https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เช็คช่วยชาติ มาตรา 38 MUSLIMTHAIPOST

 

เช็คช่วยชาติ มาตรา 38


1,417 ผู้ชม


เช็คช่วยชาติ มาตรา 38


ผู้มีสิทธิ์รับเงิน เช็คช่วยชาติฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก

ผู้มีสิทธิได้แก่ผู้มีสัญชาติไทย ที่มีรายได้น้อยกว่า  15,000 บาท  มีรายละเอียดดังนี้

   1. ประชาชนในระบบประกันสังคมจำนวน 8,138,815 คน
          * ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องมีสถานะเป็นผู้ ประกันตนอยู่ ณ วันที่ 13 มกราคม 2552 และยังไม่สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน
          * ผู้ประกันตนตามมาตรา 39  ผู้ที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นผู้ประกันตนภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 (หน้าจอ Online แสดงผลวันที่เข้างาน ไม่เกินวันที่ 1 มกราคม 2552 ) และยังไม่สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน ณ วันที่ 13 มกราคม 255
            การสมัครเป็นผู้ประกัน ตนมาตรา 39 ไม่ว่าจะมาสมัครวันที่เท่าไร ก็จะมีผลการอนุมัติในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป
          * ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ผู้ที่ได้รับการ อนุมัติให้เป็น ผปต.และจ่ายเงินสมทบแล้ว (ตรวจสอบฐานข้อมูล ผปต.ณ วันที่ 13 มกราคม 2552
            ไม่ว่าจะมาสมัครวันที่เท่าไร ก็จะมีผลการอนุมัติในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป
            ส่วนเงินสมทบ จะคิดคำนวณเงินสมทบตั้งแต่เดือนที่เป็นผู้ประกันตนจนถึงวันสิ้น
          * ผู้ประกันตนตามมาตรา 38(2)  คือลูกจ้างที่พ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แล้วสำนักงานประกันสังคมจะคุ้มครองสิทธิ์ลูกจ้างต่ออีก 6 เดือน  มาตรา 38 ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั่น  ตาย และ สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง  ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติให้บุคคลตามมาตรา 38 ที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออกจากงาน ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2551 มีสิทธิได้รับ “เช็คช่วยชาติ” ด้วยเช่นกัน

            หมายเหตุ
            -   ในกรณีที่ประชาชนแจ้งว่าได้ออกจากงานก่อนวันที่ 13 มกราคมและยังอยู่ระหว่างได้รับการคุ้มครอง 6 เดือนตามมาตรา 38 ได้ไปลงทะเบียนและทางเจ้าหน้าที่ไม่รับลงทะเบียนไปก่อนหน้านี้ ให้แจ้งประชาชนว่าให้ไปติดต่อประกันสังคมโดยตรงเพื่อขอลงทะเบียนใหม่อีก ครั้ง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อาจจะยังไม่ได้รับการประสานข้อมูลจากทางกระทรวงแรงงาน (ข้อมูลจากเลขาธิการ สปส.ผ่านรายการเรื่องเล่าเช้านี้ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552
   2. บุคคลากรภาครัฐ จำนวน 1,324,973 คนประกอบด้วย
          * ข้าราชการพลเรือน
          * ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
          * ข้าราชการตำรวจ
          * ลูกจ้างประจำ
          * ลูกจ้างชั่วคราว
          * ข้าราชการทหาร รวมทั้งทหารเกณฑ์ (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)
          * ข้าราชการบำนาญ
          * เจ้าหน้าที่ของรัฐคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ อาสาสมัครทหารพราน สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน
          * พนักงานรัฐวิสาหกิจ (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)
          * บุคลากรของหน่วยงานรูปแบบพิเศษ (องค์กรมหาชน) (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)
          * บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)
          * บุคลากรขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52)
   3. กลุ่มครู บุคลากรด้านการศึกษา และบุคลากรอื่นในโรงเรียนเอกชน 132,604 คน (ตามมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 52) ได้แก่
          * ครูโรงเรียนเอกชนที่อยู่ในระบบกองทุน สงเคราะห์ที่มีสิทธิรับเงิน
          * ครูที่อยู่นอกระบบกองทุนสงเคราะห์ที่ ต้องตรวจสอบสาเหตุที่อบู่นอกระบบกองทุนสงเคราะห์
          * กลุ่มบุคลากรอื่นในโรงเรียนเอกชน เช่น พนักงานขับรถยนต์ นักการภารโรง พี่เลี้ยงเด็ก ที่ต้องตรวจสอบว่าบางส่วนอาจจะควรอยู่ในระบบประกันสังคม แต่โรงเรียนไม่จัดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
   4. กรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติเพิ่มเติม ให้บุคคลใดเป็นผู้มีสิทธิรับเงิน กำหนดให้หน่วยงานที่บุคคล ดังกล่าวอยู่ในสังกัดดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินด้วย

ที่มา : https://gotoknow.org/blog/sarayutmk/249906

อัพเดทล่าสุด