https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สปส.เผยยอดลูกจ้าง ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน 8 เดือนแรกปี 51 MUSLIMTHAIPOST

 

สปส.เผยยอดลูกจ้าง ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน 8 เดือนแรกปี 51


573 ผู้ชม



สปส.เผยยอดลูกจ้าง ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน 8 เดือนแรกปี 51

เลขที่ :
วันที่ประกาศ : 30/9/2551

         นายสิทธิพล รัตนากร รองเลขาธิการรักษาการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงตัวเลขจำนวนลูกจ้างในข่ายความคุ้มครองกองทุนเงินทดแทน ณ เดือนสิงหาคม 2551 พบว่ามีจำนวน 8,216,741 ราย โดยสถิติผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ตั้งแต่มกราคม – สิงหาคม 2551 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น117,479 ราย และเมื่อคิดอัตราการประสบอันตรายต่อลูกจ้าง 1,000 ราย นับจากจำนวนลูกจ้างประสบอันตรายทุกระดับความรุนแรง (ตาย ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะบางส่วน หยุดงานเกิน 3 วัน และหยุดงานไม่เกิน 3 วัน) มีอัตราการประสบอันตราย เท่ากับ 14.30 ราย หากนับจากจำนวนการประสบอันตรายกรณีร้ายแรง (ตาย ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะบางส่วนและ      หยุดงานเกิน 3 วัน) มีอัตราการประสบอันตราย เท่ากับ 3.98 ราย และเมื่อพิจารณาอัตราการตายเนื่องจากการทำงานต่อลูกจ้าง 100,000 ราย มีอัตราการประสบอันตราย เท่ากับ 4.98 ราย
         นายสิทธิพล ฯ กล่าวต่อไปว่า สิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้กับนายจ้างจะ ได้รับจากกองทุนเงินทดแทน โดยกฎกระทรวงได้กำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาล ที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา โดยได้เพิ่มวงเงินค่ารักษาพยาบาลของกองทุนเงินทดแทน จากเดิม 35,000 บาท เพิ่มเป็น 45,000 บาท หากไม่เพียงพอจ่ายเพิ่มอีกจากเดิม 50,000 บาท เพิ่มเป็น 65,000 บาท และค่ารักษาพยาบาลสูงสุดจากเดิม 200,000 บาท ปรับเพิ่มเป็นไม่เกิน 300,000 บาท และหากลูกจ้างเป็นผู้ป่วยใน มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล และค่าบริการทั่วไปให้นายจ้างจ่ายตามจริงไม่เกินวันละ1,300 บาท ทั้งนี้ ลูกจ้างยังจะได้รับค่าทดแทนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน กรณีที่ไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้เกิน 3 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1 ปี กรณีสูญเสียอวัยวะ ตามประเภทของการสูญเสีย แต่ไม่เกิน 10 ปี กรณีทุพพลภาพ เป็นเวลา 15 ปี กรณีตาย เป็นเวลา  8 ปี  พร้อมค่าทำศพ 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันและถ้าลูกจ้างต้องฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้านการแพทย์และอาชีพ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 20,000 บาท
          นายสิทธิพล ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพแล้วมูลนิธิคุณากรในพระราชูปถัมภ์ของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารียังให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุน ประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่ายในการจัดทำแขนหรือขาเทียม ค่ารักษาพยาบาลและค่าผ่าตัดแก้ไขความพิการและค่าใช้จ่ายอื่นๆ  ทั้งนี้ หากลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน นายจ้างต้องแจ้งการประสบอันตรายตามแบบแจ้งการประสบอันตราย (กท.16) พร้อมสำเนาหนังสือส่งตัวลูกจ้างเข้ารักษาพยาบาล (กท.44) ส่งให้สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย หากมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลประกันสังคม 1506 ติดต่อทางระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติ ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00 – 19.00 น. 
 ..................................................................................................
ศูนย์สารนิเทศ  ศูนย์บริการข้อมูลประกันสังคม 1506 www.sso.go.th

อัพเดทล่าสุด