https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การเลิกจ้าง เพราะเหตุโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อ MUSLIMTHAIPOST

 

การเลิกจ้าง เพราะเหตุโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อ


708 ผู้ชม


การเลิกจ้าง เพราะเหตุโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อ




ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์ในฐานะผู้จัดการแผนกรับรถได้รับเรื่องการสั่งซ่อมรถยนต์คันพิพาทจากแผนกควบคุมแล้ว โจทก์มีหน้าที่ส่งเรื่องพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังหน่วยงานของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเพื่อเคลมค่าอะไหล่กับบริษัทผู้รับประกันภายในเวลาอันสมควร แต่โจทก์ไม่กระทำ ถือว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 อันเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ของจำเลยแล้ว

ส่วนการพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างอันแท้จริงของนายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างอาจจะไม่ใช่เหตุตามคำให้การของจำเลยหรือที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ก็ได้ และเป็นคนละกรณีกับการพิจารณาการเลิกจ้างนั้นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุใดและเป็นธรรมหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางหยิบยกเอาประกาศเรื่องระเบียบว่าด้วยเวลาปฏิบัติงานของแผนกแจ้งซ่อมเอกสารหมาย จ.3 และหนังสือแจ้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงเวลาปฏิบัติงานของแผนกแจ้งซ่อมเอกสารหมาย จ.4 มาวินิจฉัยประกอบทางนำสืบของโจทก์ว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นผลมาจากจำเลยไม่พอใจที่จำเลยขอเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานปกติของโจทก์แล้ว แต่โจทก์โต้แย้งคัดค้านและยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงานจนเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานของโจทก์ได้ ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างเพราะเหตุโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อตามที่จำเลยให้การต่อสู้ได้ คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายแล้ว


คำพิพากษาที่ 6098/2551


อัพเดทล่าสุด