https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาชีวอนามัย : สุขภาพอนามัยในการทำงาน MUSLIMTHAIPOST

 

อาชีวอนามัย : สุขภาพอนามัยในการทำงาน


705 ผู้ชม


อาชีวอนามัย : สุขภาพอนามัยในการทำงาน




อาชีวอนามัย (Occupational Health) เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ว่าด้วยการดูแล ป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพทุกสาขาอาชีพ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ปราศจากโรคหรือผลกระทบเนื่องมาจากการทำงาน รวมทั้งมีสภาพและสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยจากปัจจัยสิ่งคุกคามสุขภาพอนามัย ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
อาชีวเวชศาสตร์ (Occupational Medicine) เป็นศาสตร์ที่เน้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคหรือผลกระทบเนื่องจากการทำงาน กับปัจจัยที่เป็นสาเหตุในสิ่งแวดล้อมการทำงาน ทั้งนี้ การดำเนินงานมีขอบเขตครอบคลุมถึงการค้นหา บ่งชี้ปัจจัยที่เป็นอันตราย มาตรการเชิงป้องกันการสัมผัสปัจจัยอันตรายในการทำงาน รูปแบบการเกิดผลกระทบ การตรวจวินิจฉัย และการรักษาหรือฟื้นฟูสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน
การป้องกันโรคจากการทำงาน
มีเป้าหมายเพื่อควบคุมโรคจากการทำงานหรือผลกระทบที่เกี่ยวเนื่อง โดยการตรวจสุขภาพทั่วไป และตรวจสุขภาพเฉพาะที่เน้นตามลักษณะงานที่ทำ ติดตามปัญหาโรคจากการทำงาน ในโครงการการเฝ้าระวังโรคจากการทำงานและมีโครงการรณรงค์ป้องกันโรคจากการทำงาน ทั้งนี้ มีกิจกรรมที่ควรดำเนินการได้แก่
1. ตรวจสุขภาพทั่วไปก่อนเข้าทำงาน
2. ตรวจสุขภาพเฉพาะที่เน้นตามลักษณะงานที่ทำ เพื่อจัดทำระเบียนประวัติผลการตรวจสุขภาพเป็นรายบุคคล
3. โครงการเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน
4. โครงการรณรงค์ป้องกันโรคจากการทำงาน เช่น การให้ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ จัดทำเอกสารข้อมูล ประชาสัมพันธ์ หรือนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน ตลอดจนโรคหรือการเจ็บป่วยตามฤดูกาล ฯลฯ
การจัดบริการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
จัดให้มีหน่วยบริการสุขภาพหรือสถานพยาบาลที่ดูแลการเกิดโรคทั่วไป โรคจากการทำงาน และเข้าร่วมในโครงการเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน โดยจัดทำระเบียนข้อมูล ประวัติการเจ็บป่วย จำแนกโรคหรือการบาดเจ็บจากการทำงาน และจัดทำสถิติแนวโน้มของโรคและอุบัติเหตุในแต่ละแผนกเพื่อนำผลมาใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคและอุบัติเหตุต่อไป


 

ที่มา/ผู้ดำเนินการ :  เอกสารประกอบการอบรมหัวข้ออาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (Wisanti L.)

อัพเดทล่าสุด