หลักการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน MUSLIMTHAIPOST

 

หลักการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน


5,672 ผู้ชม


หลักการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน




ในทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม จะแบ่งหลักการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน ออกได้เป็น 2 แนวทางคือ
1. การควบคุมทางด้านวิศวกรรม
- แหล่งกำเนิด - แยก/เปลี่ยนกระบวนการ
- ทางผ่าน - เพิ่มระยะทาง เพิ่มการระบายอากาศ
- ตัวผู้ปฏิบัติงาน - การใช้ PPE
2. การควบคุมโดยการบริหารจัดการ
เช่น ลดเวลาการทำงาน สลับ หมุนเวียน เปลี่ยนงาน ฯลฯ
ทั้งนี้ จากการศึกษารวบรวมโดยผู้เชี่ยวชาญของประเทศญี่ปุ่น ได้สรุปเป็นหลักการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน 7 แนวทาง ดังนี้
1) ปรับเปลี่ยนการใช้วัตถุดิบที่เป็นสารอันตราย โดยเลือกใช้สารอื่นที่มีอันตรายน้อยกว่าทดแทน (Use of Less Harmful Substances) เช่น ใช้ไฟเบอร์กลาสแทนที่แอสเบสตอส ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
2) ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และวิธีการทำงาน (Process Modification) เช่น การใช้ระบบเปียกเพื่อลดการฟุ้งกระจายของมลพิษ
3) ใช้ระบบปิดคลุมกระบวนการที่เป็นอันตราย (Totally-enclosed Design) หรือใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์แบบอัตโนมัติ (Automation) ในกระบวนการทำงานแทน เช่น การผสมสารเคมี การชุบสารเคมีอันตราย เป็นต้น
4) แยกกระบวนการผลิตที่เป็นอันตราย หรือแยกผู้ปฏิบัติงานที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงออกนอกบริเวณ (Isolation)
5) ใช้ระบบการระบายอากาศแบบเจือจางเฉพาะที่ที่มีประสิทธิภาพ (Local Exhaust Ventilation)
6) ปรับปรุงการระบายอากาศทั่วไป การระบายอากาศโดยรวม (Total Ventilation) ในบริเวณการทำงานให้มีการถ่ายเทอากาศที่เพียงพอ
7) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน (Improvement of Working Behavior) ให้เหมาะสมและปลอดภัย เช่น จัดเก็บวัตถุดิบ สารเคมี ให้เป็นระเบียบ นำสารเคมีจากที่เก็บมาในปริมาณที่พอใช้ในแต่ละวัน ไม่นำมาสำรองไว้มาก ๆ และมีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยในการทำงานอย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นต้น
อาจสรุปได้ว่าการปรับปรุงสภาพและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ถือเป็นประเด็นสำคัญในการดำเนินงานความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งจะต้องให้การมุ่งเน้นและนำลงสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อการพัฒนาความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มักพบว่ามีปัญหาการจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงาน นอกจากนี้ รูปแบบการทำงานและกระบวนการผลิต ยังนำซึ่งอันตรายหรือความเสี่ยงในทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือสภาพการทำงาน ดังนั้น จึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่าย ทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง จะต้องให้ความร่วมมือในการดำเนินมาตรการเชิงควบคุมและป้องกันให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

ที่มา/ผู้ดำเนินการ :  เรียบเรียงจากเอกสารการฝึกอบรม ณ ประเทศญี่ปุ่น (Wisanti L.)

อัพเดทล่าสุด