https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เราจะปลอดภัยกันได้อย่างไร MUSLIMTHAIPOST

 

เราจะปลอดภัยกันได้อย่างไร


501 ผู้ชม


เราจะปลอดภัยกันได้อย่างไร




        ทรัพยากรมนุษย์ นอกจากมีคุณค่าสูงในความเป็นผู้มีสติปัญญาแล้วยังสูงด้วยการต้องลงทุนอย่างมหาศาลในการพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ

         ขณะนี้อันตรายไม่เพียงอยู่กับที่โรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น  ยังขยายไปถึงเกษตรกรรม   ปรับปรุงมาสู่รูปแบบการทำงานสมัยใหม่ด้วย  อุบัติเหตุในอุตสาหกรรมเป็นเหตุให้สูญเสียวันทำงานมากกว่าวันทำงานที่ต้องเสียไปเพราะการพิพาทแรงงาน

การประสบอันตราย เจ็บป่วย พิการ อันเนื่องมาจากการทำงานผลมีมากมาย

  1. ผู้ทำงานที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย จะต้องสูญเสียร่างกาย สุขภาพอนามัยและการกระทบถึงจิตใจ  ซึ่งเป็นผู้ที่จะรับผลโดยตรงที่สุด
  2. นายจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนคือค่าทดแทน ค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟู สมรรถภาพในการทำงาน
  3. นายจ้างจะต้องสูญเสียคนงาน ฝีมือในการทำงาน
  4. ผู้รับเคราะห์ตาม ได้แก่ ญาติ ผู้ดูแล ผู้รักษาพยาบาล ผู้ฟื้นฟู และคนอื่นที่จะต้องรับภาระตามมาเป็นการสูญเสียที่ไม่รู้จบตราบใดที่ผลนั้นยังคงอยู่ตลอดไป
  5. สังคมผู้เสียหาย เป็นการสูญเสียของส่วนรวมทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคมรวมกัน

สาเหตุที่มาของการประสบอันตราย การเจ็บป่วย และการตายอันเนื่องมาจากการทำงาน

  1. ผู้ใช้งานและผู้ทำงานที่เกี่ยวข้องมิได้ทราบถึงความเสี่ยง และภัยอันตรายอันอาจเกิดขึ้นจากการทำงาน หรือเกิดขึ้นจากการทำงานด้วยวิธีที่ทำอยู่ด้วยวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ และในสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในที่ทำงานได้อย่างดีและเพียงพอ
  2. ผู้บริหารและผู้ใช้งาน โดยเฉพาะที่ทำงานเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในการผลิต และนำวิธีการผลิตเข้ามาใช้โดยไม่ได้ศึกษาถึงลักษณะและอันตรายของวัสดุและการผลิตเหล่านั้นให้ถ่องแท้
  3. ผู้ใช้งานและผู้ทำงานไม่สนใจในวิธีการปฏิบัติ หรือหลีกเลี่ยงในวิธีปฏิบัติ แม้ว่าได้ทราบแล้ว
  4. ผู้เกี่ยวข้องใกล้เคียง นับตั้งแต่ผู้บริหารในระดับชั้นสูง ชั้นกลาง รวมไปถึงผู้ที่มีส่วนจะช่วยป้องกันแก้ไขในเรื่องความเสี่ยงภัยในการทำงาน ไม่ได้มีความสนใจพยายามในส่วนของตนที่จะทำในเรื่องที่จะสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้น
  5. ผู้ยู่ใกล้เคียงสถานที่ทำงาน มีส่วนสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลภาวะในรูปต่าง ๆ
  6. ผู้ทำงานไม่สนใจที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ระเบียบที่วางไว้ รวมทั้งไม่ใช้อุปกรณ์ที่ทางผู้ใช้งานได้จัดไว้ให้ใช้เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
  7. กฎหมาย ระเบียบ และข้อเสนอแนะต่างๆเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ไม่ครอบคลุมและรัดกุมพอกับลักษณะงานและวิธีการทำงานตามที่เป็นจริง

         สาเหตุเหล่านี้เป็นสาเหตุโดยตรง อันเนื่องจากการทำงานที่ไม่ปลอดภัย

มาตรการป้องกัน แก้ไขรวมทั้งการควบคุม ที่จะลดหรือบรรเทา หรือระงับ ความเสี่ยงภัย และภัยต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการทำงาน

  1. ทางราชการพึงศึกษา ค้นคว้า อบรมและเผยแพร่ข้อมูล และข้อความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงาน ออกไปสู่ผู้เกี่ยวข้องในการทำงานทุกฝ่าย ทุกคน อย่างกว้างขวาง
  2. ทางราชการพึงปรับปรุงและขยายกฎหมายและกฎระเบียบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานให้สมบรูณ์ เหมาะสมสามารถปฏิบัติได้สอดคล้องกับหลักวัสดุ และสิ่งแวดล้อมในการทำงานสมัยปัจจุบัน
  3. ทางราชการพึงส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มของนายจ้าง ลูกจ้าง นักวิชาการเจ้าหน้าที่ เพื่อทำการรณรงค์ส่งเสริมให้ความตื่นตัว กิจกรรมการปฏิบัติในรูปแบบต่าง ๆ
  4. นักวิชาการในระดับสูงองค์การ สถานที่ทำงาน พึงให้ความสำคัญแก่การทำงานอย่างปลอดภัยโดยกำหนดนโยบายแผนงาน ระเบียบการ และให้ความสนับสนุนในเรื่องอื่น
  5. คนทำงานทุกระดับ หัวหน้าตลอดจนถึงผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน พึงให้ความร่วมมือให้การส่งเสริมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงาน  เคารพนโยบาย ปฏิบัติงานตามแผน เพื่อให้ทุกคนลดความเสี่ยง เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
  6. นักวิชาการทั้งหลาย เช่น แพทย์ วิศวกร นักชีวอนามัย นักเคมีตลอดจนพยาบาลและผู้รู้เฉพาะทาง เมื่อได้รับทราบการผลิต วิธีการทำงาน  ผลการประสบอันตราย ผลการเจ็บป่วย รายใดมีข้อค้นพบใหม่ ข้อสังเกตใหม่ หรือข้อความรู้ใหม่อันเป็นประโยชน์ต่อการป้องกัน และการแก้ไขเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงานต้องช่วยแจ้งให้ผู้บริหาร ผู้ใช้งาน หรือผู้ทำงานเกี่ยวข้องทราบ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ก็จะเป็นประโยชน์แก่วงการนี้เป็นอย่างมาก
  7. สิ่งป้องกันแก้ไขประการสุดท้ายความจริงมิใช่เป็นการทำเพื่อป้องกันแก้ไขโดยตรง แต่เป็นสิ่งที่พึงกระทำต่อผู้เคราะห์ร้าย ต้องประสบเคราะห์กรรมจากการทำงาน จะเป็นการช่วยเหลือค้ำจุนทั้งทางวัตถุ จิตใจ อารมณ์ ได้อย่างมากมาย ให้การรักษา ให้การฟื้นฟูต่อไป ให้กำลังใจต่อไป ก็จะช่วยให้”ขวัญของชีวิต”

ที่มา : วันสต๊อปเอ็ชอาร์


อัพเดทล่าสุด