https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
มาตรฐานแรงงานสากล ปัญหาการจ้างงานชั่วคราว และบทบาทสหภาพแรงงาน ตอน 1 MUSLIMTHAIPOST

 

มาตรฐานแรงงานสากล ปัญหาการจ้างงานชั่วคราว และบทบาทสหภาพแรงงาน ตอน 1


696 ผู้ชม


มาตรฐานแรงงานสากล ปัญหาการจ้างงานชั่วคราว และบทบาทสหภาพแรงงาน ตอน 1




เมื่อวันที่ 4 .. 51 ที่ศูนย์ฝึกอบรมชุมชนน้ำใจและไมตรี จ.สุพรรณบุรี ศูนย์กลางศึกษาสหภาพแรงงาน, โครงการรณรงค์สากล ICEM เรื่องปัญหาการจ้างงานชั่วคราว และโครงการ ICEM MNCs & Social Dialogue ได้ทำการจัดเสวนาเรื่อง มาตรฐานแรงงานสากล ปัญหาการจ้างงานชั่วคราว บทบาทสหภาพแรงงาน โดยมีการเสวนาในประเด็นของปัญหาสหภาพแรงงานและปัญหาการต่อสู้ของแรงงานจ้างเหมาค่าแรง

 

สหภาพแรงงานแท่นขุดเจาะน้ำมัน CUEL/Chevron ชุมนุมระหว่างการนัดหยุดงานเพื่อประท้วงปัญหาอุบัติเหตุและการจ้างงานเหมาค่าแรงจำนวนมาก (แฟ้มภาพ)

 

สถานการณ์แรงงานและการเจรจาต่อรองร่วมในไทย

 

บุญยืน สุขใหม่ ประธานสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชา ITF และเลขาธิการกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก ได้กล่าวถึงภาพรวมของสถานการณ์แรงงานในปัจจุบัน โดยสถานการณ์ล่าสุดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 - กันยายน 2550 มีจำนวนสหภาพแรงงานที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงนี้ถึง 106 สหภาพแรงงาน แต่ในขณะเดียวกันก็มีสหภาพแรงงานถูกยุบและล่มสลายถึง 154 แห่ง และในช่วงระหว่างตุลาคม 2550- กรกฎาคม 2551 พบว่ามีสหภาพแรงงานเกิดใหม่ 71 สหภาพ ในขณะที่ 70 สหภาพถูกยุบโดยการถอนทะเบียนของกระทรวงแรงงาน

 

อัตราการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน: 330,000 คน (กำลังแรงงานการผลิต: 36 ล้านคน) โดยจำนวนของสหภาพแรงงานประเภทสถานประกอบการนั้นมี 1,243 แห่งนับแต่ปี พ.. 2518 มีจำนวนสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรม 16 องค์กร และมีจำนวนสมาพันธ์ 12 องค์กร

 

ทั้งนี้จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลไทยไม่ยอมรับรองอนุสัญญาแรงงานหลักหมายเลข 87 และ 98 ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่สำคัญที่สุดว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองเสรีภาพการรวมกลุ่ม การจัดตั้งสหภาพแรงงาน และการเจรจาต่อรองร่วม

 

โดยสถานการณ์ของลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทรวมถึงคนงานเหมาช่วงและเหมาค่าแรงนั้น ยังคงถูกกีดกันในการเข้าร่วมสหภาพแรงงาน ทั้งลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ เช่นลูกจ้างโรงพยาบาลรัฐ ครู มหาวิทยาลัย กระทรวง ทบวง กรม ยังไม่มีการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน และลูกจ้างชั่วคราวในหน่วยงานรัฐรวมถึงโรงพยาบาลเหล่านั้น ไม่ได้รับการคุ้มครองแม้แต่สิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน ส่งผลให้ลูกจ้างต้องเผชิญกับสภาพการทำงานที่เลวร้าย ไม่มีแม้แต่ประกันสังคม

 

ทั้งนี้ในปัจจุบันพบว่ามีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของงานจ้างเหมา และนายจ้างได้ใช้กลยุทธ์ในการแบ่งแยกระหว่างคนงานประจำและคนงานจ้างเหมาออกจากกันเพื่อไม่ให้มีการรวมตัว

 

ซึ่งประมาณการกันว่าขณะนี้จำนวนลูกจ้างชั่วคราว/เหมาค่าแรง: 5 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 40% ของลูกจ้างที่ทำงานในภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ โดย 80% ของลูกจ้างชั่วคราวเป็นคนงานหญิง คนงานส่วนใหญ่ถูกจ้างผ่านบริษัทเหมาค่าแรงซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าร่วมสหภาพแรงงาน ทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครองตามข้อตกลงสภาพการจ้างของสหภาพแรงงาน นอกจากนี้พบว่าคนงานอพยพ พม่า เขมร ลาว ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยนั้นสวนใหญ่ก็ทำงานในลักษณะลูกจ้างชั่วคราวทั้งสิ้น 

