึง การปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กร ต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์สูงสุด ตัวอย่างเช่น การบริหารอย่างมีคุณภาพ (Service Quality)  รวมไปถึงผลผลิตที่ต้องมีคุณภาพ และตรงตามความต้องการของลูกค้าและผู้เกี่ยวข้อง

ด้านที่ 3 ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง การบริหารที่ต้องเน้นเชิงกลยุทธ์มากขึ้นมีความคิดในเชิงกลยุทธ์มากขึ้น สามารถพัฒนาวิธีการจัดการงานในบรรลุผลสัมฤทธิ์ ภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด รวมไปถึงการปฏิบัติงานต้องมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม มีการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานมีส่วนร่วมในการบริหารและสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือ มีความโปร่งใส ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

ด้านที่ 4 :  ความเป็นธรรม (Fairness)  หมายถึง การบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ จะเป็นกระบวนการที่มุ่งเน้น การบริหารด้วยความเป็นธรรมทั้งองค์กร บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถตรวจสอบได้ทั้งระบบ

อัพเดทล่าสุด