การแก้ไขปัญหา "การหยุดงาน" ของพนักงาน MUSLIMTHAIPOST

 

การแก้ไขปัญหา "การหยุดงาน" ของพนักงาน


789 ผู้ชม


การแก้ไขปัญหา "การหยุดงาน" ของพนักงาน




หากท่านคิดว่า "ปัญหาการหยุดงาน" ไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหาที่สำคัญขององค์การแล้วล่ะก็ ท่านอาจต้องคิดใหม่ หากได้ลองคิด "ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการหยุดงาน" เหล่านี้ เช่น

  1. ต้องจ้างคนมากกว่าที่ควรจะจ้างอีก 10%
  2. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
    • สูญเสียเวลาที่จัดหรือมอบหมายงานเพื่อทำแทนคนที่หยุดงานไป
    • ค่าล่วงเวลาเพื่อจัดคนแทน หรือทำงานแทนคนที่หยุดไป
    • ของเสียในกระบวนการผลิตเนื่องจากคนมาแทนไม่เก่งงาน
    • ส่งของไม่ทันเวลา - ลูกค้าโวย
    • ยอดขายตกเพราะไม่มีคนรับงานขาย หรือแก้ปัญหาของลูกค้า
  3. เสียเป็นแสนๆ และทำให้เสียเปรียบคู่แข่งขัน

แต่ละองค์การคงสูญเสียไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าองค์การใดมีปัญหาการหยุดขาดงานมากน้อยต่างกันแค่ไหน แต่ที่แน่ๆ รับรองว่าเป็นเงิน "มหาศาล" ไม่เชื่อลองคำนวณออกมาดูซิครับ รับรอง "นาย" เห็นเมื่อไร HR มีงานทำอีกเยอะ
มูลเหตุที่ทำให้มีการหยุดงาน มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา ทั้งปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน และปัจจัยบุคคล ซึ่งพอแยกกว้างๆ ได้ดังนี้

ปัจจัยภายนอก

ปัจจัยภายใน

ปัญหาบุคคล

  • สัญชาติ, เชื้อชาติ
  • ฤดูกาล
  • กฎหมาย
  • ผลประโยชน์ตามกฎหมาย
  • ขนาดและประเภท
  • ทัศนคติของฝ่ายจัดการ
  • คุณภาพของหัวหน้างาน
  • นโยบายบุคคล
  • สภาพการทำงาน
  • โครงการรักษาพยาบาล
  • เพศ, อายุ
  • ตำแหน่งหน้าที่
  • ชั่วโมงทำงาน
  • ค่าจ้าง
  • ความพอใจในงาน
  • การเดินทาง
  • สภาพร่างกาย
  • ปัญหาทางบ้าน

และหากถามให้เจาะจงลงไปอีกว่า "ทำไมจึงหยุดงาน" ก็น่าจะได้แก่ประเด็นต่างๆเหล่านี้

  • การมาทำงานเป็นปัญหา
  • ความกดดันจากนอกงาน
  • งานไม่จูงใจ
  • ความสนุกสนานนอกงาน
  • ถูกชักจูงในทางที่ผิด
  • หยุดเพื่อแกล้งหรือแก้เผ็ด
  • ไม่ชอบงานบางอย่าง
  • ความสัมพันธ์ในงานไม่ดี
  • ป่วยจริง
  • ภาระกิจนอกงานที่มีความสำคัญเหนือกว่า
  • นิสัยไม่ดีชอบหยุดงาน
  • หน่วยงานละเลยการมาทำงาน

อีกทั้งยังมีผลการวิจัยที่สำคัญ ที่เกี่ยวกับการหยุดงานมาให้ดูกันอีก เพื่อเป็นข้อมูลประกอบว่า การหยุดงานเกิดจากอะไร ควรแก้อย่างไร ลองดู "สรุปงานวิจัยเกี่ยวกับการหยุดงาน" เหล่านี้ดูครับ

