https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม : เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง MUSLIMTHAIPOST

 

ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม : เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง


1,346 ผู้ชม


ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม : เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง




ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2(7) และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงกำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยสำหรับลูกจ้างไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง"

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2528


ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับแก่นายจ้างที่ประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้

  1. การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียม หรือ ปิโตรเคมี
  2. การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน
    และรวมถึงการต่อเรือ การให้กำเนิด แปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
  3. การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลงหรือรื้อถอน อาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือ ประปาหรืองานก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
  4. การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมถึงการบรรทุกขนถ่ายสินค้าด้วย
  5. สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
  6. กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนด
ข้อ 5 ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่
  1. ราชการส่วนกลาง
  2. ราชการส่วนภูมิภาค
  3. ราชการส่วนท้องถิ่น
  4. กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประกาศกำหนด

ข้อ 6 ในประกาศนี้
"นายจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้หรือยอมให้รับผล ประโยชน์ตอบแทนจากบุคคลอื่น และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำการแทนนายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีกระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติให้ทำการแทนด้วยในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการได้ว่าจ้างด้วยวิธีเหมาค่าแรงโดยมอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดรับช่วงไปควบคุมดูแลการทำงานและรับผิดชอบจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างอีกทอดหนึ่งก็ดี มอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาลูกจ้างมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางานก็ดี โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการให้ถือว่า ผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของลูกจ้าง ดังกล่าวด้วย


"ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้แก่นายจ้างโดยรับค่าจ้างหรือยอมรับผลประโยชน์ตอบแทนจากบุคคลอื่น แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย


"ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินหรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้โดยตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินหรือเงินและสิ่งของที่จ่ายให้ในวันหยุดซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานและในวันลาด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะกำหนดคำนวณ หรือจ่ายเป็นการตอบแทนโดยวิธีใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร


"ความปลอดภัยในการทำงาน" หมายความว่า การกระทำหรือสภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการ ประสบอันตราย การเจ็บปวดอันเนื่องมาจากการทำงานต่อผู้ปฏิบัติงาน หรือความเดือด ร้อนรำคาญเนื่องจากการทำงาน หรือเกี่ยว กับการทำงาน
"เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน" หมายความว่า ลูกจ้างผู้ซึ่งนายจ้างแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน ระดับ
หัวหน้างาน ระดับบริหาร และระดับวิชาชีพ


"ลูกจ้างระดับปฏิบัติการ" หมายความว่า ลูกจ้างที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน


"ลูกจ้างระดับหัวหน้างาน" หมายความว่า ลูกจ้างผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแล บังคับบัญชาสั่งงาน ให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ


"ลูกจ้างระดับบริหาร" หมายความว่า ลูกจ้างตั้งแต่ระดับผู้จัดการหน่วยงานขึ้นไป


"สถานประกอบกิจการ" หมายความว่า หน่วยงานแต่ละหน่วยของนายจ้างที่ดำเนินกิจการตามลำพังเป็นหน่วยๆ และมีลูกจ้างทำงานอยู่


"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

หมวด 1
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน

ข้อ 7 ให้นายจ้างที่มีลูกจ้างไม่ถึงห้าสิบคนจัดให้ลูกจ้างระดับปฏิบัติการซึ่งนายจ้าง แต่งตั้งให้เป็นผู้แทนลูกจ้างตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2538 เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด และแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐานของสถานประกอบ กิจการภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หรือภายใน หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนลูกจ้าง
ข้อ 8 ให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
  1. แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง คำแนะนำ หรือมาตรการเกี่ยวกับ ความปลอดภัยในการทำงาน
  2. สำรวจสภาพการทำงาน และรายงานสภาพความไม่ปลอดภัยตลอดจนเสนอแนะ แนวทางการแก้ไขต่อนายจ้าง
  3. รายงานการเกิดการประสบอันตราย หรือการเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงาน ของลูกจ้างต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
  5. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับหัวหน้างานหรือระดับบริหารมอบหมาย
ข้อ 9 ให้นายจ้างเก็บหลักฐานการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับพื้นฐานไว้ในสถานประกอบกิจการเพื่อให้พนักงานตรวจแรงงาน ตรวจสอบได้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
หมวด 2
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน

ข้อ 10 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างระดับหัวหน้างานเข้ารับการฝึกอบรมตาม หลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด และแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับหัวหน้างานของสถานประกอบกิจการภายในกำหนดหนึ่งร้อย แปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หรือภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับ แต่วันที่นายจ้างแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้างาน
ข้อ 11 ให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานมีหน้าที่ดังนี้
  1. กำกับ ดูแล ให้ลูกจ้างในหน่วยงานรับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
  2. สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิด ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
  3. ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
  4. ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อน รำคาญ อันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับพื้นฐานหรือระดับวิชาชีพและรายงานผลรวมทั้งข้อเสนอแนะ ต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
  5. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน
  6. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยใน การทำงานระดับบริหารมอบหมาย