 

และยังพบอีกว่าในปัจจุบันอัตราการเกิดข้อพิพาทแรงงานเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาการปิดงานสมาชิกสหภาพแรงงาน เพื่อบังคับให้สหภาพแรงงานถอนข้อเรียกร้องและลดสวัสดิการของคนงาน ส่งผลให้มาตรฐานแรงงานตกต่ำ รวมถึงมาตรฐานสุขภาพความปลอดภัยของคนงานความแตกต่างด้านค่าจ้าง สวัสดิการ มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน ระหว่างคนงานประจำและลูกจ้างชั่วคราวและเหมาค่าแรง

 

ในปัจจุบันนี้พบว่าบริษัทนายหน้ากำลังเติบโตและขยายตัวอย่างตัวเนื่อง ตัวอย่างเช่น บริษัทอเดคโค ครอบคลุมการจ้างงานทั้งฝ่ายผลิตและสำนักงานกำลังเติบโตในทุกสาขาอุตสาหกรรม และบริษัทแมนเพาเวอร์ซึ่งครอบคลุมการจ้างงานฝ่ายผลิตเป็นหลักและกำลังขยายตัวทุกอุตสาหกรรมเช่นกัน

 

ทั้งนี้อุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเหมาค่าแรงเป็นจำนวนมาก ก็อาทิเช่น อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์, อิเลคทรอนิคส์, ยานยนต์, ยาง, ปิโตรเลียม, แก๊ส, กระดาษ เป็นต้น

 

โดยบุญยืนเล่าต่อไปว่าได้เคยตรวจสอบงบดุลของบริษัทเหมาค่าแรงแห่งหนึ่งพบว่า มีผลตอบแทนต่อหุ้นกำไรสูงมาก และบริษัทเหมาค่าแรงหลบเลี่ยงกฎหมายโดยการปิดกิจการและเปิดใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบที่มีต่อลูกจ้างและการตรวจสอบจากภาครัฐ รวมถึงมักจะไม่มีสินทรัพย์ที่สามารถนำไปขายทอดตลาดได้หากแรงงานฟ้องร้องแล้วชนะ พบว่าเมื่อถึงท้ายที่สุดแล้วเมื่อชนะทางข้อกฎหมายแล้ว เอาเข้าจริงแรงงานที่ได้ค่าชดเชยอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากบริษัทนายหน้าเหล่านี้พบว่ามีน้อยมากจนแทบไม่มีเลย

 

นอกจากนี้ยังพบว่ามีการจ้างงานที่ไม่มั่นคง มีสัญญาระยะสั้นหรือสัญญาแบบมีกำหนดระยะเวลา ในธุรกิจประเภทต่างๆ  เช่น งานก่อสร้าง, คนงานที่ทำงานดูแลสายส่ง, คนอ่านมิเตอร์ไฟฟ้าตามบ้าน, คนเก็บค่าไฟตามบ้าน, คนงานเติมน้ำมันรถตามปั๊ม, ร้านอาหารทั่วประเทศ, คนงานตามบ้าน, แรงงานเด็กในสนามกอล์ฟ และงานอันตรายอื่นๆ เป็นต้น

 

รวมถึงการจ้างงานนักเรียน-นักศึกษา ในลักษณะการทำงานครึ่งเวลา (Part Time) โดยเฉพาะภาคบริการและค้าปลีก เช่น TESCO LOTUS, BIG C, Supermarket เป็นต้น และการรับนักศึกษาฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรม

 

โดยบุญยืนได้ยกกรณีตัวอย่างการรับนักศึกษาฝึกงานของบริษัทอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่มักจะรับนักศึกษาฝึกงานหมุนเวียนกันเข้ามาเป็นช่วงๆ เพื่อลดต้นทุนการจ่ายเงินเดือนหรือสวัสดิการต่างๆ ทั้งนี้นักศึกษาฝึกงานเหล่านี้มักจะไม่มีสวัสดิการคุ้มครอง และมีปัญหาที่ตามมาแก่ตัวเด็กไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพหรือความปลอดภัยในโรงงาน

 

