https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคปอดฝุ่นทรายหรือซิลิโคสิส (Silicosis) MUSLIMTHAIPOST

 

โรคปอดฝุ่นทรายหรือซิลิโคสิส (Silicosis)


873 ผู้ชม


โรคปอดฝุ่นทรายหรือซิลิโคสิส (Silicosis)




โรคปอดฝุ่นทรายหรือซิลิโคสิส เป็นโรคจากการทำงานที่เกิดขึ้นเนื่องจากการหายใจเอาฝุ่นทรายหรือฝุ่นหินต่าง ๆ ที่มีสารที่มีชื่อทางเคมีว่า ซิลิกอนไดออกไซด์ หรือรู้จักในรูปที่พบได้ทั่วไปคือ ควอร์ซ เข้าไปในปอด โดยฝุ่นที่มีขนาดเล็ก 0.5-5 ไมคอน จะเข้าไปตกอยู่ในถุงลมปอด ทำให้ปอดมีปฏิกิริยาต่อต้านสาร เกิดเป็นพังผืดขึ้น จึงทำให้เนื้อเยื่อปอดส่วนนั้นไม่สามารถทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอากาศได้ตามปกติตลอดไป คนงานกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสประสบอันตรายจากโรคนี้คือ คนงานโรงโม่หิน คนงานเหมือง คนงานสกัด ตัด บด ย่อยหินควอร์ซ หินแกรนิต หินทราย เป็นต้น รวมถึงคนงานทำเครื่องเคลือบเซรามิค คนงานขัดโลหะโดยทราย คนงานหล่อหลอมโลหะ คนงานทำแก้ว อิฐทนไฟ ฯลฯ ในสมัยโบราณยังไม่สามารถจำแนกโรคนี้จากวัณโรคได้ จึงเรียกชื่อโรคนี้ตามอาชีพและอาการของผู้ป่วย เช่น โรคหอบของช่างขัด วัณโรคช่างขัด วัณโรคปอดของคนงานเหมือง เป็นต้น จนกระทั่งในปี 2215 แพทย์ชาวฮอลแลนด์ให้ชื่อโรคนี้ว่า ซิลิโคสิส เนื่องจากพบว่าในเนื้อเยื่อปอดของผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีการสะสมตัวของฝุ่นทรายในปริมาณมาก
คนงานที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นหินหรือฝุ่นทรายดังกล่าว อาจเกิดอาการของโรคได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
- ปริมาณฝุ่นหินหรือทรายในบรรยากาศการทำงาน ในงานที่เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นหินหรือฝุ่นทรายปริมาณสูง ย่อมจะทำให้คนงานมีโอกาสหายใจเอาสารซิลิคอนได้ออกไซด์เข้าไปในปริมาณสูงด้วย
- ปริมาณเปอร์เซนต์ของสารซิลิคอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบในฝุ่นหินหรือฝุ่นทรายต่าง ๆ ในธรรมชาตินั้น จะมีแตกต่างกัน ดังนั้น คนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับฝุ่นหิน ทราย ที่มีเปอร์เซนต์ของสารซิลิคอนไดออกไซด์สูงก็จะเสี่ยงกับการเกิดโรคได้เร็วขึ้น
- ระยะเวลาที่หายใจเอาฝุ่นสารเข้าไป คนงานที่ต้องทำงานกับฝุ่นหินหรือทรายตลอดเวลาการทำงาน หรือทำงานเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน ย่อมมีโอกาสเกิดโรคได้เร็วกว่าคนงานที่สัมผัสฝุ่นสารในระยะเวลาสั้น ๆ
- พฤติกรรมและปัจจัยทางสุขภาพของคนงานแต่ละคนที่แตกต่างกัน เช่น การสูบบุหรี่ หรือมีประวัติเป็นวัณโรค จะทำให้การดำเนินของโรครุนแรงกว่าคนทั่วไป
