https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคปอดจากใยหินหรือแอสเบสโตสิส (Asbestosis) MUSLIMTHAIPOST

 

โรคปอดจากใยหินหรือแอสเบสโตสิส (Asbestosis)


1,630 ผู้ชม


โรคปอดจากใยหินหรือแอสเบสโตสิส (Asbestosis)




แร่ใยหิน หรือที่รู้จักกันในชื่อ แอสเบสตอส (Asbestos) เป็นแร่ที่ประกอบด้วยธาตุแมกนีเซียม เหล็ก ซิลิเกต และธาตุอื่น ๆ เล็กน้อย โดยมีลักษณะเป็นเส้นใย เป็นเงา มีคุณสมบัติทนกรด ทนความร้อน แรงเสียดทาน มีความเหนียวและเป็นฉนวนไฟฟ้า แอสเบสตอสที่พบในธรรมชาติจะแทรกตัวอยู่ในเนื้อหิน มีหลายชนิดและมีชื่อเรียกต่าง ๆ ได้แก่ แอสเบสตอสสีขาวหรือไครโซไทล์ (Chrysotile) แอสเบสตอสสีน้ำตาลหรืออะโมโซท์ (Amosite) โดยขณะนี้ประเทศไทยยังมีการอนุญาตนำเข้าแอสเบสตอสทั้ง 2 ชนิดนี้ นอกจากนี้ยังมีแอสเบสตอสชนิดอื่น ๆ เช่น ครอซิโดไลท์ (Crocidolite) แอคทิโนไลท์ (Actinolite) ทรีโมไลท์ (Tremolite) ซึ่งไม่มีการใช้ในประเทศไทยแล้ว แอสเบสตอสแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันที่ปริมาณของธาติที่เป็นองค์ประกอบ ทำให้มีคุณสมบัติแตกต่างกัน จึงมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน โดยเฉพาะแอสเบสตอสสีขาวหรือไครโซไทล์ เป็นชนิดที่มีปริมาณการใช้ประมาณร้อยละ 90 ของแอสเบสตอสที่ใช้กันทั่วโลก
เนื่องจากแอสเบสตอสมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ดีหลายประการ จึงมีการใช้ประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งมักใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มคุณสมบัติในด้านที่ต้องการให้แก่ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เช่น กระเบื้องซีเมนต์ ฝ้าเพดาน ฉากผนัง ท่อน้ำ เพื่อเสริมความคงทนและกันความร้อน ใช้เป็นวัสดุป้องกันเสียงและทำฉนวนไฟฟ้า ใช้ทำผ้าเบรกและคลัชท์เพื่อให้ทนต่อการเสียดทานได้ดี ใช้ทอเป็นผ้า ทำฉากกันไฟ เสื้อผจญเพลิง เชือกและบุในเตาเผาต่าง ๆ นอกจากนี้ยังใช้ทำแผ่นกรองก๊าซพิษต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้แอสเบสตอสในรูปแบบที่ก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายได้ (Friable form) จะมีความเสี่ยงสูงในการหายใจเอาอากาศที่มีแอสเบสตอสปนเปื้อนเข้าสู่ปอด ซึ่งโรคและความผิดปกติที่สำคัญที่มีสาเหตุมาจากแอสเบสตอส คือ โรคแอสเบสโตสิส (Asbestosis) การเกิดพังผืดในเนื้อเยื่อปอดและมะเร็งเยื่อหุ้มปอด (Mesothelioma) รวมทั้งมะเร็งปอด (Lung Cancer) ด้วย ที่สำคัญคือ โรคและความผิดปกติเหล่านี้จะมีอาการเรื้อรังและไม่สามารถรักษาให้กลับเป็นปกติดังเดิมได้ นอกจากนี้ American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH) ยังจัดให้แอสเบสตอสเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ด้วย
การเกิดผลกระทบจากแอสเบสตอสในข้างต้น มักใช้เวลานานประมาณ 15-35 ปี โดยมีลักษณะอาการของโรคดังนี้
