https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ MUSLIMTHAIPOST

 

การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ


719 ผู้ชม


การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ




สถานประกอบการ ต้องกำหนดให้มีแผนป้องกันอัคคีภัยและแผนระงับอัคคีภัยให้ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบ และทราบขั้นตอนการปฏิบัติตั้งแต่การป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิงขั้นต้น การดับเพลิงขั้นรุนแรง การอำนวยการดับเพลิง การอพยพคน-สิ่งของ การฟื้นฟูปฏิรูปให้คืนสภาพโดยเร็ว และการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยมีองค์ประกอบที่ดำเนินการ ดังนี้
1. การจัดระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้หรือเตือนภัย
2. การจัดยามตรวจตราจุดที่ควบคุมอันตราย ในสถานที่ที่อาจเกิดเพลิงไหม้ได้ทุก 3 ชั่วโมง
3. การป้องกันแหล่งกำเนิดไฟ เช่น จากสะเก็ดไฟ ท่อไอเสียรถยนต์ จากไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า การป้องกันท่อร้อนจากหม้อไอน้ำ การป้องกันประกายไฟจากเครื่องมือ เครื่องจักรต่าง ๆ การสูบบุหรี่/ทิ้งก้นบุหรี่ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดไฟอื่น ๆ
4. การจัดแยกเชื้อเพลิงต่าง ๆ เป็นสัดส่วนออกจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้า มีสถานที่เก็บที่ปลอดภัย
5. การตรวจสอบการรั่วไหลของเชื้อเพลิง
6. การกำจัดและการจัดเก็บขยะไวไฟ
การจัดอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย
โดยจัดอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยไว้อย่างครบถ้วนเพียงพอ มีการตรวจสอบทั่วไปโดยหัวหน้างาน และตรวจสอบโดยผู้ชำนาญการตามตารางกำหนดเวลา เพื่อเปลี่ยนหรือซ่อมบำรุง
ทั้งนี้ มีประเด็นที่สำคัญได้แก่
1. ติดตั้งเครื่องดับเพลิงโดยทำบัญชีจุดติดตั้งเป็นลำดับหมายเลข เพื่อสะดวกต่อการควบคุมดูแล สำรอง เครื่องดับเพลิงไว้ที่ยามและที่แผนกความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
2. ติดตั้งสัญญาณเตือนภัยเมื่อเกิดอัคคีภัย ระบบดับเพลิงอัตโนมัติต่าง ๆ
3. การตรวจสอบเครื่องดับเพลิงทั่วไป โดยหัวหน้างาน
4. การตรวจสอบเครื่องดับเพลิงและอุปกรณ์อื่น ๆ โดยผู้ชำนาญการ
5. การฝึกซ้อมการใช้อุปกรณ์ดับเพลิง กำหนดให้มีการฝึกเป็นระยะ ๆ โดยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเป็นผู้รับผิดชอบประสานงานและประเมินผล
การดำเนินการตามแผนระงับอัคคีภัย
1. พนักงานทุกคนได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการดับเพลิงขั้นต้น
2. กำหนดตัวบุคคลและหน้าที่รับผิดชอบไว้ทุกพื้นที่ทุกกะ เพื่อสามารถดับไฟขั้นต้นได้โดยติดประกาศรายชื่อพนักงานทราบอย่างชัดเจน และมีการฝึกซ้อมหน้าที่ทุกเดือน
3. กำหนดตัวบุคคล และหน้าที่รับผิดชอบในการต่อสู้เพลิงไหม้ขั้นรุนแรง ซึ่งมีทั้งการอพยพ การสนับสนุนการช่วยชีวิต และการฝึกซ้อมปีละ 2 ครั้ง


 

ที่มา/ผู้ดำเนินการ :  - ไม่ระบุที่มา -

อัพเดทล่าสุด