https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แรงงานต่างด้าว #2 MUSLIMTHAIPOST

 

แรงงานต่างด้าว #2


593 ผู้ชม


แรงงานต่างด้าว #2




แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวต่อจำเลยภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ว่าโจทก์ได้เสียไปซึ่ง สัญชาติไทยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติ การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 อันทำให้โจทก์ต้องได้รับโทษ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้อง ดำเนินการเพื่อให้โจทก์มีใบสำคัญประจำตัวต่อไป เพราะหากโจทก์ ไม่มีใบสำคัญประจำตัวแล้วโจทก์ย่อมมีความผิดตามมาตรา 20 ของ พระราชบัญญัติ ดังกล่าว ดังนั้น แม้พ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่โจทก์ ได้รู้หรือควรรู้ว่าโจทก์ได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทย โจทก์ก็ยังมีสิทธิ ยื่นคำร้องขอให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคือหนังสือประจำตัว คนต่างด้าวให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ : 365/2537

 

จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนคนต่างด้าวมีหน้าที่พิจารณาและ ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวในกรณีที่คำขอของโจทก์เข้าหลักเกณฑ์ ตามกฎหมาย เมื่อมิได้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวดังกล่าว ทั้งที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอต่อจำเลยนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 2 ปีเศษ ถือว่าจำเลยปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้ เป็น การโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว จำเลยจะอ้างว่ากองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากร ยังไม่แจ้งให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแก่โจทก์ จึงออก ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวไม่ได้ เพื่อที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหา ได้ไม่ เพราะกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรมิใช่นายทะเบียน ผู้มีอำนาจหน้าที่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พระราชบัญญัติ การทะเบียนคนต่างด้าวฯ มาตรา 8, 21 บังคับ ให้คนสัญชาติไทย ผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยกลายเป็นคนต่างด้าว ต้องไปขอใบสำคัญประจำตัวจากนายทะเบียนในท้องที่ที่ตนอยู่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ตนได้รู้หรือควรรู้ว่าตนได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทย มิฉะนั้นย่อมเป็นความผิด มิใช่เป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคล ดังกล่าวว่าหากไม่ไปยื่นคำขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิ ขอให้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

คำพิพากษาฎีกาที่ : 1559-1563/2538

อัพเดทล่าสุด