  1. การควบคุมอัตราการหยุดงานจะได้ผลกว่า ถ้าใช้มาตรการแบบ "ไม้แข็ง" และ "ไม้นวม" ควบกันไป ทั้งขู่และปลอบ
  2. ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม การลดอัตราการหยุดงานจำต้องอาศัยปัจจัยสำคัญคือ
    1. ค้นหาสาเหตุและการวิเคราะห์ และ
    2. ความเพียรพยายามในการสื่อข้อความ การจูงใจ และการควบคุม
  3. สภาพการทำงาน เช่น ความร้อน แสงเสียง การระบายอากาศ มิใช่ประเด็นสำคัญอย่างที่คิด แต่ก็อาจจะเป็นตัวกระตุ้นและพนักงานก็มักจะไม่แสดงออกถึงความไม่พอใจด้วยการหยุดงานมากๆ สภาพร่ายกายเสียอีกที่เป็นปัญหา
  4. ลักษณะงาน เช่น งานไม่ท้าทาย ทำแล้วเบื่อ รวมถึงสภาพวะแวดล้อมของสังคมในที่ทำงานเป็นมูลเหตุที่สำคัญเหมือนกัน
  5. อัตราการหยุดงานในกลุ่มคนที่น้อยกว่า เช่น ระหว่าง 3 - 5 คน ในแต่ละหน่วยงานทั้งนี้ เพราะความรักและความผูกพัน และความเกรงใจระหว่างคนในกลุ่ม
  6. คุณภาพของการบังคับบัญชา ถือว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญมากในการควบคุมและลดอัตราการหยุดงาน
  7. งานวิจัยพบว่า ความมีประสิทธิผลในการควบคุมและลดอัตราการหยุดงานขึ้นอยู่กับการฝึกอบรมในเรื่องการควบคุมอัตรการหยุดงาน และการสื่อข้อความและความเพียรพยายามของฝ่ายบริหารระดับสูง
  8. สถานประกอบการที่ประสบความสำเร็จมักจะมีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการหยุดงานของพนักงาน และมีการแถลงนโยบายและวิธีการในเรื่องการหยุดงานอย่างแน่ชัด ทั้งนี้ รวมถึงการตัดค่าจ้างเมื่อหยุดงานที่ไม่ถูกระเบียบ และการลงโทษทางวินัยด้วย
  9. นอกเหนือจากข้างต้น การพูดคุยระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องในเรื่องการมาทำงานก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ และการปรุงแต่งงานให้เป็นที่ท้าทายหรือทำแล้วสนุกก็เป็นประเด็นที่สำคัญอีกเช่นกัน
  10. งานวิจัยยังไม่พบว่า การลดอัตราการหยุดงานจะได้ผลกว่าถ้าได้มีการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงมิใช่ดูแต่อาการอย่างคร่าวๆ เท่านั้น และจะต้องแก้ไขเป็นกรณีๆ ไปจะหาวิธีที่ใช้ได้ผลทุกกรณีย่อมเป็นการยากและมักไม่ค่อยได้ผล พูดกันอย่างง่ายๆ ต้องดูกันเป็นรายๆ ไป
  11. อัตราการหยุดงานจะต่ำกว่าถ้าหัวหน้างานใช้รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยแทนที่จะเป็นเผด็จการ
  12. อัตราการหยุดงานจะต่ำกว่า ถ้าหัวหน้างานได้รับการฝึกอบรมทางด้านการบังคับบัญชา
  13. อัตราการหยุดงานจะสูงในกลุ่มคนระหว่าง 20 - 30 คน

ได้แง่คิดเยอะไหมครับจากสรุปงานวิจัยเหล่านี้ และจะให้ดียังมีข้อมูลที่นำมาฝากอีก หากต้องการหาทางลดอัตราการหยุดงานอย่างจริงจัง ข้อมูลนี้จากผู้มีประสบการณ์ที่ช่ำชองในการลดอัตราการหยุดงานครับ

