https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ลูกจ้างยื่นคำร้อง ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า MUSLIMTHAIPOST

 

ลูกจ้างยื่นคำร้อง ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า


409 ผู้ชม


ลูกจ้างยื่นคำร้อง ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า




    

คำพิพากษาฏีกาที่ 238/2545  การที่ลูกจ้างยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีอันเป็นเงินตามสิทธิในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ถือว่าลูกจ้างเลือกที่จะใช้สิทธิด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม มาตรา 123 เมื่อปรากฏว่าในระหว่างที่พนักงานตรวจแรงงานพิจารณาคำร้องของลูกจ้าง ลูกจ้างได้นำมูลการเลิกจ้างอย่างเดียวกันไปยื่นฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอให้บังคับนายจ้างจ่ายเงินให้เช่นเดียวกับที่ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานไว้  ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องในส่วนที่ฟ้องเรียกเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541  ดังกล่าว

แต่สำหรับในส่วนที่ลูกจ้างฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนั้น เป็นการฟ้องเรียกร้องตามสิทธิ ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มิใช่ฟ้องตามสิทธิแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541  ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาคดีในส่วนนี้ได้


อัพเดทล่าสุด