https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แรงงานไทย เข้าใจเอดส์ เราทำงานร่วมกันได้ MUSLIMTHAIPOST

 

แรงงานไทย เข้าใจเอดส์ เราทำงานร่วมกันได้


640 ผู้ชม


แรงงานไทย เข้าใจเอดส์ เราทำงานร่วมกันได้




    

ชื่อโครงการ

แรงงานไทย เข้าใจเอดส์ เราทำงานร่วมกันได้

ระยะเวลา

ปี 2548

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

เบอร์โทรศัพท์

0 2245 8915

รายละเอียด

                      โครงการ แรงงานไทย เข้าใจเอดส์ เราทำงานร่วมกันได้
           หลักการและเหตุผล
           เนื่องจากจำนวนผู้ใช้แรงงานที่ป่วยด้วยโรคเอดส์ในประเทศไทยมีสถิติสูงขึ้น เรื่อย ๆ ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน อายุระหว่าง 20 - 49 ปี ทำให้ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเหล่านี้ต้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ นับตั้งแต่สภาพร่างกายที่ทรุดโทรม สภาพจิตใจที่ย่ำแย่ รวมทั้งยังมีภาวะกดดันจากสังคมทั่วไป เช่น สังคมในการทำงาน สังคมจากผู้คนรอบข้างส่งผลให้เขาเหล่านั้นต้องออกจากงาน ทำให้ขาดรายได้ และกระทบไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม
           กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีหน้าที่โดยตรงในการคุ้มครองดูแลผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ได้ตระหนักถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจึงได้จัดทำโครงการ แรงงานไทย เข้าใจเอดส์ เราทำงานร่วมกันได้ ขึ้น เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์ ซึ่งจะเป็นการป้องกันและควบคุมสถานการณ์โรคเอดส์ในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เพื่อให้ปัญหาการติดเชื้อเอดส์ในกลุ่มผู้ใช้แรงงานลดลง รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างและปรับเปลี่ยนทัศนคติของพนักงานเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์ ขจัดการรังเกียจ กีดกัน การเลือกปฏิบัติต่อพนักงานที่ติดเชื้อเอดส์ ให้พนักงานที่ติดเชื้อเอดส์และพนักงานทั่วไปสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข รวมทั้งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน และเสริมสร้างการบริหารจัดการเรื่องเอดส์ในสถานประกอบกิจการ
           วัตถุประสงค์
                      1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์ ได้ทราบถึงวิธีการป้องกันตัวเองจากโรคเอดส์ได้
                      2. เพื่อลดจำนวนการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน
                      3. เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้นายจ้าง ลูกจ้าง เพื่อนร่วมงานยอมรับว่า ผู้ติดเชื้อสามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคมเดียวกัน สามารถทำงานร่วมกันได้
                      4. เพื่อส่งเสริมโครงการ การป้องกันและบริหารจัดการเรื่องเอดส์ในสถานประกอบกิจการ
                      5. เพื่อเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
                      6. เพื่อสร้างเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในหมู่ผู้ใช้แรงงาน
           กลุ่มเป้าหมาย
                      1. กลุ่มเป้าหมายหลัก
                      - ลูกจ้าง
                      - นายจ้างเจ้าของสถานประกอบกิจการ
                      2. กลุ่มเป้าหมายรอง
                      - นิสิต นักศึกษา
                      - ประชาชนทั่วไป
           วิธีดำเนินการ
           1. จัดหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ออกไปบริการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจต่าง ๆ ของกรม รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ การให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้างที่เกี่ยวกับเอดส์ ในสถานประกอบกิจการ ในแหล่งชุมชน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตามโครงการต่าง ๆ จำนวน 20 ครั้ง ลูกจ้างผู้เกี่ยวข้องจำนวน 1,000 คน
           2. จัดทำชุดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องสิทธิของลูกจ้างที่เกี่ยวกับเอดส์จัดส่งให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 75 จังหวัด และสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 10 พื้นที่            3. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ซีดี Presentation เรื่อง การรับรองมาตรฐานการบริหารจัดการเรื่องเอดส์ในสถานประกอบกิจการ ASO Thailand
           4. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อสิ่งของอื่น ๆ
           ผลที่คาดว่าจะได้รับ
           1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์ ได้ทราบถึงวิธีการป้องกันตัวเองจากโรคเอดส์ได้
           2. ลดจำนวนการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้แรงงาน
           3. ลดปัญหาการลาออกจากงาน โดยนายจ้าง ลูกจ้างและเพื่อนร่วมงานยอมรับว่า ผู้ติดเชื้อสามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคมเดียวกัน สามารถทำงานร่วมกันได้
           4. ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการ  การป้องกันและบริหารจัดการเรื่องเอดส์ในสถานประกอบกิจการ
           5. เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
           6. สร้างเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในหมู่ผู้ใช้แรงงาน
           งบประมาณ
           งบประมาณจากกรมควบคุมโรคเบิกแทนกันประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ งบดำเนินงาน จำนวน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)
           ระยะเวลาดำเนินการ
           ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2548 - กันยายน 2548
           การประเมินผล
           ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการและ ความรู้ที่ได้รับรวมทั้งการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งทัศนคติต่อผู้ติดเชื้อเอดส์ในการทำงานร่วมกัน และการบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานประกอบกิจการ

ที่มา :  กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน


อัพเดทล่าสุด