https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
นายจ้างจะต้องกระทำการใด ๆ เพื่อไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้จึงจะเป็นการเลิกจ้าง MUSLIMTHAIPOST

 

นายจ้างจะต้องกระทำการใด ๆ เพื่อไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้จึงจะเป็นการเลิกจ้าง


605 ผู้ชม


นายจ้างจะต้องกระทำการใด ๆ เพื่อไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้จึงจะเป็นการเลิกจ้าง




คดีแดงที่  7354/2544

บริษัทยูนิไทย ชิปยาร์ด แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด โจทก์
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กับพวก จำเลย

 

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง

นายจ้างจะต้องกระทำการใด ๆ เพื่อไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้จึงจะเป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541มาตรา 118 วรรคสอง

โจทก์จ้าง อ. ลูกจ้างเข้าทำงานเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2536ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพเกี่ยวกับงานซ่อมเรือ โจทก์ทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างสามฉบับการทำงานตามสัญญาจ้างทั้งสามฉบับมีระยะเวลาติดต่อกัน โดยฉบับแรกตั้งแต่วันที่ 30กรกฎาคม 2536 และฉบับที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 14 มกราคม2543 ครั้นถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2542 ก่อนสัญญาจ้างฉบับที่ 3 ครบกำหนด โจทก์เรียกให้ลูกจ้างไปทำสัญญาจ้างฉบับที่ 4 มีกำหนดระยะเวลาการจ้างต่อจากสัญญาจ้างฉบับที่ 3ไปอีก 2 ปี โจทก์ประสงค์จะจ้างลูกจ้างให้ทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปในอัตราค่าจ้างเท่าเดิม แต่ อ. ลูกจ้างเสนอขอเงินเดือนเพิ่มและยังไม่ลงชื่อตอบรับการจ้างตามสัญญาจ้างฉบับที่ 4 โจทก์พิจารณาเห็นว่าค่าจ้างของลูกจ้างเป็นจำนวนที่สมควรแล้ว จึงไม่ตกลงเพิ่มเงินเดือนให้ตามที่ลูกจ้างต้องการ แต่โจทก์ประสงค์ให้ลูกจ้างทำงานต่อในอัตราเงินเดือนเดิม การที่โจทก์ไม่ตกลงเพิ่มเงินเดือนแก่ลูกจ้างตามความประสงค์ของลูกจ้างเนื่องจากพิจารณาเห็นว่า ตามสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันโจทก์ไม่สามารถจะเพิ่มค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างได้ ซึ่งเป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่ทำสัญญาจ้างฉบับที่ 4 กับโจทก์จนสัญญาจ้างฉบับที่ 3 สิ้นสุดลง ถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการดังกล่าวเพื่อไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปเพราะโจทก์มิได้ลดเงินเดือนหรือค่าจ้างของลูกจ้างและโจทก์มีความประสงค์ที่จะให้ลูกจ้างทำงานต่อไปในอัตราเงินเดือนเดิม แต่ลูกจ้างกลับเป็นฝ่ายที่ไม่ไปทำงานกับโจทก์เองหลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้ว กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เลิกจ้างลูกจ้างโจทก์ไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ อ. ลูกจ้างตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน

 

…………………..……………………………………………………………..

 

 

(วิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์ - สกนธ์ กฤติยาวงศ์ - หัสดี ไกรทองสุก )

 

ศาลแรงงานกลาง - นายวิโรจน์ ตุลาพันธุ์

ศาลอุทธรณ์ -


อัพเดทล่าสุด