สิ่งที่จะช่วยให้ลดได้

  1. ชี้แจงให้พนักงานทราบถึงปัญหาและผลเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการหยุดงาน พร้อมกับของความร่วมมือ
  2. แจ้งให้ทราบถึงเป้าหมายของโรงงานและเป้าหมายของแผนก
  3. แสดงกราฟเพื่อแจ้งให้ทราบถึงผลคืบหน้าว่าได้เป้าหรือพลาดเป้าอย่างไร
  4. วิเคราะห์อัตราการหยุดงานของแผนกว่าประกอบด้วยการลาประเภทใดบ้าง
  5. วิเคราะห์รายละเอียดสำหรับผู้ที่หยุดงานมากๆ
  6. เรียกมาพูดคุยเพื่อที่จะค้นหาสาเหตุ พยายามให้หาทางออกด้วยตนเอง ถ้าเป็นปัญหาส่วนตัว บันทึกการพูดคุยไว้ด้วย
  7. รวบรวมระเบียบการลาทั้งหมดและแจกจ่ายให้พนักงานทราบอีกครั้งหนึ่ง
  8. ย้ำเรื่องการให้แจ้งเมื่อหยุดงาน
  9. ขอความร่วมมือจากผู้นำสหภาพแรงงานในแผนกและให้รายชื่อผู้ที่อยู่ในข่ายสงสัยว่าจะใช้สิทธิในทางมิชอบ หรือหยุดงานมากด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง
  10. จัดทำรายชื่อพนักงานผู้มีเกียรติ หรือผู้ที่มีประวัติการทำงานยอดเยี่ยม
  11. จัดให้มีการติดตามผลภายหลังและพูดคุยเป็นระยะๆ
  12. ขอให้แพทย์และพยาบาลตรวจสอบให้ละเอียดกว่าเดิม
  13. ทุกครั้งที่มีการประชุมกับสหภาพแรงงาน นำเรื่องอัตราการหยุดงานขึ้นมาพูด
  14. จัดประชุมกับหัวหน้าระดับล่างเพื่อประเมินผลว่า อัตราหยุดงานในหน่วยย่อยเป็นเช่นใด
  15. พูดคุยเรื่องปัญหาการหยุดงานกับหัวหน้างานในแผนกเสมอๆ
  16. คอยสังเกตการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้คำปรึกษาชี้แนะถ้าเห็นว่าก่อให้เกิดผลกระทบต่องาน
  17. ใช้มาตรการเด็ดขาดถ้าไม่ดีขึ้น
  18. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวก
  19. ปรับปรุงความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาและสภาวะความเป็นผู้นำ
  20. ส่งผู้ที่หยุดงานมากๆ ไปตรวจสุขภาพเพื่อสร้างหลักฐาน สำหรับผู้ที่หยุดเพราะป่วยจริงก็ควรจัดให้มีการตรวจสุขภาพ รักษาและเยียวยา
  21. รณรงค์เรื่องอุบัติเหตุนอกงาน
  22. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเล่นกีฬาและเน้นหนักเรื่องโภชนาการ รวมทั้งการพักผ่อน
  23. แสดงตังอย่างที่ดีให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้เห็นโดยการมาทำงานอย่างสม่ำเสมอ
  24. ระวังเรื่องปริมาณงานที่มากเกินไป การทำงานหนักเกินกำลังและไม่ปลอดภัย
  25. พยายามแก้ไขข้อร้องทุกข์โดยเร่งด่วนและเป็นธรรม
  26. ก่อนอนุมัติการลาพยายามสอบให้ละเอียด ทั้งนี้ รวมถึงคำร้องขอลาป่วย ซึ่งแพทย์ได้ลงลายมือชื่อแล้วด้วย
  27. ชมเชยผู้ที่หยุดงานน้อยๆ หรือไม่หยุดเลยอยู่เสมอๆ
  28. กำหนดนโยบายว่าด้วยการลา ให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้
  29. ประสานงานกับฝ่ายบุคคลเพื่อขอคำพิพากษาศาลฎีกาว่าด้วยการเลิกจ้าง หรือการลงโทษทางวินัยว่าด้วยการขาดงาน
  30. ฝึกคนแทนหรือฝึกให้คนทำงานได้หลายหน้าที่
  31. ออกหนังสือชมเชย หรือหนังสือแสดงความยินดีแก่ผู้ที่มีประวัติการทำงานดี
  32. เปลี่ยนเป้าหมายไปเรื่อยๆ
  33. กำหนดให้หัวหน้าหน่วยต่างๆ อธิบายเหตุผลว่าทำไมจึงไม่สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายได้
  34. จัดให้มีการแข่งขันกันในระหว่างหน่วยต่างๆ โดยออกรายงานเปรียบเทียบ
  35. สลับวันหยุดเพื่อให้หยุดติดต่อกัน
  36. ผลักดันหาทางแก้แบบฟอร์มประเมินผลโดยเน้นการมาทำงาน
  37. ใช้การมาทำงานอิงกับการขึ้นเงินเดือนและจ่ายโบนัส
  38. ใช้ประวัติการมาทำงานเป็นปัจจัยในการลดหย่อนผ่อนโทษ
  39. ส่งพนักงานผู้มีปัญหา และไม่สามารถจะแก้ไขได้พบนักจิตวิทยา
  40. เน้นการคัดเลือกพนักงานใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุที่ออกจากงาน ที่อยู่และสุขภาพ
  41. จัดให้มีการฝึกอบรมหัวหน้าหน่วย เรื่อง การปกครองและการบังคับบัญชาที่ดี
  42. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการบริหารงานโดยใช้หลักประชาธิปไตย

ก่อนจบบทความนี้ ขอแนะนำ Strategy Map ในการลดการหยุดงานของคุณชำนาญ พิมลรัตน์ มาลงไว้เพื่อประโยชน์ของทุกท่านครับ

การแก้ไขปัญหา "การหยุดงาน" ของพนักงาน

เห็นไหมครับว่ายังมีอะไรที่ทำได้อีกมากเพื่อ "ลดอัตราการหยุดงาน" ซึ่งก่อผลเสียให้กับองค์การอย่างเหลือที่จะคณานับหากไม่มีการแก้ไข

(ข้อมูลที่นำมาลงไว้นี้ เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง "กลยุทธ์การลดอัตราการหยุดงาน" โดยคุณชำนาญ พิมลรัตน์ กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บริษัท กู๊ดเยียร์ ประเทศไทย จำกัด จัดโดย บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด นำมาเผยแพร่โดยได้รับอนุญาติจากคุณชำนาญ พิมลรัตน์ครับ)

อัพเดทล่าสุด