https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เงินประจำตำแหน่ง และเงินค่ารถกับเงินค่ารับรอง ลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน MUSLIMTHAIPOST

 

เงินประจำตำแหน่ง และเงินค่ารถกับเงินค่ารับรอง ลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน


740 ผู้ชม


เงินประจำตำแหน่ง และเงินค่ารถกับเงินค่ารับรอง ลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน




คดีแดงที่  5024/2548

นายสุวัฒน์ ชิ้นประเสริฐ โจทก์
บริษัทซิสคอม คอมพิวเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด จำเลย

 

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5

การที่จำเลยจ่ายเงินประจำตำแหน่ง และเงินค่ารถกับเงินค่ารับรองให้แก่โจทก์ในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน รวมเป็นเงินเดือนละ 25,000 บาท เท่า ๆ กันทุกเดือนโดยไม่ได้ความจากคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางว่า เงินดังกล่าวเป็นเงินสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลืออื่นใดแก่โจทก์ เงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารถ และค่ารับรองจึงเป็นเงินที่มีจำนวนแน่นอนที่จำเลยตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างระหว่างจำเลยและโจทก์จึงถือว่าเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5

 

…………………..……………………………………………………………..

 

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 1,278,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้แก่โจทก์

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยจำนวน 390,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 28 พฤศจิกายน 2546) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายจำนวน 45,500 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 65,000 บาท ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำนวน 130,000 บาท เงินโบนัสค้างจ่ายจำนวน 125,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จและให้จำเลยออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้แก่โจทก์คำขออื่นให้ยก

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2543 ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายขาย ได้รับเงินเดือนสุดท้ายเดือนละ 40,000 บาท เงินประจำตำแหน่ง 5,000 บาท ค่ารถและค่ารับรองอีกเดือนละ 20,000 บาท โดยเป็นการเหมาจ่าย วันที่ 21 ตุลาคม 2546 จำเลยเลิกจ้างโจทก์

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยประการแรกว่า เงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารถ และค่ารับรองที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทุกเดือนเป็นค่าจ้างหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยจ่ายเงินประจำตำแหน่ง และเงินค่ารถกับเงินค่ารับรองให้แก่โจทก์ในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน รวมเป็นเงินเดือนละ 25,000 บาท เท่า ๆ กันทุกเดือนโดยไม่ได้ความจากคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลืออื่นใดแก่โจทก์ เงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารถและค่ารับรองจึงเป็นเงินที่มีจำนวนแน่นอนที่จำเลยตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยและโจทก์ จึงถือว่าเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 คำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์โดยนำเอาเงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารถและค่ารับรองไปรวมเข้ากับเงินเดือนอัตราสุดท้ายของโจทก์เป็นฐานในการคำนวณด้วยจึงชอบแล้ว…

พิพากษายืน.

 

(วิเทพ พัชรพิญโญพงศ์ - ชวลิต ยอดเณร - วิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์ )

 

ศาลแรงงานกลาง - นายศักดิ์ชัย รังษีวงศ์

ศาลอุทธรณ์ -


อัพเดทล่าสุด