https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ประเทศไทย MUSLIMTHAIPOST

 

ผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ประเทศไทย


587 ผู้ชม


ภาวะโลกร้อน ปัจจุบัน




ทั่วโลกร้อนขึ้นปีละ 0.6 องศา

จากภาพรวมทั่วโลกอันเป็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ได้มีรายงานระบุว่าในช่วง พ.ศ.2423-2543 นั้นอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นทุกปี 0.6-0.8 องศาเซลเซียส และดัชนีความแห้งแล้งทั่วโลกก็เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งยังมีปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงที่มีความแปรปรวน โดยบางพื้นที่ฝนตกหนักขึ้น แต่ช่วงเวลาที่ฝนตกสั้นลง

คนไทยมีเอี่ยวทำ “โลกร้อน”

จากข้อมูลของ รศ.ดร.สิรินทรเทพ เต้าประยูร ประธานสายสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) อาจทำให้คนไทยต้องกลับมาคิดใหม่ เพราะเราก็ส่วนไม่น้อยในการทำลายโลก แม้โดยภาพรวมทั่วโลกแล้วไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสัดส่วนแค่ 0.8% แต่ใน พ.ศ.2543 คนไทย 1 คนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนมากถึงปีละ 2.18 ตัน ขณะที่ญี่ปุ่นมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คนละ 9.41 ตัน/ปี ส่วนประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐมีส่วนในการสร้างภาวะโลกร้อนคนละ 19.68 ตัน/ปี

ส่วนไหนของกิจกรรมเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ

ในประเทศไทยมี 3 ภาคหลักๆ ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ คือ ภาคการผลิตไฟฟ้า 43 % ภาคการขนส่ง 32 % และภาคอุตสาหกรรม 25 % ทั้งนี้การเป็นประเทศกำลังพัฒนาทำให้มีความพยายามเพิ่มจีดีพี จึงจะทำให้การใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ซึ่งมีถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักในโรงไฟฟ้าและโรงกลั่น และทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น

เรามาช่วยโลกกัน

ถ้าจะทำต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงต่อเนื่องเป็นศตวรรษเพื่อสกัดกั้นการปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศ และต้องอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด สำหรับแนวทางการแก้ไข รศ.ดร.บัณฑิต กล่าวว่าทั่วโลกต้องพยายามใช้พลังงานที่มีคาร์บอนน้อย เช่นใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ซึ่งมี 3 แนวทางหลักคือ

  1. ลดการใช้พลังงาน
  2. ใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
  3. พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อหาทางลดคาร์บอนให้ได้ เช่น “การกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์” (Carbon dioxide capture and sequestration) ลงใต้ดิน

ที่มา : moodythai.com


อัพเดทล่าสุด