สถานการณ์การจ้างงานชั่วคราวภายหลังการออกกฎหมายใหม่ (พ... คุ้มครองแรงงานฉบับปี 2551) พบว่ามีการจ้างงานชั่วคราวแทนการจ้างงานแบบประจำเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสถานประกอบการมีมักจะมีการจัดทำใบสั่งงาน (Jobs Descriptions) แบบใหม่เพื่อแสดงถึงลักษณะงานที่แตกต่างกันระหว่างงานของลูกจ้างประจำและงานของลูกจ้างเหมาค่าแรง โดยนายจ้างมักจะใช้สัญญาการจ้างงานมีระยะเวลาสั้นลง - เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยให้กับคนงาน

 

รวมถึงการที่นายจ้างละเมิดกฎหมายมากขึ้น โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิแรงงานของคนงานจ้างเหมา คนงานไม่มีสหภาพแรงงานเป็นที่พึ่งในการต่อสู้ ทำให้ใช้วิธีการฟ้องศาลมากขึ้น คนงานถูกเลิกจ้าง หมดทรัพย์ไปกับการต่อสู้ในศาลซึ่งมีกระบวนการที่ยืดเยื้อยาวนาน นอกจากนี้พบว่าการตีความข้อความในกฎหมายก็เป็นไปอย่างครอบจักรวาล

 

เช่นมาตราใน 11/1 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็น ผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว  ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

 

ทั้งนี้ในเรื่องอุปสรรคของขบวนการสหภาพแรงงาน พบว่าเกิดการขยายตัวของงานจ้างเหมาอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สหภาพแรงงานส่วนใหญ่ไม่มีนโยบายหรือแนวทางในการทำงานเรื่องนี้ โดยบริษัทปฏิเสธการเจรจากับสหภาพแรงงานโดยอ้างว่าเป็นอำนาจของฝ่ายจัดการในการจ้างงานแบบไหนก็ได้หรือเลิกจ้างใครก็ได้

 

จำเป็นอย่างยิ่งที่สหภาพแรงงานจะต้องให้ความสำคัญกับงานด้านการศึกษา จัดการศึกษาให้กับสมาชิกและคนงานโดยไม่แบ่งแยก เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นคนงานเหมือนกัน เท่าเทียมกัน และสหภาพแรงงานมีหน้าที่ปกป้อง คุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิประโยชน์ของคนงานทุกคน

 

 

 

กรณีศึกษาการยกเลิกเหมาค่าแรงในสถานประกอบการต่างๆ

 

  1. บริษัท สมบูรณ์โซมิค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

ยกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรงตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2551 บรรจุทดลองงานจำนวนประมาณ 180 คน

 

หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ

  1.  
    • พนักงานประจำและพนักงานเหมาค่าแรงร่วมมือกันในการไม่ทำงานล่วงเวลา และยื่นเงื่อนไขต่อผู้บริหาร ใช้เวลาในการเจรจาและกดดัน 3 วัน
    • นายจ้างยกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรง
    • นายจ้างบรรจุเป็นพนักงานประจำและทดลองงาน 120 วัน

 

  1. บริษัท โยโรซึ (ไทยแลนด์) จำกัด

โดยยกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรงตั้งแต่วันที่  1 มิถุนายน 2551 บรรจุทดลองงานจำนวนประมาณ 191 คน

 

หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ

  1.  
    • พนักงานประจำและพนักงานเหมาค่าแรงร่วมมือกันในการไม่ทำงานล่วงเวลา และยื่นเงื่อนไขต่อผู้บริหาร ใช้เวลาในการเจรจาและกดดัน 7 วัน
    • นายจ้างยกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรง
    • นายจ้างบรรจุเป็นพนักงานประจำและทดลองงาน 180 วัน

 

  1. บริษัท ทีโรลิทไทยไดมอนด์ จำกัด

ยกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรงตั้งแต่วันที่  1 มิถุนายน 2551 บรรจุทดลองงานจำนวนประมาณ 70 คน

 

หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ

  1.  
    • นายจ้างพิจารณาปรับบรรจุให้ทุกคนและทดลองงาน 120 วัน

 

  1. บริษัทเอ็นทีเอ็นแมนูแฟคเจอริ่ง(ประเทสไทย) จำกัด (ซอย 6)

 

หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ

  1.  
    • พนักงานเหมาค่าแรงมีการยื่นข้อเรียกร้องให้บรรจุพนักงานเหมาค่าแรงเป็นพนักงานประจำพร้อมกันทั้งสองบริษัทฯ และให้ปรับปรุงสวัสดิการอื่นด้วย
    • กรรมการลูกจ้างเสนอประเด็นพิจารณาในที่ประชุมนายจ้างพิจารณาปรับบรรจุให้กำหนดหลักเกณฑ์ในการสอบบรรจุให้ง่ายขึ้นและทดลองงาน 120 วัน โดยทำเป็นบันทึกกรรมการลูกจ้างชัดเจนในหนึ่งปีมีการพิจารณาบรรจุ 4 ครั้ง โดยการสอบสัมภาษณ์และข้อเขียน การสอบสำภาษณ์ให้หัวหน้างานในไลน์การผลิตเป็นผู้สอบเองส่วนข้อเขียนนั้นให้ฝ่ายบริหารเป็นผู้ดำเนินการ
    • มีพนักงานได้รับการบรรจุจากการลุกขึ้นสู้ในครั้งแรกประมาณ 100 คน

 

  1. บริษัท มารูยาซึ (ประเทศไทย) จำกัด

 

หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ

  1.  
    • พนักงานเหมาค่าแรงมีการยื่นข้อเรียกร้องให้บรรจุพนักงานเหมาค่าแรงเป็นพนักงานประจำพร้อมกันทั้งสองบริษัทฯ และให้ปรับปรุงสวัสดิการอื่นด้วย
    • สหภาพแรงงานฯ ยื่นข้อเรียกร้องเสนอประเด็นให้นายจ้างพิจารณาปรับบรรจุให้กำหนดหลักเกณฑ์ในการสอบบรรจุให้ง่ายขึ้นและทดลองงาน 120 วัน โดยทำเป็นบันทึกข้อตกลงชัดเจนมีการพิจารณาบรรจุพนักงานเหมาค่าแรงที่มีอายุงานครบ ๖ เดือน โดยการประเมินจากหัวหน้างาน 60% และสอบข้อเขียน 20% และสอบสัมภาษณ์จากฝ่ายบริหารอีก 20%  มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในบันทึกสภาพการจ้าง

(มีการชุมนุมยืดเยื้อของคนงานหน้าโรงงาน 2 สัปดาห์)

  1.  
    • มีพนักงานได้รับการบรรจุจากการลุกขึ้นสู้ในครั้งแรกประมาณ 200 คน

 

  1. บริษัทเคียวเดน (ประเทศไทย) จำกัด

สหภาพแรงงานโทเออิเดนชิ ยื่นข้อเรียกร้องพร้อมกับพนักงานเหมาค่าแรงให้ปรับบรรจุพนักงานเหมาค่าแรงเป็นพนักงานประจำได้ในเดือนมกราคม 2551 จำนวน 65 คน

 

หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ

  1.  
    • สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้อง
    • พนักงานเหมาค่าแรงยื่นข้อเรียกร้องพร้อมกัน 3 บริษัท และเจรจาต่อรองตามกฎหมาย
    • ระหว่างการเจรจาขั้นพิพาทแรงงานงดการทำงานล่วงเวลา 2 อาทิตย์

 

  1. บริษัท เซนต์โกเบนซีคิวริท จำกัด

โดยยกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรงตั้งแต่วันที่  1 มิถุนายน 2551 บรรจุทดลองงานจำนวนประมาณ 50 คน

 

หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ

  1.  
    • กรรมการลูกจ้างเสนอประเด็นพิจารณาในที่ประชุมนายจ้างพิจารณาปรับบรรจุให้ทุกคนที่ผ่านการตรวจโรคและทดลองงาน 120 วัน

 

  1. บริษัท มิกาซ่าอินดัสตรี้(ไทยแลนด์) จำกัด

โดยยกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรงตั้งแต่วันที่  1 มิถุนายน 2551 บรรจุทดลองงานจำนวนประมาณ 200 คน

 

หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ

  1.  
    • นายจ้างพิจารณาปรับบรรจุให้ทุกคนและทดลองงาน 120 วัน หลังจากที่สหภาพแรงงานไม่มีใครกล้าลุกออกมาต่อสู้หรือมาทำกิจกรรมสหภาพแรงงานแล้ว เพื่อเป็นการสร้างภาพให้พนักงานเห็นว่าบริษัทฯ นั้นมี CSR

 

  1. บริษัท ไอทีฟอร์จิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด

สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องให้ยกเลิกการจ้างานเหมาค่าแรงในสถานประกอบการ บริษัทฯ ตกลงยกเลิกการจ้างงานเหมาค่าแรงโดยบรรจุเป็นพนักงานประจำรายเดือนทั้งหมดประมาณ 30 คนในปี 2547

 

ต่อมาบริษัทมีการจ้างพนักงานงานเองแต่เป็นการจ้างงานแบบลูกจ้างรายวัน และทำสัญญาจ้างแรงงานแยกต่างหากโดยได้รับค่าจ้างและสวัสดิการที่ต่างกัน

 

