https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย MUSLIMTHAIPOST

 

ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย


590 ผู้ชม


ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย




คำพิพากษาฎีกาที่ 11/2543


        พนักงานตรวจแรงงานเชิญกรรมการผู้จัดการของจำเลยไปพบเนื่องจากโจทก์ร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าถูกจำเลยเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ถึงวันนัดจึงได้ทำบันทึกข้อความขึ้น เห็นได้ว่าบันทึกข้อความดังกล่าวทำขึ้น สืบเนื่องมาจากโจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้โจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องได้ในกรณีจำเลยผู้เป็นนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างตาม พ.ร.บ. นี้ เงินที่โจทก์รับจากจำเลยตามที่ปรากฏในบันทึกข้อความคือเงินตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานดังกล่าวอันเป็นเงินที่อยู่ในกรอบสิทธิที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ตาม มาตรา 123 วรรคหนึ่ง และพนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจดำเนินการได้ตามมาตรา 124 ไม่มีข้อความในบันทึก ข้อความว่าโจทก์ไม่ประสงค์เรียกร้องจากจำเลยตามกฎหมายอื่นอีก เมื่อโจทก์ฟ้องโดยอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดย ไม่เป็นธรรมเป็นการฟ้องตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งโจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานไม่ได้ และไม่อยู่ในอำนาจดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงาน จึงถือไม่ได้ว่าบันทึกข้อความดังกล่าวเป็นการประนีประนอมยอมความรวมไปถึงให้ระงับข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายและค่าเสียโอกาส ดังกล่าวด้วย


        ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียโอกาสตามฟ้องหรือไม่เพียงใด เป็นปัญหาที่ศาลแรงงานกลางจะต้องวินิจฉัยต่อไป เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งของดสืบพยานทำให้ข้อเท็จจริงไม่พอวินิจฉัยมีปัญหาดังกล่าว เป็นสมควร ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์จำเลยเพื่อฟังข้อเท็จจริงต่อไป

อัพเดทล่าสุด