https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เก็บเงินจากลูกค้าและรับสินค้าคืนจากลูกค้าแล้วไม่นำส่ง MUSLIMTHAIPOST

 

เก็บเงินจากลูกค้าและรับสินค้าคืนจากลูกค้าแล้วไม่นำส่ง


682 ผู้ชม


เก็บเงินจากลูกค้าและรับสินค้าคืนจากลูกค้าแล้วไม่นำส่ง




ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 97/2550       

บริษัทพานาเชน จำกัด

       โจทก์

นายฉลอง อ่อนสงฆ์ กับพวก

       จำเลย

 

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37, 40, 41

 

          คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 เข้าทำงานเป็นลูกจ้างทำหน้าที่พนักงานขายและเก็บเงิน มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการทำงาน จำเลยที่ 1 เก็บเงินจากลูกค้าและรับสินค้าคืนจากลูกค้าแล้วไม่นำส่งโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 193,294 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองขาดนัด ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชำระเงิน 189,430 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2545 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

          จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่

          ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 1 ได้รับหมายโดยชอบแล้วตามใบตอบรับเอกสารในสำนวนอันดับที่ 6 และตามที่จำเลยที่ 1 รับในคำร้องนี้ว่า ทราบว่าถูกฟ้องแล้วและศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2545 ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีว่า จำเลยที่ 1 ขาดนัดจึงเป็นการสั่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสอง การร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 จึงปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 โดยจะต้องร้องขอภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัด การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในวันที่ 10 มีนาคม 2547 ซึ่งเกินกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัด จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว คดีจึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจมาศาลได้ ยกคำร้อง

          จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่า ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 วรรคสอง โดยไม่ไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 1 เป็นการชอบหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ซึ่งจำเลยที่ 1 สามารถยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดสืบพยานโจทก์ คดีนี้ศาลแรงงานกลางได้ส่งคำบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยที่ 1 ได้รับสำเนาคำบังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2547 ยังไม่พ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 รับคำบังคับ ยังอยู่ในกำหนดที่จำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ เห็นว่า คดีนี้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา โดยกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ และออกหมายเรียกให้จำเลยที่ 1 มาศาลในวันนัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 โดยชอบ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามมาตรา 40 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลแรงงานกลางดังกล่าวและขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นย่อมไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับได้ จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 41 ว่า “ในกรณีที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง หรือมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตามมาตรา 40 วรรคสอง หากโจทก์หรือจำเลยมาแถลงให้ศาลแรงงานทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่ง ศาลแรงงานมีอำนาจไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นนั้นได้ และหากเห็นเป็นการสมควร ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตามมาตรา 40 และดำเนินกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำหลังจากที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 40 นั้นใหม่ เสมือนหนึ่งมิได้เคยมีกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้น” คดีนี้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2545 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2547 พ้นกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัด จึงล่วงเลยเวลาที่จำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ได้ ที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ทำการไต่สวนก่อนนั้นจึงชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน

 

(รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์ - ชวลิต ยอดเณร - รัตน กองแก้ว)

 

แหล่งที่มา    เนติบัณฑิตยสภา


อัพเดทล่าสุด