https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การคำนวณอัตราการลาออกจากงาน (Measuring trunover) MUSLIMTHAIPOST

 

การคำนวณอัตราการลาออกจากงาน (Measuring trunover)


2,052 ผู้ชม


การคำนวณอัตราการลาออกจากงาน (Measuring trunover)




อัตราการออกจากงาน ต่อปี            =  จำนวนพนักงานที่ออก x100                                              

                                                จำนวนพนักงานทั้งหมดโดยเฉลี่ย 
                                             

ตัวอย่าง เช่น

บริษัทฯ มีพนักงานทั้งสิ้น 1000 คน พนักงานออกทั้งสิ้น 30 คน (ลาออก 20 คน และไม่ผ่านทดลองงาน 10 คน)

                             =             30 x 100   =  3 %

                                       1000

หากจะคำนวณอัตราพนักงานออกในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่น้อยกว่า 1 ปี สามารถทำได้

ตัวอย่าง เช่น

ฝ่ายวิศวกรรมมีพนักงานทั้งสิ้น 29 คน ในระยะเวลา 3 เดือนมีพนักงานลาออก  5 คน อยากทราบว่าในระยะเวลา 3 เดือนมีอัตราพนักงานลาออก เท่าใด

        =  จำนวนพนักงานที่ออก x 100  x  12 (เดือน) = 5 x100 x12                                
       จำนวนพนักงานทั้งหมดโดยเฉลี่ย       4                 29        4

        =    51.72%      

 

  อัตราการลาออกที่ควรจะเป็น

      การบริหารงานส่วนนี้จำเป็นที่ต้องกำหนดเป้าหมายของบริษัทฯ หรือกลยุทธ์ของฝ่าย HR เองเช่นเดียวกับอัตราการหยุดงาน ตัวอย่าง

๛  อัตราการออกจากงานรวม ไม่เกิน 7 %

        หาจะถามว่าอัตราคนเข้าออก เท่าใดถึงจะเหมาะสม ? โดยทั่วไปทางบ้านเราอาจถือได้ว่าอัตราการเข้าออกปีละ 24 % เป็นเกณฑ์ปกติหมายความว่า หากตัวเลขสูงกว่า 24 % ไปมากแสดงว่าองค์กรนั้นมีปัญหาด้านบุคลากรต้องรีบแก้ไข เช่น

-  พนักงานไม่มีขวัญและกำลังใจ

-  ไม่มีความภักดีต่อองค์กร

-   อัตราค่าจ้างต่ำเกินไป

-   ผู้บริหารไม่ได้รับศรัทธาจากพนักงาน

-    บริษัทฯไม่มีความมั่นคง

แต่ถ้าหากตัวเลขต่ำกว่า 24 % นั้นแสดงให้เห็นว่าองค์กรดี ในเชิงการบริหารงานบุคคล ที่สำคัญตัวเลขการเข้าออก ของแต่ละแผนกเป็นสิ่งสำคัญและน่าสนใจในการนำมาวิเคราะห์ปัญหาบุคลากรเฉพาะแผนก และจะได้แก้ไขปัญหาให้ถูกจุดต่อไป

การออกจากงาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

การออกงานหลีกเลี่ยงได้

การออกงานหลีกเลี่ยงไม่ได้

-  ไม่สะดวกในการเดินทาง

- ไม่พอใจงานที่ทำอยู่ เช่นค่าจ้างต่ำไป

- ครอบครัวมีปัญหา

- เลี้ยงลูก

- ย้ายถิ่นที่อยู่

- เปลี่ยนอาชีพ

- ศึกษาต่อ

- อื่นๆ

-   การเกษียณอายุ

-  ปัญหาสุขภาพหรือโรคภัยไข้เจ็บ

- ตั้งครรภ์

- ทุพพลภาพ

- เสียชีวิต

Turnover Prone Employee

  1. Chronically Dissatisfied เปลี่ยนงานตามความพอใจ กลุ่มนี้ประวัติการเปลี่ยนงานสูง
  2. Job Mismatched  คุณสมบัติสูงหรือต่ำเกินไป กลุ่มนี้คิดว่าหากงานไม่ท้าท้ายก็คิดจะเปลี่ยนงานและหากคุณสมบัติต่ำเกินไป บริษัท อาจไม่พอใจ
  3. Organization Mismatched พบมากในรายที่เป็น Professional, Technical หรือ Sales  ขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างวัฒนธรรมองค์กร ของแต่ละบริษัทฯ

นำเสนอโดย Kitja  Thamsatitwong


อัพเดทล่าสุด