https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สิทธิหน้าที่ของนายจ้าง : Employer's Right & Duty MUSLIMTHAIPOST

 

สิทธิหน้าที่ของนายจ้าง : Employer's Right & Duty


1,446 ผู้ชม


สิทธิหน้าที่ของนายจ้าง : Employer's Right & Duty




สิทธิหน้าที่ของนายจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างไว้ใน บรรพ 3 ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน มาตรา 575 – 586 สรุปได้ดังนี้

1. นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง
- คำว่า “ค่าจ้าง” นั้นเดิมอาจเป็น เงิน หรือ เงินและสิ่งของก็ได้ แต่ในปัจจุบันกฎหมายกำหนดว่า ค่าจ้าง ต้องเป็น “เงิน” เท่านั้น
- นายจ้างยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง แม้ว่าลูกจ้างจะไม่ได้ทำงานให้กับนายจ้าง โดยมิได้เป็นเพราะความผิดของฝ่ายลูกจ้าง เว้นแต่ นายจ้างต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว เนื่องจากเหตุสุดวิสัย

2. นายจ้างมีสิทธิมอบงานให้ลูกจ้างทำ
ลูกจ้างมีหน้าที่ทำงานให้แก่นายจ้าง ส่วนนายจ้างจะมอบงานให้ลูกจ้างทำหรือไม่ เป็นสิทธิของนายจ้าง ไม่ใช่หน้าที่ ตราบใดที่นายจ้างยังคงจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง นายจ้างจะมอบงานให้ลูกจ้างทำหรือไม่ก็ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 2850 / 2525)

3. นายจ้างจะโอนลูกจ้างไปเป็นลูกจ้างบุคคลอื่น ลูกจ้างต้องยินยอม
การโอนย้ายลูกจ้างในลักษณะนี้มีข้อควรพิจารณาคือ
- ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ่างเสียก่อน หากสั่งให้ลูกจ้างไปเป็นลูกจ้างบริษัทอื่น แต่ลูกจ้างไม่ไป ไม่ถือว่าจงใจขัดคำสั่ง
- ลูกจ้างควรได้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ และได้รับค่าตอบแทนไม่ต่ำกว่าเดิม เว้นแต่ลูกจ้างยินยอม
- ลูกจ้างควรได้รับสิทธิการนับอายุงานต่อเนื่องจากอายุงานเดิม

ทั้งนี้ หากนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างไปช่วยงานบุคคลอื่นทำงานเป็นการชั่วคราว ไม่ได้ตัดโอนไปเป็นลูกจ้างของบุคคลอื่น ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนตัวนายจ้าง (คำพิพากษาฎีกาที่ 2922 / 2523

ที่มา : HRMLAWYER


อัพเดทล่าสุด