https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 2 MUSLIMTHAIPOST

 

หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 2


482 ผู้ชม


หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 2




หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง

ตอนที่ 2

 

3. เขียนให้สั้น แจ้งชัด รัดกุมและง่ายต่อการทำความเข้าใจ

ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของกฎหมายคือต้องมีความชัดเจนแน่นอนไม่สามารถตีความได้หลาย    นัยยะ การจะให้กฎหมายมีความแน่นอนได้ถ้อยคำหรือภาษาที่ใช้ต้องสั้น (แต่ความหมายลึก) ความแจ้งชัด ปละรัดกุม ข้อบังคับการทำงานก็ต้องมีลักษณะเช่นนั้นดุจเดียวกัน มีบริษัทแห่งหนึ่งเขียนข้อบังคับการทำงานเกี่ยวกับ การลาป่วยว่า 

หลักเกณฑ์การลาป่วย..

 

          “ก. พนักงานมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงโดยได้รับค่าจ้างปีละไม่เกิน 30 วัน” คำว่าได้เท่าที่ป่วยจริง แม้ไม่ได้เขียนไว้โดยแก้เป็น “ก. พนักงานมีสิทธิลาป่วยได้รับค่าจ้างปีละไม่เกิน 30 วัน” ความหมายก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปเพราะเนื้อความที่ว่า ได้เท่าที่ป่วยจริง เป็นการขยายประโยคหลักที่ว่า “พนักงานมีสิทธิในการลาป่วย” เท่านั้นเอง การไม่เติมคำว่า ได้เท่าที่ป่วยจริง ไม่ได้หมายความว่าลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยที่เป็นเท็จ หรือเป็นการอนุญาตให้ลาป่วยเท็จได้เพราะกฎหมายแพ่งว่าด้วยหลักทั่วไป การใช้สิทธิแห่งตน ทุกคนต้องทำการโดยสุจริต ทั้งการลาป่วยเท็จนอกจากจะเป็นการทุจริตแล้วบางกรณีอาจเป็นความผิดอาญาฐานปลอมหรือใช้เอกสารปลอมอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องเขียนให้ยาวขนาดนั้น

อย่างไรก็ตามบางกรณีการเขียนให้กระชับและชัดเจนอาจต้องเขียนยาวขึ้นตามความจำเป็น เช่น การเขียนข้อบังคับการทำงานเกี่ยวกับสิทธิวันลากิจนายจ้างจะต้องเขียนให้ชัดทั้งสิทธิในจำนวนวันลาเงื่อนไขและค่าจ้างในวันลากิจนั้น เช่นอาจเขียนว่า

 “ก. พนักงานรายเดือน หากมีความจำเป็นต้องลากิจให้ลาได้ไม่เกินปีละ 6 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง ข. พนักงานรายวัน หากมีความจำเป็นต้องลากิจให้ลาได้ไม่เกินปีละ 6 วันทำงาน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง”  เป็นต้น

 

 

เรื่องโดย ....เกรียงไกร   เจียมบุญศรี
ที่มา : สมบัติ ลีกัล


อัพเดทล่าสุด