https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สรุปพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ MUSLIMTHAIPOST

 

สรุปพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗


4,140 ผู้ชม


สรุปพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗




พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นกฎหมายสังคมและเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเช่นเดียวกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายแรงงานสัมพันธ์

บทบัญญัติที่น่าสนใจอยู่ในมาตรา ๕ คำนิยามที่น่าสนใจและน่าจำองค์ประกอบให้ได้ก็คือคำว่า ประสบอันตราย เพราะลูกจ้างจะต้องประสบอันตรายก่อนจึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทน คำพิพากษาฎีกาที่จะนำมาออกข้อสอบในเรื่องนี้ก็คือ คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๙๑๙/๒๕๓๘ เป็นเรื่องลูกจ้างไปทำงานตามคำสั่งของนายจ้างและประสบอันตรายในขณะเดินทางก็ต้องถือว่าเป็นการประสบอันตรายในขณะทำงานคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๗๗๔/๒๕๔๐ ลูกจ้างหญิงคนหนึ่งเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสเพื่อคอยดูแลลูกค้าของนายจ้างตามคำสั่งของนายจ้าง แล้วเป็นลมบนเครื่องบิน และเสียชีวิตที่ประเทศฝรั่งเศสก็ต้องถือว่าเป็นการประสบอันตรายอันมีสาเหตุเนื่องจากการทำงาน เพราะอยู่ในระหว่างเดินทางปฎิบัติหน้าที่ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๐๕/๒๕๔๐ เป็นเรื่องที่ลูกจ้างไปทำงานนอกสถานที่ และประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตายในระหว่างเดินทางกลับจากบ้านลูกค้ากลับมาพักก็เป็นการปฏิบัติงานในหน้าที่เช่นกัน และคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๘๗ ลูกจ้างเดินทางไปบ้านลูกค้าตั้งแต่ตีสี่ไปรับเงินค่าสินค้าประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ถึงแก่ความตาย เป็นการประสบอันตรายด้วย

มาตราที่น่าสนใจและน่าสนใจ และน่าจะนำมาออกข้อสอบได้คือมาตรา ๑๓ ในเรื่องค่ารักษา พยาบาล มาตรา ๑๖ เป็นค่าศพ ซึ่งเท่ากับ ๑๐๐ เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน และมาตรา ๑๘ ก็เป็นเรื่องค่าทดแทนกรณีต่าง ๆ (ถ้าจะออกข้อสอบก็น่าจะเป็นเรื่องของทุพพลภาพหรือตาย ซึ่งระยะเวลาที่กำหนดไว้กรณีทุพพลภาพ ๑๕ ปี ตาย ๘ ปี) มาตรา ๒๐ เป็นเรื่องของผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีที่ลูกจ้างตายข้อสังเกตก็คือเงินทดแทนไม่ใช่มรดก เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้รับเงินทดแทนจะต้องบุคคลตามที่กฎหมายระบุไว้เท่านั้น (จะนำหลักกฎหมายมรดกมาใช้ไม่ได้) ผู้ที่ได้รับเงินทดแทน รับอยู่และตายลงไม่ตกไปยังทายาทอื่นเพราะมีตัวผู้รับต่อไปตามบทกฎหมาย

ข้อยกเว้นในเรื่องที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนก็คือ มาตรา ๒๒ ก็เป็นมาตราที่น่าออกข้อสอบได้ เคยมีข้อสอบเนฯอยู่ปีหนึ่ง (สมัยที่ ๔๘) ข้อเท็จจริงมีว่าลูกจ้างทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้าง และในขณะเดียวกันก็ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ขับรถชนคันอื่นจนกระทั่งตัวเองขาขาด นายจ้างก็เลิกจ้างเพราะไม่สามารถทำงานได้ต่อไป ถามว่ากรณีนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ และต้องจ่ายเงินทดแทนหรือไม่ ข้อยกเว้นในเรื่องไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนมี ๒ ข้อ ซึ่งจะต่างกับข้อยกเว้นที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชยซึ่งมี ๖ ข้อ

มาตรา ๒๓ เป็นมาตราที่คุ้มครองเงินทดแทนก็เป็นบทมาตราที่ออกข้อสอบได้

โดยสรุป กฎหมายเงินทดแทนมีบทบัญญัติที่น่าสนใจ คือ มาตรา ๕ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๘ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓

อัพเดทล่าสุด