https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สมัครเข้าร่วมโครงการร่วมใจจาก และได้ทำหนังสือลาออกหลังจากได้รับอนุมัติ เป็นการทำข้อตกลงให้ ลาออกมิใช่เลิกจ้าง MUSLIMTHAIPOST

 

สมัครเข้าร่วมโครงการร่วมใจจาก และได้ทำหนังสือลาออกหลังจากได้รับอนุมัติ เป็นการทำข้อตกลงให้ ลาออกมิใช่เลิกจ้าง


1,076 ผู้ชม


สมัครเข้าร่วมโครงการร่วมใจจาก และได้ทำหนังสือลาออกหลังจากได้รับอนุมัติ เป็นการทำข้อตกลงให้ ลาออกมิใช่เลิกจ้าง




คดีแดงที่  4098-4185/2545

นางบังอร ศยามเศรณี กับพวก โจทก์
ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ จำกัด (มหาชน) กับพวก จำเลย

 

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง
พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5

โจทก์สมัครเข้าร่วมโครงการร่วมใจจาก และได้ทำหนังสือลาออกหลังจากได้รับอนุมัติจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้าง เพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 เสนอให้ตามโครงการดังกล่าว จึงเป็นการทำข้อตกลงให้โจทก์ลาออกมิใช่เลิกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง

 

…………………..……………………………………………………………..

 

โจทก์ทั้งแปดสิบแปดสำนวนฟ้องทำนองเดียวกัน และโจทก์ที่ 12 แก้ไขคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่จ่ายเงินบำเหน็จตอบแทนในส่วนที่ขาด สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ เงินโบนัส และค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์แต่ละสำนวนให้แก่โจทก์ดังกล่าว

จำเลยทั้งสี่รวมแปดสิบแปดสำนวนให้การว่า โจทก์ทั้งแปดสิบแปดเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 โจทก์ทั้งแปดสิบแปดไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 รับผิดเป็นส่วนตัว เมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม 2542 จำเลยที่ 1 มีโครงการ "ร่วมใจจาก" ให้พนักงานลาออกก่อนเกษียณอายุ โดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนไม่เกิน 30 เท่าของเงินเดือน จำเลยที่ 1 สงวนสิทธิที่จะให้พนักงานคนใดลาออกหรือไม่ก็ได้ มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวนมากเป็นเหตุให้งบประมาณที่จัดเตรียมไว้ไม่เพียงพอที่จะจ่ายให้แก่พนักงานทุกคนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ จำเลยที่ 1 จึงแจ้งให้พนักงานที่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเกิน 20 เดือน ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีความจำเป็นไม่อาจอนุมัติให้พนักงานดังกล่าวเข้าร่วมโครงการได้ หากพนักงานคนใดยังคงยืนยันที่จะขอเข้าร่วมโครงการ จำเลยที่ 1 สามารถจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนได้สูงสุดไม่เกิน 20 เท่าของเงินเดือน แต่ถ้าพนักงานคนใดไม่ประสงค์จะรับผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราใหม่พนักงานคนนั้นก็ยังมีสิทธิปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมต่อไป หลังจากโจทก์ทั้งแปดสิบแปดได้รับแจ้งผลการพิจารณาไม่อนุมัติให้เข้าร่วมโครงการ โจทก์ทั้งแปดสิบแปดได้ยื่นหนังสือแสดงเจตนารมณ์ต่อจำเลยที่ 1 ขอเข้าร่วมโครงการโดยขอรับสิทธิประโยชน์สูงสุดไม่เกิน 20 เท่าของเงินเดือน และไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ อีก จำเลยที่ 1 จึงอนุมัติให้โจทก์ทั้งแปดสิบแปดเข้าร่วมโครงการ "ร่วมใจจาก" ได้ ต่อมาโจทก์ทั้งแปดสิบแปดยื่นหนังสือลาออกและจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ทุกคนลาออก โจทก์ทั้งแปดสิบแปดลาออกด้วยความสมัครใจ จำเลยทั้งสี่มิได้กลั่นแกล้งหรือบีบบังคับแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนตามจำนวนที่ตกลงกันใหม่แก่โจทก์ทุกคนจนครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 มิได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งแปดสิบแปด มิได้ปรับปรุงหน่วยงานอันเนื่องจากนำเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงาน โจทก์ทั้งแปดสิบแปดไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยพิเศษ และค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยทั้งสี่ สำหรับเงินโบนัสโจทก์ทั้งแปดสิบแปดทำงานไม่ครบกำหนดวันที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินโบนัสประจำปี 2542 โดยโจทก์ทั้งแปดสิบแปดขอลาออกก่อนถึงวันดังกล่าว ทั้งตกลงว่าจะไม่เรียกร้องเงินใด ๆ อีก โจทก์ทั้งแปดสิบแปดจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินโบนัสหรือเงินอื่นใดจากจำเลยทั้งสี่ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 84 และโจทก์ที่ 86 ถึงที่ 89

โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 84 และโจทก์ที่ 86 ถึงที่ 89 อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ริเริ่มเสนอโครงการร่วมใจจากต่อโจทก์ดังกล่าวก่อนก็ตาม แต่โครงการร่วมใจจากตามเอกสารหมาย จ.17 หรือ ล.1 ข้อวิธีการยื่นใบสมัคร กำหนดให้พนักงานที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการต้องยื่นใบสมัครต่อจำเลยที่ 1 มิใช่จำเลยที่ 1 เสนอคำขาดให้โจทก์ดังกล่าวต้องออกจากงานเช่นกรณีเลิกจ้างทั่ว ๆ ไป พนักงานของจำเลยที่ 1 ที่ไม่สมัครร่วมโครงการก็ยังคงได้ทำงานต่อไป ดังนั้น การที่โจทก์ดังกล่าวสมัครเข้าโครงการร่วมใจจากและได้ทำหนังสือลาออกหลังจากได้รับอนุมัติจากจำเลยที่ 1 แล้วเพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 เสนอให้ตามโครงการดังกล่าวจึงเป็นการทำข้อตกลงให้โจทก์ดังกล่าวลาออก มิใช่มีลักษณะเป็นการเลิกจ้าง

พิพากษายืน.

 

(พูนศักดิ์ จงกลนี - วีรพจน์ เพียรพิทักษ์ - ปัญญา สุทธิบดี )

 

ศาลแรงงานกลาง - นายสมคิด แสงธรรม

ศาลอุทธรณ์ -


อัพเดทล่าสุด