https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ขาดงานโดยพลการ มิได้บอกกล่าวแต่อย่างใด และทางบริษัทได้เคยตักเตือนไว้ MUSLIMTHAIPOST

 

ขาดงานโดยพลการ มิได้บอกกล่าวแต่อย่างใด และทางบริษัทได้เคยตักเตือนไว้


636 ผู้ชม


ขาดงานโดยพลการ มิได้บอกกล่าวแต่อย่างใด และทางบริษัทได้เคยตักเตือนไว้




หนังสือแจ้งการลงโทษมีข้อความว่า "ในวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๒ โจทก์ได้กระทำความผิดคือได้ขาดงานโดยพลการ มิได้บอกกล่าวแต่อย่างใด และทางบริษัทได้เคยตักเตือนไว้ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๑ บริษัทได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ลงโทษโจทก์ด้วยการพักงานเป็นเวลา ๗ วัน ตั้งแต่วันที่ ๑๗-๒๓ มกราคม ๒๕๓๒ เพื่อมิให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกจ้างอื่นต่อไป หากกระทำผิดซ้ำอีกบริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก" ข้อความที่ว่า"หากกระทำผิดซ้ำ อีกบริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก" นั้น มีผลเป็นคำตักเตือนอยู่ด้วยในตัวครั้งแรกโจทก์ขาดงานเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๓๑ จำเลยได้ออกหนังสือตักเตือนโจทก์ต่อมาวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๒ โจทก์ขาดงานอีกจำเลยมีหนังสือแจ้งการลงโทษถึงโจทก์ให้ลงโทษโจทก์ด้วยการพักงานเป็นเวลา ๗ วัน และระบุด้วยว่าหากกระทำผิดซ้ำอีก บริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก ซึ่งมีผลเป็นคำตักเตือนอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ขาดงานอีกในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๒ ซึ่ง ระยะเวลามิได้ล่วงพ้นจากการขาดงานครั้งที่สองมากนัก กรณีถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๗ (๓)

คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๙๘/๒๕๓๓


อัพเดทล่าสุด