https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สุขศาสตร์อุตสาหกรรม : ศาสตร์ที่ว่าด้วยการดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงาน MUSLIMTHAIPOST

 

สุขศาสตร์อุตสาหกรรม : ศาสตร์ที่ว่าด้วยการดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงาน


1,365 ผู้ชม


สุขศาสตร์อุตสาหกรรม : ศาสตร์ที่ว่าด้วยการดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงาน




สุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Hygiene) เป็นวิทยาการด้านหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการดูแล ตรวจสอบ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์ สาธารณสุข และสังคมศาสตร์
ขอบเขตของงานสุขศาสตร์อุตสาหกรรม
ครอบคลุม 3 ขั้นตอนคือ
- การตระหนัก (Recognition) เป็นการค้นหา บ่งชี้สภาพปัญหาโดยสำรวจ สอบถามผู้ปฏิบัติงาน ฯลฯ
- การประเมิน (Evaluation) โดยทำการตรวจวัดเพื่อให้ทราบระดับความรุนแรงของปัญหา
- การควบคุม (Control) เพื่อปรับปรุง แก้ไขสภาพแวดล้อมการทำงานให้เกิดความปลอดภัย
การบ่งชี้อันตรายในสภาพแวดล้อมการทำงาน (Potential Hazards Identification)
- ด้านกายภาพ (Physical Agents)
ได้แก่ แสงสว่าง เสียงดัง ความร้อน ความสั่นสะเทือน รังสี
- ด้านเคมี (Chemical Agents)
ได้แก่ ฝุ่น ก๊าซ ไอระเหย ฟูม มิสต์
- ด้านชีวภาพ (Biological Agents)
ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา
- ด้านการยศาสตร์ (Ergonomics)
ได้แก่ รูปแบบ/ท่าทางการทำงาน การเคลื่อนไหวของร่างกาย ฯลฯ
การตรวจประเมินสภาพแวดล้อมการทำงาน (Working Environment Assessment)
- การสำรวจเบื้องต้น (Walk-through Survey)
- การตรวจวัด : โดยตรง (Direct Measurement) หรือเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อม (Sampling)
- การวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (Laboratory Analysis)
- การประเมินผล (Evaluation) โดยเทียบเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย
การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน (Working Environment Improvement)


ที่มา/ผู้ดำเนินการ :  เอกสารประกอบการอบรมหัวข้อสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Wisanti L.)

อัพเดทล่าสุด