หมวด 3
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร

ข้อ 12 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างระดับบริหารเข้ารับการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์ ที่อธิบดีกำหนดและแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ของสถานประกอบกิจการภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มี ผลใช้บังคับ หรือภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันแต่งตั้งให้เป็นลูกจ้างระดับบริหาร
ในกรณีที่ไม่มีลูกจ้างระดับบริหาร ให้นายจ้างเข้ารับการอบรมตามวรรคหนึ่ง
ข้อ 13 ให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
  1. กำกับดูแลให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้า งานและระดับวิชาชีพปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

หมวด 4
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ

ข้อ 14 ให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปในสถานประกอบกิจการ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพประจำสถานประกอบกิจการ อย่างน้อยแห่งละหนึ่งคนเพื่อปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยเต็มเวลา ภายในกำหนด หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับหรือภายในกำหนดหนึ่งร้อย แปดสิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างห้าสิบคนขึ้นไป
ข้อ 15 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพต้องมีคุณสมบัติ อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญตรีสาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่าหรือ สาขาอื่นที่มีหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน
  2. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและผ่านการฝึก อบรมและทดสอบตามหลักสูตรที่อธิบดีกำหนดจากหน่วยงานที่กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานรับรอง
  3. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานซึ่งผ่านการศึกษาอบรมและทดสอบ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัย ในการทำงาน ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2538 และเข้ารับการฝึก อบรมและผ่านการทดสอบอีกครั้งหนึ่งตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด
  4. ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐานอย่างน้อยห้าปี และมีผลงานการลดอัตราการประสบอันตรายไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบต่อปีของ อัตราการประสบอันตรายในสองปีที่ผ่านมาและผ่านการฝึกอบรมและทดสอบ ตามหลักสูตรที่อธิบดีกำหนดจากหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครอง
    แรงงานรับรอง
ข้อ 16 ให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
  1. ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย ในการทำงาน
  2. จัดทำแผนงาน โครงการ มาตรการด้านความปลอดภัยในการทำงานเสนอ ต่อนายจ้าง
  3. ตรวจสอบการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการหรือมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
  4. กำกับดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือมาตรการเกี่ยวกับ ความปลอดภัยในการทำงาน
  5. แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำ ให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
  6. ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อน รำคาญอันเนื่องมาจากการทำงาน และรายงานผลรวมทั้งข้อเสนอแนะต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
  7. รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล สถิติ และจัดทำรายงาน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่อง มาจากการทำงานของลูกจ้าง
ข้อ 17 ให้นายจ้างส่งรายงานการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามแบบที่อธิบดีกำหนดเป็นประจำทุกสามเดือนตามปีปฏิทิน ทั้งนี้ภายในเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบ กำหนด
หมวด 5
เบ็ดเตล็ด


ข้อ 18 ให้นายจ้างแจ้งชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามหมวด 1 หมวด 2 หมวด 3 และหมวด 4 ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามแบบที่อธิบดี กำหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้แต่งตั้ง
การแจ้งตามวรรคหนึ่งให้นายจ้างแสดงปริญญาบัตรหรือหลักฐานการอบรม และทดสอบของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานนั้นด้วยในกรณีที่นายจ้างได้ แต่งตั้งเจ้าหน้ที่ความปลอดภัยในการทำงานที่มีคุณสมบัติตามประกาศกระทรวง มหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อมาโดยมีคุณสมบัติตามข้อ 15 ถือว่า นายจ้างได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และแจ้งชื่อ ตามประกาศฉบับนี้แล้ว
ข้อ 19 เมื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหารหรือระดับวิชาชีพพ้นจากหน้าที่ ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับเดียวกันแทนที่และแจ้งชื่อต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการ ทำงานคนเดิมพ้นหน้าที่
ข้อ 20 ก่อนให้ลูกจ้างซึ่งรับเข้าทำงานใหม่ปฏิบัติงาน ให้นายจ้างจัดให้มีการอบรม เพื่อให้ความรู้พื้นฐานและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพ แวดล้อมในการทำงานให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่กรณีที่ให้ลูกจ้างทำงาน ซึ่งมีความแตกต่างไปจากงานที่ลูกจ้างเคยปฏิบัติอยู่แต่เดิมและอาจเกิดอันตรายด้วย
ข้อ 21 ในกรณีที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างไปทำงาน ณ สถานที่อื่นซึ่งเสี่ยงหรืออาจเสี่ยง ต่อการเกิดอันตราย ให้นายจ้างแจ้งข้อมูลอันจำเป็นเกี่ยวกับความปลอดภัยของสถานท ดังกล่าวให้ลูกจ้างทราบก่อนการปฏิบัติงาน
ข้อ 22 ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามประกาศนี้


 

ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540
(ลงชื่อ) ฉัตรชัย เอียสกุล
(นายฉัตรชัย เอียสกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

อัพเดทล่าสุด