ต่อมากรรมการลูกจ้างได้เสนอให้ยกเลิกการจ้างงานแบบรายวันเป็นรายเดือนทั้งหมดตั้งแต่วันที่  1 พฤษภาคม 2551 บรรจุทดลองงานจำนวนประมาณ 30 คน และต่ออายุงานพนักงานที่เกษียนแล้วทำสัญญาเป็นปีต่อปี

 

หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ

  1.  
    • สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้อง
    • กรรมการลูกจ้างเสนอประเด็นพิจารณาในที่ประชุมและนายจ้างพิจารณาปรับบรรจุให้ทุกคนและทดลองงาน 120 วัน

 

  1. บริษัท เจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย จำกัด
    • มีการปรับสวัสดิการบางส่วนเพิ่มให้ใกล้เคียงกับพนักงานประจำ สวัสดิการที่เป็นตัวเงินเหมือนกับพนักงานประจำยกเว้นค่าเช่าบ้านที่ต่างกัน

 

หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ

  1.  
    • กรรมการลูกจ้างเสนอประเด็นพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการลูกจ้าง

 

  1. บริษัทนิชินโบ๊ะ สมบูรณ์ ออโตโมทีพ จำกัด

กำหนดสัดส่วนพนักงานเหมาค่าแรงที่ 20 % และพนักงานเหมาค่าแรงได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเช่นเดียวกับพนักงานประจำทุกระการ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551

 

หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ

  1.  
    • กรรมการลูกจ้างเสนอประเด็นพิจารณาในที่ประชุมและนายจ้างพิจารณาปรับบรรจุส่วนที่เกิน 20% ให้และทดลองงาน 120 วัน แต่นายจ้างยังคงเหมาค่าแรงไว้แต่สวัสดิการจ่ายเหมือนกันทุกประการ
    • ลูกจ้างยืนยันจะยื่นเป็นข้อเรียกร้องละยกเลิกเหมาค่าแรงในปลายปี 2551 ให้ได้

 

  1. บริษัท จีอี เอลาโน่ เอเชีย จำกัด

นายจ้างปรับเพิ่มค่าเช่าบ้านให้พนักงานเหมาค่าแรงให้เท่ากับพนักงานประจำของบริษัทฯ คนละ 2500 บาทต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551

 

หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ

  1.  
    • กรรมการลูกจ้างเสนอประเด็นพิจารณาในที่ประชุมกรรมการลูกจ้าง

 

  1. บริษัท ซันโคโกเซ ประเทศไทย จำกัด

โดยยกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรงตั้งแต่วันที่  25 มิถุนายน 2551 บรรจุเป็นพนักงานประจำ 200 คน และทดลองงานพนักงานที่มีอายุเกิน 35 ปี และยังไม่ผ่านการเกณฑ์ทหารจำนวนประมาณ 200 คน ลูกจ้างที่ผ่านการเกณฑ์ทหารแล้วและอายุไม่เกิน 35  ปี บริษัทบรรจุเป็นพนักงานประจำทั้งหมด ส่วนพนักงานที่อายุเกิน ๓๕ บริษัทฯจ้างเองและทดลองงาน 120 วัน คนที่ยังไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร บริษัทฯ จ้างเองต่อไปจะปรับบรรจุให้เมื่อผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว

 

หมายเหตุ รูปแบบการดำเนินการ

  1.  
    • พนักงานประจำและพนักงานเหมาค่าแรงร่วมมือกันในการไม่ทำงานล่วงเวลา และยื่นเงื่อนไขต่อผู้บริหารให้ยกเลิกการจ้างงานระบบเหมาค่าแรง ใช้เวลาในการเจรจาและกดดัน 1 เดือน
    • นายจ้างยกเลิกสัญญาจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรง

 

**ก่อนที่จะมีการยื่นข้อเรียกร้องร่วมจะต้องมีการจัดกลุ่มศึกษาระหว่างพนักงานเหมาค่าแรงงานกับสหภาพแรงงานก่อนอย่างน้อย ๒-๓ ครั้ง เพื่อทำความเข้าใจเรื่องขั้นตอนการต่อสู้และขั้นตอนของกฎหมาย

** การทำงานจะไม่ทำเฉพาะสหภาพแรงงานและเหมาค่าแรงเท่านั้น จะมีการประสานงานกับองค์กรพันธมิตรคือทุกสหภาพแรงงานที่อยู่ในพื้นที่และใกล้เคียงช่วยกันรณรงค์ และสนับสนุนเป็นกำลังใจให้กัน

 

ข้อมูลจากคุณบุญยืน สุขใหม่

 

 

ที่มา : prachatai.com

 

อัพเดทล่าสุด