เนื่องจากซิลิโคสิสเป็นโรคเรื้อรัง และจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าหยุดการได้รับฝุ่นแล้ว อาการของโรคจะแสดงให้เห็นเมื่อมีอาการมากแล้ว โดยเริ่มด้วยอาการหายใจติดขัด เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลัง เมื่อเอกซเรย์ปอดจะเป็นเงาจ้ำ ๆ เมื่อมีอาการมากขึ้นจะมีอาการหายใจลำบาก ไอแห้ง มีเสียงหายใจบริเวณหลอดลม อกขยายตัวได้น้อยลง อาการของโรคอาจรวมถึงโรคถุงลมโป่งพอง และระยะสุดท้ายจะหายใจลำบากขึ้นเนื่องจากปอดเป็นพังผืดมากขึ้น ภาพจากการเอกซเรย์จะเห็นเป็นเงาทึบ
การตรวจวินิจฉัยโรค กระทำโดยการทดสอบสมรรถภาพปอด ซึ่งจะพบว่าความสามารถในการจุอากาศของปอดลดลง และคนงานมีประวัติทำงานเกี่ยวข้องกับการหายใจเอาฝุ่นหินฝุ่นทรายเข้าไป โดยทั่วไปแล้วจะมีอาการเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 6 เดือนถึง 20 ปี แต่ในกรณีที่คนงานได้รับฝุ่นซิลิกาบริสุทธิ์เข้าไปในปริมาณมาก ๆ เช่น การพ่นทราย อาจมีอาการเกิดขึ้นภายหลังจากนั้น 1-2 สัปดาห์ โดยเริ่มมีอาการหายใจลำบาก ตามด้วยอาการไอแห้ง ๆ ต่อมาจะมีอาการแน่นหน้าอกและหอบ
โรคซิลิโคสิส เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การป้องกันมิให้เกิดโรคนี้ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ซึ่งการป้องกันโรค มีหลักการดังนี้
- เลือกใช้สารที่มีอันตรายน้อยกว่าแทน เช่น ในงานขัดโลหะใช้เม็ดเหล็กหรือเม็ดอลูมิเนียมออกไซด์แทนผงทราย เป็นต้น
- ควบคุมฝุ่นที่เกิดขึ้นไม่ให้มีปริมาณเกิดค่ามาตรฐานความปลอดภัย เช่น เปิดประตูหน้าต่างโรงงานเพื่อให้มีการระบายอากาศได้ดี หรือติดตั้งระบบระบายอากาศเฉพาะที่ที่แหล่งกำเนิดฝุ่น เป็นต้น
- เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานเพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่น เช่น ใช้ระบบเปียก
- แยกกระบวนการทำงานที่ก่อให้เกิดฝุ่นออกจากงานอื่น ๆ เพื่อป้องกันคนงานที่ไม่เกี่ยวข้อง
- หมั่นทำความสะอาดและจัดระเบียบภายในโรงงาน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมฝุ่น โดยควรใช้การดูดฝุ่นแทนการปัดกวาด หรือใช้การทำให้เปียกเพื่อลดการฟุ้งกระจาย
- หากการป้องกันดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผล ให้คนงานสวมใส่หน้ากากป้องกัน โดยเลือกชนิดที่ใช้สำหรับป้องกันฝุ่นโดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อสวมแล้วต้องคลุมปาก จมูก และแนบสนิทกับใบหน้า และควรมีการตรวจสอบ บำรุงรักษาเป็นประจำ
- ตรวจร่างกายคนงานประจำปี และก่อนเข้าทำงาน โดยการทดสอบสมรรถภาพปอด เอกซเรย์ปอด หากผลการตรวจสุขภาพพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพปอด ควรได้รับการพิจารณาเปลี่ยนงานไปยังแผนกที่ไม่ต้องมีการสัมผัสฝุ่น


 

ที่มา/ผู้ดำเนินการ :  เอกสารความปลอดภัย สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน

อัพเดทล่าสุด