https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ละทิ้งหน้าที่เข้าไปนั่งคุยและนอนคุยในห้องปรับอากาศ MUSLIMTHAIPOST

 

ละทิ้งหน้าที่เข้าไปนั่งคุยและนอนคุยในห้องปรับอากาศ


568 ผู้ชม


ละทิ้งหน้าที่เข้าไปนั่งคุยและนอนคุยในห้องปรับอากาศ




                                                         นายนำไทย จันทร์ประเสริฐ ฯ กับพวก โจทก์
                                                        บริษัทเจริญสวัสดิ์ใยเทียมยืด จำกัด จำเลย

ฎีกาเลขที่  1711-1715/2529  

 

กฎหมายที่ใช้


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183, 225
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 11
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47 (1), (2), (3)

ย่อสั้น

โจทก์ละทิ้งหน้าที่เข้าไปนั่งคุยและนอนคุยในห้องปรับอากาศเป็นความผิดตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 7.5 ที่ว่าต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยัน ไม่เอาเวลาของการทำงานไปคุยทำให้เสียหายแก่นายจ้างและข้อ 7.6 ที่จะต้องไม่หยอกล้อเล่นกันในเวลาทำงาน และไม่หลับนอนในระหว่างการทำงาน แต่ตามข้อบังคับหรือระเบียบดังกล่าวมิได้กำหนดว่าเป็นกรณีร้ายแรงอันจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน จึงจะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) ส่วนจะเป็นความผิดตามข้อบังคับหรือระเบียบ ฯ ข้ออื่นหรือไม่ คำสั่งเลิกจ้างหาได้ระบุความผิดดังกล่าวไว้ไม่ จึงไม่มีประเด็นสำหรับความผิดนั้นและไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งห้าเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดยไม่มีความผิด ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและเงินประกันการเข้าทำงานพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งห้า

จำเลยทั้งห้าสำนวนให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าเพราะโจทก์ทั้งห้าร่วมกับลูกจ้างอื่นของจำเลยเล่นการพนันในสถานที่ทำงานในระหว่างเวลาทำงาน และละทิ้งหน้าที่แอบไปนอนหลับในสถานที่ทำงาน เป็นการประพฤติผิดข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินทุกสำนวนตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ทั้งห้ากับพวกละทิ้งหน้าที่ไปนั่งคุยนอนคุยกันในห้องปรับอากาศเป็นเวลาประมาณ ๒๕ นาทีแต่ไม่ฟังว่าโจทก์ทั้งห้าเล่นการพนัน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่ไม่เป็นกรณีที่ร้ายแรงสมควรต้องเตือนเป็นหนังสือก่อนจึงจะเลิกจ้างได้ โจทก์ที่ห้าเป็นลูกจ้างทดลองงานถูกเลิกจ้างในระหว่างทดลองงานไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย การกระทำของโจทก์ทั้งห้าเป็นการละเลยไม่นำพาต่อระเบียบข้อบังคับเป็นอาจิณจำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ ๑ - ๔ และค่าจ้างค้างจ่ายกับเงินประกันแก่โจทก์ทั้งห้าพร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นให้ยก

จำเลยทั้งห้าสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า กรณีของโจทก์ทั้งห้านี้เป็นความผิดตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเอกสารหมาย ล.๑ ข้อ ๗.๕ ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยัน ไม่เอาเวลาของการทำงานไปคุยทำให้เสียหายแก่นายจ้าง และข้อ ๗.๖ ที่จะต้องไม่หยอกล้อเล่นกันในเวลางาน และไม่หลับนอนในระหว่างการทำงาน แต่ตามข้อบังคับหรือระเบียบดังกล่าวก็มิได้กำหนดว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง อันจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน เมื่อข้อบังคับหรือระเบียบ ฯ เป็นไปตามที่กล่าว จึงจะถือว่าการกระทำของโจทก์ทั้งห้าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามที่จำเลยอุทธรณ์มิได้ กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ๔๗ (๓) ส่วนที่จะเป็นความผิดตามข้อบังคับหรือระเบียบ ฯ เอกสารหมาย ล.๑ ข้อ ๑๑.๒ ๑) ในข้อทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ๒) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย และ ๗) เสพของมึนเมาหรือเล่นการพนันอันมีโทษถึงขั้นไล่ออกนั้น เห็นว่า ตามคำสั่งเลิกจ้างเอกสารหมาย ล.๔ หาได้ระบุความผิดตามข้อ ๑๑.๒ ๑) และ ๒) ไว้ไม่ คดีไม่มีประเด็นสำหรับความผิดสองข้อนั้น ไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ประการนี้ ส่วนความผิดตามข้อ ๑๑.๒ ๗) นั้นศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทั้งห้าไม่ได้เล่นการพนัน จึงจะปรับการกระทำของโจทก์ทั้งห้าด้วยข้อ ๑๑.๒๗) มิได้

พิพากษายืน.

องค์คณะ
จุนท์ จันทรวงศ์ - สมบูรณ์ บุญภินนท์ - เพียร สุมิระ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ตัดสิน
ศาลแรงงานกลาง - นายวินัย เอื้ออังคณากุล
ศาลอุทธรณ์ -

ความเห็นของกองผู้ช่วย

ยังไม่มีข้อมูล

อัพเดทล่าสุด