https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
หลักการเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล MUSLIMTHAIPOST

 

หลักการเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล


720 ผู้ชม


หลักการเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล




อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หมายถึงวัสดุอุปกรณ์ที่สวมใส่ลงบนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือหลาย ๆ ส่วนพร้อมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องอันตรายให้แก่อวัยวะส่วนนั้น ๆ โดยการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล มีหลักเบื้องต้นดังนี้
1. ใช้เพื่อป้องกันอันตรายจากสภาพและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
2. ลดหรือบรรเทาอันตรายลงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
3. ถือเป็นการควบคุมที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน
4. เป็นทางเลือกท้ายสุด หลังจากที่มีการปรับปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมการทำงานแล้ว
ทั้งนี้ หลักทั่วไปในการเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ได้แก่
1. ศึกษาสภาพของอันตรายในสิ่งแวดล้อมการทำงาน และความเสี่ยงในการสัมผัสอันตราย
2. ศึกษาคุณลักษณะของอุปกรณ์ฯ โดยพิจารณาถึง
- ประสิทธิภาพในการป้องกันอันตราย
- มีมาตรฐานรับรอง
- วิธีการใช้ง่าย สวมใส่สบาย และมีน้ำหนักเบา
- การบำรุงรักษาง่าย และมีความทนทาน
- มีราคาเหมาะสม
ประเภทของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยฯ
- อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ
- อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา
- อุปกรณ์ป้องกันระบบการได้ยิน
- อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ
- อุปกรณ์ป้องกันมือและแขน
- อุปกรณ์ป้องกันลำตัว
- อุปกรณ์ป้องกันขาและเท้า
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายของศีรษะ
ได้แก่ หมวกนิรภัย ซึ่งช่วยป้องกันการกระแทก การเจาะทะลุ และกระแสไฟฟ้า
ตัวหมวกอาจทำด้วยวัสดุที่แตกต่างกันไป หมวกนิรภัย ชนิดถูกออกแบบให้ส่งผ่านแรงเฉลี่ยที่มากที่สุดได้ไม่เกิน 850 ปอนด์ ตัวหมวกและรองในหมวกต้องห่างภัยไม่ต่ำกว่า 3 ซม.
ข้อพิจารณาในการเลือกใช้
- ประสิทธิภาพตามมาตรฐาน ANSI, ISO, มอก.
- รูปลักษณะภายนอก ความสวยงาม
- ส่วนประกอบ เช่น สายรัดศีรษะที่ปรับได้ สายรัดคาง
- น้ำหนักเบา มีความสบายในการสวมใส่
- ดูแลรักษาง่าย และมีความทนทาน
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายของใบหน้าและดวงตา
ได้แก่ หน้ากาก กระบังหน้า ครอบตานิรภัย และแว่นตานิรภัย ซึ่งใช้ป้องกันวัตถุหรือของเหลวกระเด็นเข้าตา ป้องกันแสงจ้า รังสีอุลตร้าไวโอเลต และความร้อน สำหรับการทำงานในลักษณะของงานที่อาจเป็นอันตรายแก่สายตาและใบหน้า
ข้อพิจารณาในการเลือกใช้
- ประสิทธิภาพตามมาตรฐาน ANSI, ISO, มอก.
- ความพอดีกับใบหน้า ไม่บดบังสายตา
- น้ำหนักเบา มีความสบายในการสวมใส่
- ทนทานต่อความร้อน การกัดกร่อนของสารเคมี
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายของระบบการได้ยิน
ได้แก่ 1) ที่อุดหู (Ear plugs) ใช้อุดหูทั้งสองข้าง โดยสอดใส่เข้าไปในช่องหู ออกแบบให้มีขนาดพอเหมาะกับรูหู จะมีผลในการป้องกันเสียงมาก วัสดุที่ใช้ทำนั้น มีหลายชนิด เข่น พลาสติกอ่อน ยาง สำลี ชนิดที่ทำจากยางและพลาสติกใช้มากที่สุด และ 2) ครอบหู (Ear muffs) เป็นเครื่องป้องกันเสียงชนิดครอบใบหูทั้งสองข้าง บางชนิดมีลำโพงสำหรับใช้พูดติดต่อกันได้ในสถานที่มีเสียงดัง อุปกรณ์ทั้งสองประเภทจะช่วยลดระดับเสียงที่ได้ยิน ซึ่งดังเกินมาตรฐานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
ข้อพิจารณาในการเลือกใช้
- ประสิทธิภาพในการลดเสียง (ค่า Noise Reduction Rate; NRR)
- ความง่ายและสะดวกในการใช้งาน
- ทำจากวัสดุที่เหมาะสม มีความสบายขณะสวมใส่
