https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่เป็นยามรักษาการณ์ ละทิ้งหน้าที่แล้วมาลงเวลาย้อนหลัง MUSLIMTHAIPOST

 

ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่เป็นยามรักษาการณ์ ละทิ้งหน้าที่แล้วมาลงเวลาย้อนหลัง


772 ผู้ชม


ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่เป็นยามรักษาการณ์ ละทิ้งหน้าที่แล้วมาลงเวลาย้อนหลัง




คดีแดงที่  9119/2546

นายจันทา สังเสวี โจทก์
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำเลย

 

ป.พ.พ. มาตรา 215, 575, 583
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 116, 117, 119 (1), 119 (4)
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49

โจทก์ปฏิบัติหน้าที่เป็นยามรักษาการณ์ การมาปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ที่รับผิดชอบเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและดูแลรักษาทรัพย์สินของจำเลยจึงเป็นหัวใจสำคัญของงาน แต่โจทก์กลับละทิ้งหน้าที่แล้วมาลงเวลาย้อนหลังเพื่อแสดงว่าตนมาทำงานในเวลาดังกล่าว จึงไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มีเหตุที่จำเลยจะลงโทษไล่โจทก์ออกได้ตามข้อบังคับ คำสั่งของจำเลยให้ไล่โจทก์ออกจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง

ตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเรื่องเมื่อสั่งให้รับพนักงานกลับเข้าทำงานตามเดิม ไม่ให้รับเงินเดือนและสิทธิประโยชน์อื่นในช่วงลงโทษ ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ว่า เมื่อโจทก์มิได้ทำงานให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ แต่ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายเงินในระหว่างพักงาน มิใช่ขอเป็นค่าจ้างหรือเงินเดือน จึงเป็นการขอค่าเสียหายจากกรณีที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ตาม ป.พ.พ. ลักษณะจ้างแรงงาน ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์สามารถทำงานให้แก่จำเลย การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว มิใช่ความสมัครใจของโจทก์ แต่เป็นเพราะจำเลยมีคำสั่งไม่ให้โจทก์เข้าทำงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง

 

…………………..……………………………………………………………..

 

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยให้ได้รับเงินเดือนอัตราเดิม หากจำเลยไม่รับโจทก์เข้าทำงาน ให้จำเลยจ่ายเงินระหว่างที่โจทก์ถูกพักงาน 50,400 บาท เงินบำเหน็จ 169,670 บาท และค่าชดเชย 89,300 บาท แก่โจทก์

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าเสียหายนับแต่วันที่เลิกจ้างโจทก์ตามคำสั่งที่ 302/2542 ของจำเลยจนถึงวันที่โจทก์กลับเข้าทำงานตามคำสั่งที่ 571/2542 ของจำเลย 50,400 บาท ค่าชดเชย 51,480 บาท และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 150,000 บาท แก่โจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยปฏิบัติหน้าที่ยามรักษาการณ์ ได้รับเงินเดือนอัตราสุดท้ายเดือนละ 8,580 บาท จำเลยมีระเบียบว่าด้วยยามรักษาการณ์ พ.ศ. 2523 และข้อบังคับฉบับที่ 46 ว่าด้วยวินัย การสอบสวน การลงโทษ และการอุทธรณ์การลงโทษพนักงาน พ.ศ. 2524 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2542 จำเลยมีคำสั่งที่ 302/2542 เลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายค่าชดเชย โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ต่อมาจำเลยยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างและรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อโดยมีอายุการทำงานต่อเนื่อง แต่มิได้จ่ายค่าจ้างระหว่างที่ถูกพักงาน เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2544 โจทก์มิได้มาปฏิบัติหน้าที่ยามรักษาการณ์ที่อู่บางบัวทองเคหะ แต่มาลงชื่อในสมุดลงเวลาในวันรุ่งขึ้น จำเลยตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้วและมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากการเป็นพนักงาน ตามคำสั่งที่ 430/2544 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2544 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า คำสั่งลงโทษโจทก์ที่ 430/2544 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2544 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ไม่มาปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 30 มีนาคม 2544 แต่มาลงชื่อในสมุดลงเวลาย้อนหลัง และจำเลยจ่ายค่าจ้างกับเบี้ยขยันสำหรับเดือนมีนาคม 2544 ให้โจทก์ไปเต็มเดือน โดยในส่วนของค่าจ้างโจทก์ได้รับเป็นรายเดือน แม้โจทก์ลางานในวันดังกล่าวจำเลยก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เต็มเดือน แต่สำหรับเบี้ยขยัน ตามระเบียบว่าด้วย เงินเบี้ยขยันของพนักงาน โจทก์จะมีสิทธิได้รับเบี้ยขยันเดือนละ 150 บาท เมื่อมาทำงานครบ 22 วัน และการลงเวลาย้อนหลังของโจทก์ดังกล่าวทำให้วันทำงานของโจทก์ครบ 22 วัน จำเลยจึงจ่ายเบี้ยขยันสำหรับเดือนดังกล่าวแก่โจทก์ ซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำโดยไม่ซื่อสัตย์สุจริตของโจทก์ อีกทั้งโจทก์ปฏิบัติหน้าที่เป็นยามรักษาการณ์ การมาปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ที่รับผิดชอบเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและดูแลรักษาทรัพย์สินของจำเลยจึงเป็นหัวใจสำคัญของงาน แต่โจทก์กลับละทิ้งหน้าที่แล้วมาลงเวลาย้อนหลังเพื่อแสดงว่าตนมาทำงานในวันดังกล่าว จึงไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มีเหตุที่จำเลยจะลงโทษไล่โจทก์ออกได้ตามข้อ 8.1 กรณีไม่จำต้องพิเคราะห์ว่าการกระทำของโจทก์เป็นความผิดวินัยตามข้อบังคับข้อ 4.3 และ 4.7 หรือไม่อีกต่อไป คำสั่งของจำเลยให้ไล่โจทก์ออกไม่ขัดต่อข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 46 จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ย่อมไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างแต่อย่างใด และไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานชอบหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป คำพิพากษาศาลแรงงานกลางส่วนนี้ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น

มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเงินในระหว่างพักงานหรือไม่ เห็นว่า ตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 46 ข้อ 57.1.1 เป็นเรื่องเมื่อสั่งให้รับพนักงานกลับเข้าทำงานตามเดิม ไม่ให้รับเงินเดือนและสิทธิประโยชน์อื่นในช่วงถูกลงโทษ ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ว่า เมื่อโจทก์มิได้ทำงานให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ แต่ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายเงินในระหว่างพักงาน มิใช่ขอเป็นค่าจ้างหรือเงินเดือน จึงเป็นการขอค่าเสียหายจากกรณีที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน และศาลแรงงานกลางก็วินิจฉัยให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายส่วนนี้ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาพักงาน กรณีเป็นการพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. ลักษณะจ้างแรงงาน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ มิใช่เป็นการกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าจ้างในระหว่างพักงานแก่โจทก์ ฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์สามารถทำงานให้แก่จำเลย และการที่โจทก์ไม่ได้ทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวมิใช่ความสมัครใจของโจทก์ แต่เป็นเพราะจำเลยมีคำสั่งไม่ให้โจทก์เข้าทำงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินเป็นค่าเสียหายในระหว่างพักงาน มิใช่ให้จ่ายเป็นค่าจ้างจึงชอบแล้ว

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง.

 

(อรพินท์ เศรษฐมานิต - รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์ - จรัส พวงมณี )

 

ศาลแรงงานกลาง - นางจารุณี ตันตยาคม

ศาลอุทธรณ์ -


อัพเดทล่าสุด