- โรคแอสเบสโตสิส เป็นโรคปอดเรื้อรัง ปอดเป็นแผลเนื่องจากเส้นใยแอสเบสตอสทิ่มแทงและมีการทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อปอด ทำให้มีอาการหายใจถี่ เจ็บหน้าอก ลำตัวบวม น้ำหนักลด ปาก ลิ้น และเล็บเป็นสีฟ้า ไอแห้ง สมรรถภาพการทำงานของปอดลดลง ภาพจากฟิลม์เอกซเรย์จะเห็นเงาทึบไม่เป็นระเบียบมากมาย
- มะเร็งปอด ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับแอสเบสตอส พบว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงมาก โดยเฉพาะคนงานที่สูบบุหรี่ ผู้ป่วยจะมีอาการไอ เจ็บหน้าอก บางทีไอมีเสมหะเป็นเลือด
- มะเร็งเยื่อหุ้มปอด ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจถี่ เจ็บผนังอก และเมื่อหายใจลึกจะเจ็บปวดลำตัว โรคนี้ทำให้ตายได้ใน 1-2 ปี โดยพบว่าแอสเบสตอสชนิดครอซิโดไลท์ มีแนวโน้มทำให้เกิดโรคนี้มากที่สุด
การตรวจวัดปริมาณของเส้นใยแอสเบสตอสในบรรยากาศการทำงาน จะทำให้ทราบระดับอันตรายในสภาพแวดล้อมการทำงาน โดยปกติการประเมินผล จะให้วิธีการนับจำนวนเส้นใยที่มีขนาดยาวกว่า 5 ไมครอน ซึ่งกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน ได้กำหนดให้ตลอดระยะเวลาการทำงานปกติ ห้ามลูกจ้างทำงานในที่ที่มีปริมาณความเข้มข้นของแอสเบสตอสเกินกว่า 5 เส้นใยต่ออากาศ 1 ลูกบาศก์เมตร ส่วนค่ามาตรฐานแนะนำของต่างประเทศ เช่น ACGIH TLV ขณะนี้ได้กำหนดปริมาณความเข้มข้นของแอสเบสตอสไม่ให้เกิน 0.1 เส้นใยต่ออากาศ 1 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น
แนวทางการป้องกันอันตรายจากการทำงานกับแอสเบสตอส
- แยกกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับแอสเบสตอสออกจากงานอื่น ๆ
- ในงานที่เป็นแหล่งก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของแอสเบสตอส เช่น ถังผสม ควรมีฝาปิดคลุมมิดชิด
- ติดตั้งระบบระบายอากาศเฉพาะที่ที่เครื่องจักร เช่น เครื่องเจาะ เครื่องเลื่อย เป็นต้น
- จัดระบบระบายอากาศทั่วไปภายในโรงงานให้มีอากาศถ่ายเทได้ดี
- จัดระเบียบภายในโรงงานและหมั่นทำความสะอาดสถานที่ทำงานไม่ให้มีฝุ่นสะสมอยู่ การทำความสะอาดควรใช้เครื่องดูดฝุ่น ไม่ควรใช้วิธีการกวาดหรือปัดซึ่งทำให้เกิดการฟุ้งกระจาย
- จัดให้มีการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของแอสเบสตอสในบรรยากาศการทำงานอย่างสม่ำเสมอ
- มีป้ายเตือนอันตรายบนภาชนะบรรจุ หรือบริเวณที่มีการใช้ จัดเก็บแอสเบสตอส
- ให้คนงานมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจเมื่อต้องทำงานสัมผัสแอสเบสตอส
- ให้คนงานทีอนามัยส่วนบุคคลที่ดี โดยจัดสถานที่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าหลังเลิกงาน
- ตรวจสุขภาพคนงานก่อนเข้าทำงาน และตรวจเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะระบบหายใจ ซึ่งต้องมีการเอกซเรย์ปอดและทดสอบสมรรถภาพการทำงานของปอด อย่างน้อยปีละครั้ง
- พิจารณาหลีกเลี่ยงการใช้แอสเบสตอส โดยใช้วัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันแทน เช่น ไฟเบอร์กลาส เส้นใยเซลลูโลส เป็นต้น

 


ที่มา/ผู้ดำเนินการ :  เอกสารความปลอดภัย สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน

อัพเดทล่าสุด