- ไม่กีดขวางอุปกรณ์ที่สวมใส่อื่น ๆ
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายของระบบการหายใจ
ได้แก่ หน้ากากกันสารเคมีแบบต่าง ๆ ซึ่งใช้ป้องกันหรือลดความเข้มข้นของสารเคมีที่หายใจเข้าสู่ร่างกาย ให้อยู่ในระดับที่เชื่อว่าไม่ก่อให้เกิดอันตราย นอกจากนี้ยังอาจหมายความรวมถึงอุปกรณ์ช่วยหายใจ เช่น 1) ชนิดเป็นถุงอากาศช่วยในการหายใจ อุปกรณ์นี้เหมาะจะใช้กับบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารเคมีเป็นพิษสูง ที่มีไอน้ำหนาแน่น หรือในที่ขาดออกซิเจน
2) หน้ากากที่มีเครื่องเป่าอากาศ ชนิดนี้จะใช้ได้ดีในลักษณะงานที่ทำในที่อับทึบ อุโมงค์ ท่อขนาดใหญ่งานประมาณนี้จะออกซิเจนไม่เพียงพอหรือมีสารเคมีอันตราย 3) เครื่องเป่าอากาศ (Blower)ทำหน้าที่เป่าอากาศเข้ามา ท่อส่งอากาศปกติจะยาวไม่เกิน 150 ฟุต ต่อเข้ากับหน้ากาก 4) หน้ากากใช้กรองสารเคมี อุปกรณ์ชนิดนี้ประกอบด้วยหน้ากากปิดครึ่งใบหน้า มีที่กรองอากาศติดอยู่ที่บริเวณจมูก 1-2 อัน ทำหน้าที่กำจัดไอหรือก๊าซพิษที่จะหายใจเข้าไป
5) หน้ากากกันฝุ่น จะใช้ป้องกันฝุ่นแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะ หน้ากากอาจเป็นแบบครอบจมูกที่ทำด้วยใยสังเคราะห์ หรือเป็นแบบทำด้วยยาง หรือพลาสติก ปิดจมูกโดยมีแผ่นกรองบาง ๆ เป็นตัวจับฝุ่นเอาไว้ไม่ให้เข้าไปกับอากาศที่ผ่านเข้าไป
ข้อพิจารณาในการเลือกใช้
- เลือกให้ถูกประเภท เหมาะสมกับชนิดของสารเคมีที่ป้องกัน
- ประสิทธิภาพตามมาตรฐาน ANSI, ISO, มอก.
- มีความพอดี กระชับ สวมได้แนบสนิทกับใบหน้า
- น้ำหนักเบา มีความสบายในการสวมใส่
- ไม่เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายของมือและแขน
ได้แก่ ถุงมือชนิดต่าง ๆ ซึ่งใช้ป้องกันสารเคมี ความร้อน ไฟฟ้า และของมีคม โดยขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ปฏิบัติ ซึ่งโดยทั่วไปอาจเป็นแบบที่ทำด้วยผ้า สำหรับงานที่เกี่ยวกับวัตถุที่คมและความร้อนอาจเป็นถุงมือหนังหรือทำด้วยตาข่ายโลหะก็จะต้องกันคมได้ดี หากเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี อาจเป็นถุงมือยางหรือวัสดุสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติกันสารเคมีนั้น ๆ ได้
ข้อพิจารณาในการเลือกใช้
- เลือกชนิดให้เหมาะสมกับสภาพอันตรายที่จะป้องกัน
- ประสิทธิภาพในการป้องกันได้มาตรฐาน
- สะดวกสบายขณะสวมใส่ ไม่เกกะ หรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
- ทำความสะอาด และดูแลรักษาง่าย
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายของลำตัว
ได้แก่ ชุดป้องกันต่าง ๆ ซึ่งช่วยป้องกันอันตรายเฉพาะงาน เช่น ชุดป้องกันความร้อน ป้องกันสารเคมี ป้องกันไฟฟ้า และป้องกันรังสี โดยชุดป้องกันอันตรายนี้ อาจเป็นเสื้อหนังหรือแผ่นหนังปิดหน้าอก เป็นชุดที่จะป้องกันร่างกายไม่ให้สัมผัสการแผ่ความร้อนที่เกิดจากโลหะถูกเผาและการรับรังสีอินฟราเรดและอุลตราไวโอเลต หรือเป็นชุดที่ทนทานต่อสารเคมีต่าง ๆ
ข้อพิจารณาในการเลือกใช้
- ประสิทธิภาพตามมาตรฐาน ANSI, ISO, มอก.
- เหมาะสมกับสภาพอันตรายที่ป้องกัน และลักษณะงาน
- มีความสบายในการสวมใส่ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายของขาและเท้า
ได้แก่ รองเท้านิรภัย ซึ่งช่วยป้องกันการกระแทก วัตถุทับหรือทิ่มแทง ป้องกันสารเคมี ความร้อน ไฟฟ้าและป้องกันการลื่นล้ม ซึ่งอาจจะเป็นรองเท้าธรรมดา ใส่เครื่องป้องกันครอบลงไปหน้ารองเท้า ควรจะรับน้ำหนักได้ 2500 ปอนด์ และแรงกระแทก 50 ปอนด์ รองเท้านิรภัยจะมีโลหะป้องกันที่หัวรองเท้า อยู่ที่หัวรองเท้าอยู่ข้างในใช้ในงานที่มีการเคลื่อนย้ายวัตถุที่หนัก
ข้อพิจารณาในการเลือกใช้
- ประสิทธิภาพตามมาตรฐาน ANSI, ISO, มอก.
- ความเหมาะสมกับลักษณะงาน
- น้ำหนักเบา มีความสบายในการสวมใส่
- รูปลักษณะภายนอก ความทนทาน

ที่มา/ผู้ดำเนินการ :  เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อความปลอดภัยในการทำงาน (Wisanti L.)

อัพเดทล่าสุด